• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
04/02/2021
in หาโรค
0
ไวรัสตับอักเสบซี
0
SHARES
12
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร
  • ไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง
  • อาการของไวรัสตับอักเสบซี
  • อาการของไวรัสตับอักเสบซีในผู้ชาย
  • สาเหตุของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้อย่างไร
  • ไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคติดต่อหรือไม่
  • การตรวจหาไวรัสตับอักเสบซี
  • สารต้านไวรัสตับอักเสบซี
  • วัคซีนไวรัสตับอับเสบซี
  • การรักษาไวรัสตับอักเสบซี
  • ยารักษาไวรัสตับอักเสบซี
  • ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวข้องกับไวรัสตับอักเสบซีมีอะไรบ้าง
  • วิธีป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซี
  • การคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
Rate this post

ไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร

ไวรัสตับอักเสบซี (Heptatitis C) คือโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบและติดเชื้อของตับ ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด ซี (Hepatitis C virus : HCV) โดยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง

เชื้อไวรัสตับอักเสบซีไม่เหมือนกับไวรัสตับอักเสบเอหรือไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนสำหรับไวรัสตับอักเสบซี ถึงแม้ว่าอาจมีการผลิตในอนาคต แต่ไวรัสตับอักเสบซีมีแนวโน้มแพร่เชื้อและติดต่อกันสูง หากมีการแพร่กระจายของผู้ที่เป็นโรคไวรัสดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

ไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง

โดยปกติอาการของไวรัสตับอักเสบซีชนิดเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่สัปดาห์ แม้ว่าอาการของไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังจะเกิดขึ้นหลายเดือน แต่ในระยะแรกมักไม่มีอาการใดปรากฎขึ้น องค์การอนามัยโลกได้ประมาณการว่าอาจมีประชากรมากกว่า 71 ล้านคนที่ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง

อาการของไวรัสตับอักเสบซี

ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (The Centers for Disease Control and Prevention: CDC) คาดการว่าประมาณร้อยละ 70-80 ของคนที่เป็นไวรัสตับอักเสบซี ไม่แสดงอาการ ในขณะที่บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง โดยมีอาการดังนี้ :

  • มีไข้

  • ปัสสาวะสีเข้ม

  • เบื่ออาหาร

  • ปวดท้อง หรือไม่สบายท้อง

  • ปวดข้อ

  • มีอาการดีซ่าน

โดยอาการต่างๆเหล่านี้ อาจจะไม่ปรากฎขึ้นทันทีเมื่อติดเชื้อ และบางครั้งอาจมีอาการเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อไวรัสเป็นเวลา 6-7 สัปดาห์

อาการของไวรัสตับอักเสบซีในผู้ชาย

อาการของไวรัสตับอักเสบซีในผู้ชายจะเหมือนกันในผู้หญิง เพียงแต่ในผู้ชายมีโอกาสหายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้หญิง เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ชายจะอาศัยอยู่ในร่างกายได้นานกว่าและมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอาการติดเชื้อต่างๆในผู้ชายได้

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้อย่างไร

ไวรัสตับอักเสบซีติดต่อกันผ่านการสัมผัสเลือดของผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี โดยสามารถแพร่กระจายผ่านช่องทางดังนี้:

  • การปลูกถ่ายอวัยวะ

  • การรับเลือด

  • การใช้ของใช้ร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน หรือมีดโกน

  • การใช้เข็มร่วมกัน

  • การคลอดบุตร (โดยติดเชื้อจากแม่สู่ลูก)

  • การมีเพศสัมพันธ์ ในกรณีที่มีเลือดออกขณะร่วมเพศ

    Hepatitis C

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี มักมีสิ่งเหล่านี้:

  • ได้รับเลือดก่อนปีค.ศ.1992

  • ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ

  • ได้รับปัจจัยการแข็งตัวของเลือด หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดก่อนปีค.ศ.1987

  • เข้ารับการฟอกเลือดมาเป็นเวลานาน

  • เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

  • ใช้เข็มที่ผ่านการใช้งานแล้ว

ไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคติดต่อหรือไม่

ไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคติดต่อ แม้ว่าจะติดต่อกันทางเลือดอย่างเดียว แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะติดไวรัสตับอักเสบซีจากการสัมผัสธรรมดาทั่วไป ยังมีการติดเชื้ออื่นๆอีกหลายอย่างที่มีโอกาสติดต่อสูง จึงเป็นสิ่งที่ต้องรู้ว่าเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถแพร่กระจายได้อย่างไรและไม่สามารถแพร่กระจายได้อย่างไร

การตรวจหาไวรัสตับอักเสบซี

หากแพทย์ไม่มีหลักฐานในการวินิจฉัยโรคจากอาการเพียงพอ สิ่งสำคัญคือคุณควรบอกประวัติการสัมผัสเชื้อไวรัสตับอักเสบซีให้แพทย์ทราบ

แพทย์จึงจะทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อส่งตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสตับอักเสบชีสามารถประมาณการจำนวนเชื้อไวรัสที่อยู่ในกระแสเลือดของคุณได้ โดยการตรวจจีโนไทป์สามารถระบุชนิดจีโนไทป์ของไวรัสตับอักเสบซีที่คุณมีอยู่ เพื่อช่วยในการเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด

หากแพทย์คิดว่าตับคุณถูกทำลาย แพทย์จะส่งตัวอย่างเลือดตรวจการทำงานของตับ เพื่อหาสัญญาณของการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์จากตับ ส่วนการตรวจอื่นที่สามารถตรวจว่าตับถูกทำลายคือการตรวจชิ้นเนื้อตับ โดยแพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อตับเพียงเล็กน้อย มาตรวจหาความผิดปกติของเซลล์

สารต้านไวรัสตับอักเสบซี

แน่นอนว่าสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาภายในร่างกายย่อมไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างสารภูมิต้านทาน สารภูมิต้านทานจะถูกออกแบบมาให้ทำงานกับเป้าหมายที่จำเพาะ และต่อต้านสิ่งแปลกปลอม เมื่อร่างกายติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแล้ว ร่างกายจะสร้างสารภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบซีขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับไวรัสตับอักเสบซีโดยเฉพาะ

นอกจากนี้เมื่อร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบซีได้แล้ว หากคุณติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอีกครั้ง การตรวจเพื่อรับรองว่าติดเชื้อดังกล่าวจริง จะตรวจเมื่อร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบซีแล้ว

วัคซีนไวรัสตับอับเสบซี

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับไวรัสตับอักเสบซี อย่างไรก็ตามมีทางป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีหลายวิธี

การรักษาไวรัสตับอักเสบซี

ทุกคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เนื่องจากบางคนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถต่อต้านการติดเชื้อได้จึงไม่เกิดการติดเชื้อ หากเป็นดังนั้น แพทย์สามารถเฝ้าระวังและติดตามการทำงานของตับจากการตรวจเลือดได้เท่านั้น

สำหรับผู้ที่ภูมิคุ้มกันไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ การรักษาไวรัสตับอักเสบซีก็มีหลายประเภท โดยส่วนใหญ่จะสงวนไว้รักษาในผู้ที่ตับถูกทำลายจนเกิดแผลเป็นและไม่ได้เป็นโรคอื่นๆร่วมด้วย

วิธีการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีในอดีต แพทย์ต้องฉีดยาทุกสัปดาห์เป็นเวลา 48 สัปดาห์  ซึ่งวิธีการรักษาดังกล่าวก่อให้เกิดความเสี่ยงและบางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงที่อันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันมีการพัฒนายาต้านไวรัสขึ้นใหม่ ซึ่งเป็ยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสูงและมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อย อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาในการรักษาเพียงช่วงสั้นๆ โดยแพทย์จำเป็นต้องพิจารณาการรักษาด้วยยาต้านไวรัสว่าเป็นประโยชน์หรือโทษต่อผู้ป่วยมากกว่ากัน

ยารักษาไวรัสตับอักเสบซี

ปัจจุบันมียาที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบซีหลายชนิด ซึ่งได้แก่ยาอินเตอร์เฟียรอนและยาต้านไวรัส

เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีหลายจีโนไทป์และยาทุกตัวที่รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ไม่สามารถรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีทุกชนิดได้

หากแพทย์รู้จีโนไทป์ของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะเป็นประโยชนช์ต่อการหายาที่เหมาะสสำหรับการรักษา

ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวข้องกับไวรัสตับอักเสบซีมีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนจากไวรัสตับอักเสบซี ได้แก่ โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีจำเป็นต้องเข้ารับการปลูกถ่ายตับ

ภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง ดังนั้นหากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี ควรเข้ารับการรักษาทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน

วิธีป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซี

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันและรักษาไวรัสตับอักเสบซีโดยเฉพาะ นอกเหนือจากการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง นอกจากนี้ยังมีหลายวิธีที่สามารถปฏิบัติได้ เช่นการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและการทานอาหารเป็นวิธีที่ช่วยทำให้คุณจัดการกับไวรัสตับอักเสบซีและมีสุขภาพดีได้

การคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะอยู่ในเลือด ดังนั้นจึงเกิดการแพร่เชื้อได้ง่ายเช่นเดียวกับโรคติดต่อชนิดอื่น แม้ว่าการติดเชื้อไวรัสจะมีการรักษา แต่บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อร่างกายได้ ทางเลือกที่ดีที่สุดก็คือดำเนินการเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ

หากคุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสูงกว่าประชากรทั่วไป คุณควรเข้ารับการคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี ดังนั้นหากคุณเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี หากตรวจพบเชื้อไวรัสเร็วโอกาสในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีจะเพิ่มมากขึ้น


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/hepatitis/hcv/index.htm

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hepatitis-c/symptoms-causes/syc-20354278

  • https://www.webmd.com/hepatitis/digestive-diseases-hepatitis-c

  • https://www.nhs.uk/conditions/hepatitis-c/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.