อาการหัวใจสั่น (Heart Palpitations) คือ อาการที่หัวใจของคุณข้ามจังหวะ หรือมีบางจังหวะพิเศษ นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกว่าหัวใจของคุณเต้นแรงหรือเต้นรัว
คุณอาจกังวลเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจมากเกินไป ความรู้สึกนี้สามารถสัมผัสได้ที่ช่วงคอและช่วงอก จังหวะการเต้นของหัวใจของคุณสามารถเปลี่ยนไปได้เมื่อใจสั่น
อาการใจสั่นบางประเภทนั้นไม่มีอันตราย และสามารถหายได้โดยไม่ต้องรับการรักษา แต่บางกรณีอาการใจสั่นสามารถเป็นสัญญาณบอกโรคร้ายได้
สาเหตุของอาการใจสั่น
สาเหตุที่สามารถเป็นได้ของอาการใจสั่นมีดังนี้
- ออกกำลังกายหนัก
- บริโภคคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป
- นิโคตินจากยาสูบ
- ความเครียด
- ความวิตกกังวล
- นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ความหวาดกลัว
- ความตกใจ
- การสูญเสียน้ำ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย
- น้ำตาลในเลือดต่ำ
- โรคโลหิตจาง
- ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
- ระดับออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำ
- การสูญเสียเลือด
- ช็อก
- ไข้
- ยาบางชนิด
- สารกระตุ้น เช่น ยาบ้า และโคเคน
- โรคหัวใจ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ลิ้นหัวใจผิดปกติ
- การสูบบุหรี่
- การหยุดหายใจขณะนอนหลับ
บางครั้งใจสั่นอาจบอกถึงอันตรายบางอย่างดังนี้
- ภาวะหัวใจล้มเหลว
- โรคหัวใจ
- ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ
- ลิ้นหัวใจรั่ว
เมื่อไรที่ควรเข้ารับการรักษาทันที
ควรพบแพทย์ทันทีหากมีอาการหัวใจสั่น เมื่อเกิดอาการใจสั่นร่วมกับอาการอื่นๆ ดังนี้
- เวียนศีรษะ
- อ่อนล้า
- เป็นลม
- หมดสติ
- มึนงง
- หายใจลำบาก
- เหงื่อออกมาก
- ปวดหรือแน่นหน้าอก
- ปวดแขน คอ อก กราม หรือหลังช่วงบน
- อัตราชีพจรปกติมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
- หายใจเร็ว
การวินิจฉัยสาเหตุของอาการใจสั่น
อาการหัวใจสั่นวินิจฉัยได้ยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้เกิดในขณะที่คุณใช้เครื่องตรวจติดตามที่แพทย์ติดตั้งให้
แพทย์จะตรวจสอบร่างกายโดยละเอียด และอาจจะซักถามเกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้
- การออกกำลังกาย
- ความเครียด
- การใช้ยาจากแพทย์
- การใช้ยาอื่นๆ และอาหารเสริม
- ปัญหาสุขภาพ
- นอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลา
- การใช้คาเฟอีนและสารกระตุ้น
- บริโภคแอลกอฮอล์
- ความสม่ำเสมอของการมีประจำเดือน
อาจมีการทดสอบอื่นๆ จากอายุรแพทย์หัวใจ เพื่อทดสอบเฉพาะทาง
- การตรวจเลือด
- การตรวจปัสสาวะ
- การทดสอบความเครียด
- การบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจด้วย Holter monitor เป็นเวลา 24 – 48 ชม.
- อัลตราซาวน์หัวใจ
- คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- เอ็กซ์เรย์หน้าอก
- Electrophysiology
- การตรวจหลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจดูว่าเลือดไหลผ่านหัวใจอย่างไร
การรักษาอาการหัวใจสั่น
แพทย์จะวางแผนการรักษาให้สอดคล้องกับสาเหตุและที่มาของอาการใจสั่น
หากอาการใจสั่นของคุณเกิดจากพฤติกรรม เช่น การสูบบุหรี่ หรือบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป การลดสารเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุณต้องทำ เพื่อให้อาการหัวใจสั่นหายไป
การป้องกันอาการหัวใจสั่น
หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าอาการใจสั่นไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา คุณจำเป็นต้องทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อป้องกันอาการหัวใจสั่น
- ค้นหากิจกรรมที่ทำให้คุณเกิดอาการใจสั่นและหลีกเลี่ยง
- เมื่อมีความกังวลหรือเครียดให้ลองออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายหายใจลึก ๆ เช่น การเล่นโยคะ
- จำกัด หรือหยุดการบริโภคคาเฟอีน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง
- เลิกสูบบุหรี่
- หากอาการใจสั่นเกิดจากการแพ้ยาให้พบแพทย์ทันที
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์.
- ลดหรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-palpitations/symptoms-causes/syc-20373196
- https://www.nhs.uk/conditions/heart-palpitations/
- https://www.webmd.com/heart-disease/guide/what-causes-heart-palpitations
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team