• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
05/02/2021
in หาโรค
0
ไวรัสตับอักเสบบี
0
SHARES
13
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร
  • ไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคติดต่อหรือไม่
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบี
  • วิธีรักษาไวรัสตับอักเสบบี
  • ภาวะแทรกซ้อนของไวรัสตับอักเสบบี
  • การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
Rate this post

ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร

ไวรัสตับอักเสบบี (Heptatitis B)  คือ ภาวะที่ตับเกิดการอักเสบจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus : HBV) ซึ่งไวรัสตับอักเสบบีเป็นหนึ่งในห้าชนิดของตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ, ซี, ดี และอี โดยแต่ละชนิดเกิดจากเชื้อไวรัสที่แตกต่างกัน ซึ่งไวรัสชนิดบีและซีมักเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถเป็นได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง

เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลัน ดังนั้นจึงมีอาการแสดงออกอย่างรวดเร็วในผู้ใหญ่ หากเด็กทารกเกิดการติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด โอกาสในการพัฒนาเป็นไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันมีน้อยมาก โดยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารกเกือบทั้งหมดจะกลายเป็นชนิดเรื้อรัง

การพัฒนาของโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังเกิดอย่างช้าๆ ทำให้ไม่สามารถสังเกตอาการได้อย่างชัดเจน ยกเว้นมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น

ไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคติดต่อหรือไม่

ไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคติดต่อที่มีโอกาสติดสูงมาก เนื่องด้วยเกิดจากแพร่กระจายผ่านการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ แม้ว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถพบได้ในน้ำลาย แต่เชื้อไวรัสดังกล่าวไม่แพร่กระจายผ่านการใช้ของใช้ร่วมกัน หรือการจูบกัน อีกทั้งยังไม่แพร่กระจายผ่านการไอจาม หรือการให้นมบุตร โดยอาการของไวรัสตับอักเสบบีอาจจะไม่แสดงภายใน 3 เดือนภายหลังการสัมผัสเชื้อ และสามารถอยู่ได้นาน 2-12 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามคุณก็ยังเป็นโรคติดต่อที่ไม่มีอาการแสดง โดยเชื้อไวรัสสามารถอาศัยอยู่นอกร่างกายได้นานถึง 7 วัน

สาเหตุการแพร่กระจายเชื้อมีดังนี้:

  • สัมผัสเลือดที่มีการติดเชื้อโดยตรง

  • ติดจากแม่สู่ลูกระหว่างคลอด

  • การสัมผัสเข็มที่มีเชื้อ

  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก, อวัยวะเพศ และทวารหนัก

  • การใช้มีดโกน หรือของใช้ส่วนตัวอื่นๆที่มีของเหลวที่ติดเชื้อปนเปื้อนอยู่

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสูง ได้แก่:

  • บุคลากรทางการแพทย์
  • กลุ่มชายรักชาย
  • ผู้ที่ใช้ยาทางหลอดเลือดดำ
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง
  • ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • คนที่ไปเที่ยวในประเทศที่มีอุบัติการณ์การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสูง
Hepatitis B
  • อาการของไวรัสตับอักเสบบีมีอะไรบ้าง

ไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันมักไม่แสดงอาการในช่วงเดือนแรก อย่างไรก็ตาม อาการโดยทั่วไปมีดังนี้:

  • อ่อนเพลีย

  • ปัสสาวะสีเข้ม

  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อ

  • ไม่อยากอาหาร

  • มีไข้

  • ไม่สบายท้อง

  • หมดแรง

  • อาการดีซ่าน

บางอาการของไวรัสตับอักเสบบี จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันอาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติการสัมผัสเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและพยายามป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวได้

การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบี

แพทย์มักจะวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบีโดยการตรวจเลือด การคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีอาจจะแนะนำในบุคคลดังต่อไปนี้ :

  • การสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  • การท่องเที่ยวในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบบี

  • เคยติดคุก

  • การฉีดยาผ่านทางหลอดเลือดดำ

  • ได้รับการฟอกเลือด

  • การตั้งครรถ์

  • ชายรักชาย

  • ติดเชื้อ HIV

สำหรับการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี แพทย์จะเตรียมเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจเป็นชุดตรวจเฉพาะสำหรับไวรัสตับอักเสบบี

การทดสอบแอนติเจนที่พื้นผิวของไวรัสตับอักเสบบี

การทดสอบแอนติเจนที่พื้นผิวของไวรัสตับอักเสบบีจะแสดงว่าคุณติดเชื้อหรือไม่ หากผลเป็นบวกหมายความว่าคุณมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ หากผลเป็นลบหมายความว่าตอนนี้คุณยังไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งการทดสอบดังกล่าวยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการติดเชื้อชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง อีกทั้งการทดสอบดังกล่าวยังต้องอาศัยผลการตรวจไวรัสตับอักเสบบีอย่างอื่นร่วมด้วย เพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

การทดสอบแอนติเจนหลักของไวรัสตับอักเสบบี

การทดสอบแอนติเจนหลักของไวรัสตับอักเสบบีเป็นการตรวจสอบเพื่อค้นหาว่าคุณกำลังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่หรือไม่ หากผลเป็นบวกหมายความว่าคุณติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังหรือคุณกำลังฟื้นตัวจากโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลัน

การทดสอบสารภูมิต้านทานที่พื้นผิวของไวรัสตับอักเสบบี

การทดสอบสารภูมิต้านทานที่พื้นผิวของไวรัสตับอักเสบบีเป็นการตรวจเพื่อหาภูมิคุ้มกันของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากผลเป็นบวกแสดงว่าคุณมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยความเป็นไปได้สองอย่างคือ คุณเคยได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีแล้ว หรือเพิ่งหายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันได้ไม่นาน

การตรวจการทำงานของตับ

การตรวจการทำงานของตับเป็นสิ่งตรวจที่สำคัญสำหรับผู้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี รวมถึงโรคตับชนิดอื่นๆ โดยการตรวจดังกล่าวเป็นการตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณเอนไซม์ที่สร้างจากตับ หากพบเอนไซม์ในระดับที่สูงกว่าปกติ แสดงว่าตับกำลังถูกทำลายหรือเกิดการอักเสบขึ้น ดังนั้นการตรวจการทำงานของตับจึงสามารถตรวจหาความผิดปกติได้

หากการตรวจตับแสดงผลเป็นบวก คุณอาจจะต้องทำการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี หรือโรคตับติดเชื้ออย่างอื่นเพิ่มเติม เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตับของประชากรทั่วโลกถูกทำลาย ดังนั้นคุณจึงควรเข้ารับตรวจอัลตราซาวน์ตับหรือตรวจร่างกายด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย

วิธีรักษาไวรัสตับอักเสบบี

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และอิมมูนโกลบูลิน(immune globulin)

ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติการสัมผัสเชื้อไวรัสตับอักเสบบีโดยเร็วที่สุด หากคุณคิดว่าเคยสัมผัสเชื้อภายใน 24 ชม. ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน อาจเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีและอิมมูนโกลบูลินแล้ว ดังนั้นร่างกายจึงสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบีได้

ทางเลือกในการรักษาไวรัสตับอักเสบบี

โดยปกติไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันมักไม่จำเป็นต้องรักษา ผู้คนส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เอง ด้วยการพักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอจะช่วยทำให้ร่างกายดีขึ้นได้

ยาต้านไวรัสนำมาใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง เพื่อช่วยต่อสู้กับไวรัสและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเเทรกซ้อนที่ตับในอนาคตได้

คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการปลูกถ่ายตับ หากไวรัสตับอักเสบบีทำลายตับของคุณอย่างรุนแรง โดยวิธีการปลูกถ่ายตับหมายถึงการที่ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาตับของคุณออกมาแล้วใส่ตับของผู้บริจาคเข้าไปแทน ซึ่งเป็นตับที่ได้รับมาจากการบริจาคของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว

ภาวะแทรกซ้อนของไวรัสตับอักเสบบี

ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดกับไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง เช่น:

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดี

  • เกิดแผลเป็นที่ตับ (โรคตับแข็ง)

  • ตับวาย

  • โรคมะเร็งตับ

  • เสียชีวิต

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดีเกิดกับผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเท่านั้น โดยไวรัสตับอักเสบดีเป็นการติดเชื้อที่ผิดปกติในสหรัฐอเมริกาและยังนำไปสู่การเกิดโรคตับเรื้อรังได้

การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีคือทางป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุด โดยต้องฉีดวัคซีนถึงสามครั้งเพื่อให้ครบชุด สำหรับผู้ที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี มีดังนี้:

  • ทารกทุกคน เมื่อแรกเกิด

  • เด็กและวัยรุ่นที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด

  • ผู้ใหญ่ที่กำลังรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • ผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่ถูกจัดให้

  • ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับเลือด

  • ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • กลุ่มชายรักชาย

  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน

  • ผู้ที่ใช้ยาฉีด

  • มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี

  • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง

  • คนที่ไปเที่ยวในพื้นที่ที่มีอัตราการเป็นโรคไวรัสตับอัดเสบบีสูง

กล่าวอีกคือทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เพราะเป็นวัคซีนที่มีราคาถูกและปลอดภัยมาก

นอกจากนี้ยังมีทางอื่นในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยคุณควรขอให้คู่นอนเข้ารับการตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ใช้ถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ช่องคลอด หรือออรัลเซ็กส์ หลีกเลี่ยงการใช้ยา หากคุณไปเที่ยวต่างประเทศควรตรวจสถานที่ปลายทางว่ามีอุบัติการณ์ของไวรัสตับอักเสบบีสูงหรือไม่ รวมถึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับวัคซีนครบถ้วนก่อนเดินทาง


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/hepatitis/hbv/index.htm

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hepatitis-b/symptoms-causes/syc-20366802

  • https://www.webmd.com/hepatitis/digestive-diseases-hepatitis-b

  • https://www.nhs.uk/conditions/hepatitis-b/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
โรคโครห์น หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง

โรคโครห์น หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Crohn’s Disease): อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.