ประจำเดือนมามาก (Heavy Menstruation) : อาการ สาเหตุ การรักษา
ผู้หญิงที่เคยประสบกับภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ (Heavy Menstruation) อาจเป็นโรคที่เราเรียกว่าเมนนอราเจีย (Menorrhagia)
ผู้หญิงหลายคนอาจประสบกับอาการปวดท้องและมีประจำเดือนมามากกันในช่วงเวลารอบเดือนกันมาแล้ว แทบทุกคนถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่การมีรอบเดือนที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นจึงถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ
ผู้หญิงแต่ละคนมีรอบและการไหลเวียนของเลือดประจำเดือนที่แตกต่างกันออกไป จึงเป็นเรื่องยากที่บอกว่าประจำเดือนของคุณมาปกติ มาน้อยหรือมามาก ยกเว้นแต่จะต้องปรึกษาแพทย์
ผู้หญิงจะสูญเสียเลือดในช่วงระหว่างการมีประจำเดือนเฉลี่ยประมาณ 30 ถึง 40 มิลลิลิตร แต่สำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนมามากอาจต้องสูญเสียเลือดไปมากกว่า 80 มิลลิลิตรเลยทีเดียว
ภาวะของโรคนี้คือการมีเลือดไหลมากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยแบบแผ่นหรือแบบสอดทุก ๆ 1 ชั่วโมง อาจจำเป็นต้องใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 6 หรือ 7 แผ่นต่อวัน อาการที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลหิตจางและอาการปวดท้องรุนแรงได้ อาจมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ในช่วงระหว่างมีรอบเดือน
เพราะการจะมาวัดปริมาณเลือดที่สูญเสียออกมานั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ทางที่ดีที่สุดหากคุณรู้สึกว่ามีประจำเดือนที่มามากกว่าปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
คุณสามารถตรวจสอบได้จากสิ่งต่างไต่อไปนี้:
- อาการที่มี
- โรคที่อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เลือดมามาก
- สิ่งที่ควรทำเพื่อดูแลรักษาอาการ
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เลือดประจำเดือนมามาก
มีโรคและปัญหามากมายหลายอย่างที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามากได้ ภาวะประจำเดือนมามากอาจเกิดขึ้นเป็นประจำบ่อยๆ หรืออาจเกิดขึ้นประปราย
มีประจำเดือนมามากเฉียบพลันตลอดทั้งเดือน
การตั้งครรภ์นอกมดลูก
สัญญานและอาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูกอาจทำให้เกิดความสับสนกับภาวะมีประจำเดือนมามากได้
รูปแบบการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นนอกมดลูกจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะอยู่ได้นาน ก่อให้เกิดปัญหารุนแรงรวมไปถึงการมีเลือดออกมากและปวดท้องรุนแรง หากทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา การตั้งครรภ์นอกมดลูกก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
การแท้งบุตร
ในช่วงระหว่างเกิดภาวะการแท้งบุตรก็จะมีเลือดไหลออกมามากเช่นกันถือเป็นเรื่องปกติของการแท้งบุตร และอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดกับการมีประจำเดือนมามากได้
การใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิดแบบไม่มีฮอร์โมนNon-hormona(IUD)
การมีเลือดออกมาเป็นผลข้างเคียงของการใช้อุปกรณ์ IUD หลังจากใช้ไปประมาณ 2-3 เดือนอาจพบว่าเลือดที่ออกจะน้อยลง
การใช้ยารักษาโรค
การใช้ยา Blood thinners หรือยาเจือจางเลือดก็สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดมีปัญหาและอาจทำให้มีประจำเดือนไหลมากกว่าเดิมได้
การมีประจำเดือนมามากในวันแรก
ผู้หญิงหลายคนพบว่ามีเลือดประจำเดือนออกมามากในช่วงวันแรกของรอบเดือนและเริ่มน้อยลงในวันท้ายๆ การมีเลือดไหลมากจนรบกวนชีวิตประจำวันถึงจะถือว่าผิดปกติ
เปลี่ยนแปลงการกินยาคุมกำเนิด
หากคุณเพิ่งหยุดกินยาคุมกำเนิดไปไม่นาน เลือดประจำเดือนของคุณอาจไหลมากในช่วงวันแรๆของรอบเดือนนั่นเป็นเพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป
การเปลี่ยนยา
เช่นเดียวกับยาคุมกำเนิด ยาที่รับประทานอาจไปส่งผลกับรอบเดือนและสามารถทำให้เลือดไหลมากในช่วงวันแรกของการมีประจำเดือน
การมีประจำเดือนที่มามากและเจ็บปวดซ้ำๆ
หากทุกๆครั้งของการมีประจำเดือนต้องพบกับอาการปวดท้องรุนแรงและยากต่อการใช้ชีวืต คุณอาจต้องไปตรวจอย่างละเอียดและแก้ปัญหาในระยะยาว
ปัญหาเรื่องฮอร์โมน
ร่างกายของเราโดยทั่วไปควรมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สมดุลกัน ฮอร์โมนสองชนิดนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องของการมีประจำเดือน
การมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาเกินไป ซึ่งทำให้มีเลือดประจำเดือนออกมากในเวลาที่มีรอบเดือน
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคบางชนิดอาจทำให้เลือดประจำเดือนมามาก เช่นโรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์(ไฮโปไทรอยด์)
โรคเกี่ยวเลือด
ราวๆ10ถึง30เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่เจอภาวะดังก่ล่าวมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเลือด เช่น โรควอนวิลลิแบรนด์ (von Willebrand disease)เป็นโรคเลือดออกง่ายและหยุดยาก
ติ่งเนื้อที่โพรงมดลูก
ติ่งเนื้อเล็กๆที่เจริญขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูกหรือปากมดลูกเป็นสาเหตุทำให้เลือดประจำเดือนออกมามาก
เนื้องอกในมดลูก
เนื้องอกในมดลูกไม่ใช่มะเร็งหรือเนื้อร้าย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งด้านนอกมดลูก ผนังมดลูกหรือยื่นเข้าไปในโพรงมดลูกได้ หรืออาจเกิดร่วมกันก็ย่อมได้
มะเร็ง
มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ ผู้ที่มีประจำเดือนมามากจากสาเหตุนี้พบได้ไม่บ่อยนัก แต่การมีเลือดประจำเดือนออกมากก็อาจเป็นอาการหนึ่งของโรค
เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างจะหมดประจำเดือน พบว่าระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงและอาจพบว่ามีเลือดออกมากว่าปกติในช่วงระหว่างมีประจำเดือน
ภาวะหลังคลอดบุตร
หลังมีบุตรประจำเดือนอาจมามากไม่ใช่เรื่องไม่ปกติ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดถาวร หรือประจำเดือนอาจกลับมาไหลคล้ายเดิมเหมือนตอนก่อนตั้งครรภ์
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในเนื้อมดลูก(Adenomyosis)
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ Adenomyosis คือภาวะที่เกิดจากต่อมของเยื่อบุมดลูกเข้าไปฝังตัวที่กล้ามเนื้อมดลูก ทำให้ผนังมดลูกโตหนาขึ้น เป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดที่มีมากขึ้นและมีเลือดออก
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นอกมดลูก(Endometriosis)
Endometriosis คือภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายนอกมดลูกทำให้เกิดอาการดังนี้:
- ปวดท้องประจำเดือน
- ปวดหลังส่วนล่าง
- มีเลือดประจำเดือนออกมาก
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
หากพบว่ามีเลือดประจำเดือนออกมาจนต้องเปลี่ยนแผ่นอนามัยทุกๆชั่วโมง ควรปรึกษาแพทย์
หรือพบว่าการมีเลือดประจำเดือนนี้ส่งผลขัดขวางการดำรงชีวิตประจำวันเพราะอาการเจ็บปวดรุนแรงหรือมีเลือดออกมาก็ควรพบแพทย์เช่นกัน
แพทย์อาจทำการตรวจดังต่อไปนี้:
- ตรวจร่างกาย
- เช็คประวัติสุขภาพ
- จดบันทึกอาการที่เกิดขึ้น
แพทย์อาจสั่งตรวจชิ้นเนื้อหรือเอกซเรย์ดูภาพเพื่อตรวจบริเวณมดลูกอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น
การจะบอกว่าภาวะมีประจำเดือนนั้นๆเป็นปกติหรือมีมามากกว่าปกติเป็นเรื่องยากหากไมได้รับการตรวจจากแพทย์ แพทย์จะมีแนวทางขั้นตอนในการค้นปัญหาเบื้องต้นเพื่อนำมารักษาการมีประจำเดือนมามาก
ประจำเดือนมามากรักษาได้อย่างไร
การรักษาภาวะมีเลือดประจำเดือนมามากเราจะเจาะตรงไปยังเรื่องการควบคุมการไหลของเลือดโดยตรง ผู้รักษาบางท่านอาจรักษาอาการต่างๆได้เช่นอาการเจ็บ และปวดอย่างรุนแรง
การดูแลพื้นฐานสำหรับอาการมีเลือดประจำเดือนมามากคือ:
- ยาคุมกำเนิด การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดและห่วงอนามัยคุมกำเนิดแบบไม่มีฮอร์โมนอาจจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนและจัดการเรื่องประจำเดือนได้ดี
- ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยากลุ่มเอ็นเสด NSAIDs เช่นไอบูโปรเฟน(ibuprofen) และ นาพรอกเซน โซเดียม(naproxen sodium) เป็นยาช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนและยังสามารถช่วยลดการสูญเสียเลือดได้ด้วย
- ยาชนิดต้องมีใบสั่งแพทย์ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเช่น ยาโปรเจสตินเพื่อช่วยรักษาประจำเดือนมามาก
- การผ่าตัด ด้วยการผ่านำเอาติ่งหรือเนื้องอกออกเพื่อช่วยลดอาการเสียเลือดและยังช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
- การขูดมดลูก หากพบว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นๆไม่ประสบผลสำเร็จแพทย์จะใช้อุปกรณ์ขูดมดลูกเปิดปากมดลูกและขูดหรือดูดเนื้อเยื่อจากเยื่อบุมดลูกออกมา เพื่อให้เลือดรอบเดือนลดลงเมื่อประจำเดือนมา ทั้งนี่อาจจำเป็นต้องขูดซ้ำในกรณีที่เกิดประจำเดือนมามากซ้ำอีกครั้ง
- การตัดมดลูก ในรายที่เป็นมาก การผ่าตัดเอามดลูกออกไปทั้งหมดอาจมีความจำเป็น ส่ผลให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไปและก็ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกต่อไปหลังการรักษาชนิดดังกล่าว
ส่วนสำคัญที่สุด
เพราะผู้หญิงมีวงรอบเดือนที่แตกต่างกันจึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าการมีเลือดประจำเดือนแบบไหนที่ปกติหรือไม่ปกติ
แพทย์อาจช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการมีประจำเดือนอย่างกว้างๆให้แก่คุณได้ และหาวิธีรักษาเพื่อช่วยแก้ไข หากมีความจำเป็นควรจดผลที่เกิดขึ้นจากการเสียเลือดมากเอาไว้ด้วย
ควรแจ้งเกี่ยวกับการมีประจำเดือนและอาการต่างๆอย่างตรงไปตรงมาเพื่อแพทย์จะได้ช่วยในการแก้ปัญหา ไม่ควรอายหรือกลัวเรื่องการมีประจำเดือน
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/ncbddd/blooddisorders/women/menorrhagia.html
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menorrhagia/symptoms-causes/syc-20352829
- https://www.nhs.uk/conditions/heavy-periods/
- https://www.webmd.com/women/heavy-period-causes-treatments
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team