ริดสีดวง (Hemorrhoids) : อาการ สาเหตุ การรักษา
ริดสีดวง (Hemorrhoids) คืออะไร ริดสีดวงเกิดจากการกลุ่มของหลอดเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่และที่ขอบรูทวารหนักโป่งพองและยื่นออกมา ส่วนใหญ่ผู้เป็นริดสีดวงทวารจะพบได้ในวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป ริดสีดวงทวารสามารถเป็นได้ทั้งภายในหรือภายนอก
ริดสีดวงภายในอาจจะพัฒนาทำให้เป็นริดสีดวงภายนอกได้ ส่วนริดสีดวงภายนอกคือริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงภายนอกเป็นโรคที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหามากที่สุด ริดสีดวงทำให้เกิดอาการปวดคันอย่างรุนแรงและนั่งลำบาก แต่ยังโชคดีที่มีวิธีรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดริดสีดวงทวารภายนอกออก
ลักษณะของริดสีดวง
- ริดสีดวงภายใน คือริดสีดวงที่เกิดเหนือทวารหนักขึ้นไปตามปกติจะไม่โผล่ออกมาให้เห็นและคลำไม่ได้ และมักจะถูกคลุมด้วยเยื่อลำไส้ใหญ่ตอนปลายสุดจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ในขณะที่ยังไม่มีอาการแทรกซ้อน
- ริดสีดวงภายนอก คือริดสีดวงที่เกิดขึ้นบริเวณปากรอยย่นของทวารหนัก สามารถมองเห็นและคลำได้หลอดเลือดที่โป่งพองจะถูกคลุมด้วยผิวหนังจึงอาจเกิดความเจ็บปวดได้เพราะผิวหนังมีปลายประสาทรับความรู้สึก
อาการของคนเป็นริดสีดวงเป็นอย่างไร
อาการของริดสีดวง ได้แก่ :
- มีอาการคันมากรอบทวารหนัก
- การระคายเคืองและเจ็บปวดทวารหนัก
- มีอาการคันหรือเจ็บปวด บริเวณที่เป็นก้อน หรือบวมตรงบริเวณใกล้กับทวารหนัก
- อุจจาระรั่วไหล
- มีอาการเจ็บปวดเนื่องมาจากลำไส้เคลื่อนไหว
- มีเลือดบริเวณเนื้อเยื่อหลังจากการเคลื่อนไหวของลำไส้
แม้ว่าริดสีดวงจะมีอาการเจ็บปวด แต่ก็ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตและมักจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา หากเป็นบ่อยอาจจะพัฒนาเป็นโรคโลหิตจาง เช่น มีอาการอ่อนแรงและผิวซีดเนื่องจากการสูญเสียเลือดแต่ภาวะนี้ค่อนข้างพบได้ยาก
อะไรทำให้เกิดริดสีดวง
ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดริดสีดวง ปัจจัยที่เป็นไปได้ ได้แก่ :
- เกิดการบีบรัดในระหว่างการเคลื่อนไหวของลำไส้
- ภาวะแทรกซ้อนจากอาการท้องผูกเรื้อรัง
- นั่งเป็นเวลานานโดยเฉพาะการนั่งขับถ่ายในห้องน้ำ
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นริดสีดวง
ปัจจัยเสี่ยง
ริดสีดวงสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกได้ดังนั้นหากพ่อแม่ของมีริดสีดวง ลูกอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นด้วยเช่นกัน การยกของหนัก การเป็นโรคอ้วนหรือการมีความเครียดอื่น ๆ ล้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้กับร่างกายได้
การยืนมากเกินไปโดยไม่หยุดพักอาจทำให้พัฒนากลายเป็นริดสีดวงทวารได้ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักและโรคท้องร่วงยังเพิ่มความเสี่ยงของริดสีดวงอีกด้วย
แนวโน้มที่จะเป็นโรคริดสีดวงทวารในคนท้องเมื่อมดลูกขยายตัวมันจะกดเส้นเลือดในลำไส้ใหญ่ทำให้โป่ง
ตรวจริดสีดวงได้อย่างไร
การตรวจทวารหนักด้วยตาเปล่าอาจไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยโรคริดสีดวงทวาร เพื่อยืนยันการวินิจฉัยแพทย์อาจทำการตรวจต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติภายในทวารหนัก การตรวจสอบนี้เรียกว่าการตรวจสอบทางทวารหนักแบบดิจิทัล ในระหว่างการตรวจสอบแพทย์จะสอดนิ้วที่สวมถุงมือและสารหล่อลื่นเข้าไปในช่องทวารหนัก หากมีอะไรผิดปกติ แพทย์อาจใช้วิธีทดสอบเพิ่มเติมที่เรียกว่า sigmoidoscopy
Sigmoidoscopy รักษาโดยใช้กล้องขนาดเล็กเพื่อตรวจริดสีดวงภายใน กล้องขนาดเล็กนี้เรียกว่า sigmoidoscope มีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ แล้วสอดเข้าไปในช่องทวารหนัก การทดสอบนี้แพทย์จะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากด้านในของช่องทวารหนักในการตรวจอาการริดสีดวงทวารอย่างละเอียด
ทางเลือกในการรักษาริดสีดวงมีอะไรบ้าง
การรักษาริดสีดวงสามารถรักษาได้เองที่บ้านหรือที่โรงพยาบาลก็ได้ สามารถทานยาเพื่อแก้ริดสีดวงอักเสบได้เองที่บ้าน เช่น การทานยารักษาริดสีดวงทวารหรือการใช้ห่วงยางรัด ใช้ครีมยาทาริดสีดวงทวารภายนอก หรือยาเหน็บริดสีดวงภายนอก การผ่าตัดริดสีดวง เป็นต้น
การบรรเทาอาการปวด
หากผู้ป่วยมีอาการปวดริดสีดวง การรักษาริดสีดวงภายนอกเบื้องต้นเพื่อลดอาการปวดของริดสีดวงทวารควรแช่ในอ่างน้ำอุ่นอย่างน้อย 10 นาทีทุกวัน เพื่อบรรเทาอาการปวดของริดสีดวงทวารภายนอก หากไม่สามารถทนความเจ็บปวดได้ให้ใช้ยาเหน็บยาหรือครีมที่ขายตามร้านขายยาเพื่อบรรเทาอาการแสบร้อนและคัน
การดูแลตัวเองที่บ้าน
ฝึกสุขอนามัยที่ดีด้วยการทำความสะอาดทวารหนักด้วยน้ำอุ่นในระหว่างชำระร่างกายหรืออาบน้ำทุกวัน แต่ไม่ควรใช้สบู่เพราะสบู่อาจทำให้อาการริดสีดวงทวารหนักขึ้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระดาษชำระแบบหยาบเช็ดช่องทวารหลังจากการขับถ่าย
การประคบเย็นที่ทวารหนักจะช่วยลดอาการบวมริดสีดวง ทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น acetaminophen, ibuprofen หรือแอสไพริน ยาจำพวกนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหรืออาการไม่สบายได้อีกด้วย
ขั้นตอนการรักษาริดสีดวง
รักษาริดสีดวงทางการแพทย์
หากการรักษาที่บ้านไม่ช่วยให้อาการริดสีดวงดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำการใช้ยางรัด ขั้นตอนนี้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ วิธีนี้จะตัดการไหลเวียนของริดสีดวงทวารโดยวางแถบยางรอบ ๆ สิ่งนี้ทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังริดสีดวง ริดสีดวงทวารจะหดตัว ขั้นตอนนี้ควรดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่ควรทำเองที่บ้าน
หากไม่ใช้วิธีแบบยางรัด แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการฉีดหรือ sclerotherapy ในขั้นตอนนี้แพทย์จะฉีดสารเคมีลงในหลอดเลือดโดยตรง เพื่อไปลดขนาดของริดสีดวงทวาร หรืออาจจะทำการผ่าตัดริดสีดวงออก
ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับริดสีดวง
ภาวะแทรกซ้อนจากริดสีดวงค่อนข้างพบได้ยาก แต่หากมีอาจมีอาการดังนี้เช่น :
- อาจทำให้เกิดเส้นเลือดอุดตัน
- ริดสีดวงมีเลือดออก
- อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหลือ และการขาดเลือด
การป้องกันริดสีดวง
เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอาการของริดสีดวง พยายามดื่มน้ำให้เยอะๆ หากดื่มน้ำไม่เพียงพอในแต่ละวันอาจทำให้อุจจาระแข็งตัว และทำให้มีอาการเจ็บทวารหนักเวลาขับถ่าย
การบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูงสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวารในอนาคต
แหล่งใยอาหารที่ดี ได้แก่ :
- โฮลวีต
- ข้าวกล้อง
- ข้าวโอ๊ตบด
- แครอท
- รำข้าว
รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์
หากผู้ป่วยมีอาการท้องผูกควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์เสริมให้พอเหมาะ เพื่อให้ไฟเบอร์ช่วยทำให้การขับถ่ายดีขึ้น
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารควรรับประทานอาหารจำพวกนี้ให้มากๆ เช่น :
- ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ ให้ได้วันละ 8-10 แก้ว น้ำมีส่วนช่วยให้อุจจาระนุ่ม และช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ไม่เจ็บทวารหนักเวลาขับถ่าย
- โยเกิร์ตโยเกิร์ตมีแบคทีเรียชนิดดีที่มีหน้าที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับถ่าย
- มะละกอ มะละกอมีไฟเบอร์สูง และมีเอนไซม์ Papain ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีนในระบบทางเดินอาหาร สามารถกำจัดคราบโปรตีนเก่า ๆ ที่ย่อยไม่หมดจนขัดขวางการขับถ่ายของลำไส้ออกไปได้ จึงช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
- ลูกพรุน เป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณช่วยระบายอยู่ในตัว และช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายอุจจาระออกมาได้ง่ายขึ้น
คนเป็นริดสีดวงห้ามกินอะไร
คนที่เป็นรีดสีดวงห้ามกินอาหารประเภทนี้ :
- ในกลุ่มรสชาติ : หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเผ็ดจัดไม่ควรกิน
- ในกลุ่ม “เนื้อสัตว์” : ควรหลีกเลี่ยงจำพวกเครื่องในสัตว์ทุกชนิด หรือ เนื้อสัตว์ที่มีลักษณะย่อยยาก เช่น เนื้อวัว
- ในกลุ่มอาหารทะเล : อาหารที่ควรงดเวลาเป็นริดสีดวง ควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลทุกชนิดระหว่างรักษาริดสีดวง
- ในกลุ่มหมวดหมู่ “ผัก” : หลักๆ จะเป็นพวกหน่อไม้ดองทุกชนิด เช่น กุยฉ่าย กระเฉด ตำลึง สะตอ ชะอม มะระ ฯลฯ
- ในกลุ่มหมวดหมู่ “ผลไม้” : บางชนิดที่อาจส่งผลถึงระบบย่อยอาหาร และการขับถ่าย เช่น ทุเรียน สัปปะรด ลองกอง มะขามเปียก มะไฟ มะยม มะปราง ละมุด สาเก ลำไย ขนุน เงาะ ลิ้นจี่ สละ ขนุนละมุด น้อยหน่า เสาวรส ฯลฯ
- ในกลุ่มอาหารที่ผ่านการแปรรูป : ส่วนที่ควรอยู่ห่างเป็นพิเศษก็คือ พวกของหมัก ของดองเช่น ปลาส้ม หอยดอง ปลาร้า ปูหลน แหนมกะปิ ฯลฯ
- ในกลุ่มเครื่องดื่ม : พวกกลุ่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม ฯลฯ พวกนมจากสัตว์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hemorrhoids/symptoms-causes/syc-20360268
- https://www.webmd.com/digestive-disorders/understanding-hemorrhoids-basics#1
- https://www.onhealth.com/content/1/hemorrhoid_treatment
- https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/hemorrhoids_and_what_to_do_about_them