โรคหัวใจ (Heart disease) : สาเหตุ อาการ การรักษา
โรคหัวใจ (Heart disease) คือโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายแล้วส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งภาวะของโรคหัวใจมีหลายโรคเช่น โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดหัวใจตีบตัน โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น โรคหัวใจอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่ก็สามารถป้องกันได้ ด้วยการมีสุขภาพที่ดีตั้งแต่แรกเริ่ม และเสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจเพื่อชีวิตที่ยืนยาว

โรคหัวใจมีกี่ประเภท
โรคหัวใจเกิดจากอาการผิดปกติภายในร่างกายแล้วส่งผลกระทบต่อหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ มีหลายโรคที่ก่อให้เปิดเป็นโรคหัวใจได้แก่:
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป
- โรคหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือด ชั้นใน หนาตัวขึ้นเรื่อยๆ มีไขมันไปสะสมระหว่างหลอดเลือด กลายเป็นไขมันในเลือดสูง จนในที่สุดทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ Cardiomyopathy เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจเอง
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart defects) ภาวะผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของหัวใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกคลอด
- โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด
- โรคติดเชื้อที่หัวใจ: ภาวะหัวใจติดเชื้อ ที่อาจมาจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต
คำว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจถูกนำมาใช้เพื่ออ้างถึงสภาพหัวใจที่มีผลต่อหลอดเลือดโดยเฉพาะ
อาการเริ่มต้นของโรคหัวใจ
หากผู้ป่วยมีอาการดังนี้ นั่นคือสัญญาณของการเริ่มเป็นโรคหัวใจ:
- มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงบริเวณหลัง แขน หรือ หน้าอก
- หายใจถี่
- แสบร้อนกลางหน้าอก
- อ่อนเพลียมาก
- ท้องไส้ปั่นป่วน
- อึดอัดบริเวณคอและขากรรไกร
- รู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ
อาการของโรคหัวใจแต่ละชนิด
อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ จะขึ้นอยู่กับความเร็วของการเต้นหัวใจ บางคนเต้นช้า บางคนเต้นเร็ว อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีดังนี้:
- วิงเวียนศรีษะ
- หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
- ชีพจรเต้นช้า
- อ่อนแรง
- อาการเจ็บหน้าอก
อาการหลอดเลือดแข็ง
เกิดจากภาวะเลือดไหลเวียนไปยังแขนขาได้น้อยลง ส่งผลให้มีอาการเจ็บหน้าอก และหายใจถี่อาการของภาวะหลอดแข็งมีดังนี้:
- แขนและขารู้สึกเย็น
- รู้สึกเสียววูบแวบในแขนและขา
- อาการปวดผิดปกติ
- ขาและแขนอ่อนแรง
อาการโรคหลอดเลือดหัวใจ
เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือดไปยังหัวใจและปอด อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจมีดังนี้:
- เจ็บหน้าอก และรู้สึกไม่สบายตัว
- รู้สึกมีแรงกดและบีบที่หน้าอก
- หายใจถี่
- วิงเวียนศีรษะ
- อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง
อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
เกิดจากการผิดปกติของโครงสร้างหัวใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกคลอด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ แต่อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีดังนี้:
- ผิวสีฟ้า
- แขนขาบวม
- หายใจถี่หรือหายใจลำบาก
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ
เกิดจากความผิดปกติของหัวใจในลักษณะกล้ามเนื้อหัวใจโต ทำให้หนาหรือแข็งขึ้น หรืออาจจะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง อาการของโรคกล้ามเนื้อใจมีดังนี้ :
- เพลีย เหนื่อยล้า
- ท้องอืด
- ขาบวม โดยเฉพาะข้อเท้าและเท้า
- หายใจถี่
- ชีพจรเต้นแรงและเร็ว
โรคหัวใจติดเชื้อ
เกิดจากโรคหัวใจติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือปรสิต อาจทำให้เป็นเยือบุหัวใจอักเสบ อาการของโรคติดเชื้อหัวใจมีดังนี้ :
- อาการเจ็บหน้าอก
- แน่นหน้าอก ทำให้ไอ
- มีไข้
- หนาวสั่น
- ผื่นขึ้นที่ผิวหนัง
อาการโรคหัวใจในผู้หญิงมีอะไรบ้าง
ผู้หญิงจะมีอาการโรคหัวใจมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด
ในปี 2556 การศึกษาอาการจากโรคหัวใจที่พบมากที่สุดคือโรคหัวใจวาย อาการหัวใจวายส่วนใหญ่ที่ไม่ได้หมายรวมถึงอาการแบบดั้งเดิม เช่น เจ็บหน้าอก และรู้สึกเหน็บชา การรายงานจากการศึกษาพบว่าเกิดจากผู้ป่วยหญิงจะมีความวิตกกังวล นอนหลับไม่สนิท และมีอาการอ่อนแรงอย่างผิดปกติ และพบว่าผู้ป่วยหญิงมากกว่าร้อยละ 80 มีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 1 เดือนก่อนเกิดอาการหัวใจวาย
อาการโรคหัวใจวายของผู้หญิงส่วนใหญ่อาจมาจากภาวะซึมเศร้า ช่วงวัยหมดประจำเดือน และเกิดจากกว่าเครียดวิตกกังวล
อาการโดยปกติของโรคหัวใจในผู้หญิง มีดังนี้ :
- มึนหัว
- ซูบซีด
- หายใจถี่
- วิงเวียนศรีษะ
- อาเจียน
- ความวิตกกังวล
- อาการปวดกราม
- เจ็บคอ
- ปวดหลัง
- อาหารไม่ย่อย หรือมีแก๊ซในกระเพาะอาหาร
- เหงื่อเย็น
โรคหัวใจเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
โรคหัวใจคืออาการผิดปกติในร่างกายที่ก่อให้หัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ โรคหัวใจแต่ละประเภทเกิดจากบางอย่างที่ผิดปกติ เช่น หลอดเลือดซึงอาจมีผลมาจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง
สาเหตุอื่นของโรคหัวใจมีดังนี้ :
สาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดปกติมีดังนี้:
- โรคเบาหวาน
- หลอดเลือดทำงานผิดปกติ
- หัวใจพิการแต่กำเนิด
- ยา อาหารเสริมและสมุนไพร
- ความดันโลหิตสูง
- การดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป
- การใช้สารผิดปกติ
- ความเครียดและความวิตกกังวล
- เกิดจากโรคหัวใจที่มีอยู่แล้ว
สาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจะเกิดขึ้นกับทารกตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ บางรายอาจร้ายแรงบางรายไม่สามารถวินิจฉัยจนกว่าเวลาจะผ่านไปหลายปี โครงสร้างของหัวใจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุ อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจมีหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไป ดังนี้:
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม ( Dilated Cardiomyopathy ) คือ ภาวะจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ เนื่องจากเซลล์ที่ทำการปล่อยคลื่นไฟฟ้าทำงานผิดปกติ ทำให้การบีบตัวหรือหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติรวมถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจที่มาจากโรคอื่นๆ ภายในร่างกาย
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ (hypertrophic cardiomyopathy: HCM) เป็นโรคหัวใจชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้นโดยไม่ปรากฏว่าเกิดจากโรคหรือความผิดปกติอื่น
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวมากกว่าปกติ ( Restrictive Cardiomyopathy ) คือ เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจมีธาตุเหล็ก โปรตีนบางชนิดหรือเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการแข็งตัว ไม่สามารถทำการบีบรัดตัวหรือบีบรัดตัวได้น้อยลงกว่าปกติ ส่งผลให้การส่งเลือดไปยังปอดและอวัยวะตามร่างกายน้อยลง
สาเหตุของโรคหัวใจติดเชื้อ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อ ปรสิตและเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อในหัวใจ การติดเชื้อที่ควบคุมไม่ได้ในร่างกายอาจส่งผลให้เป็นอันตรายต่อหัวใจ หากไม่ได้รับการรักษา
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ
มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ บางปัจจัยก็สามารถควบคุมได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 47% ของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจมีดังนี้ :
- ความดันโลหิตสูง
- คอเลสเตอรอลสูงและระดับไขมันดีต่ำ
- สูบบุหรี่
- ความอ้วน
- การเคลื่อนไหวทางกายภาพช้า
ยกตัวอย่าง สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ อยู่ในปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในการพัฒนาเข้าสู่โรคหัวใจ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเพิ่มความเสี่ยงของ:
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- หัวใจวาย
- เส้นโลหิตในสมองแตก
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
หากเป็นโรคเบาหวาน ควรลดระดับน้ำตาล เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ สำหรับโรคหัวใจ ได้แก่:
- ประวัติคนในครอบครัว
- เชื้อชาติ
- เพศ
- อายุ
กรณีของประวัติคนในครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ ของ CAD นั้นเกี่ยวข้องโดยเฉพาะถ้าเกี่ยวข้องกับ:
- เป็นญาติผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 55 ปี เช่น พ่อ หรือพี่ชาย
- เป็นญาติผู้หญิงอายุต่ำกว่า 65 ปี เช่น แม่ หรือน้องสาว
การวินิจฉัยโรคหัวใจ
แพทย์จะทำการทดสอบและประเมินจากสาเหตุหลายประการเพื่อทำการวินิจฉัยโรคหัวใจ การทดสอบเหล่านี้บางชนิดของโรคหัวใจอาจสามารถทำได้ก่อนที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหัวใจ ส่วนบางสาเหตุอาจดูจากอาการของโรคหัวใจทีเกิดขึ้นแล้ว
การตรวจร่างกายและการทดสอบเลือด
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและพิจารณาจากอาการของผู้ป่วย จากนั้นจะสอบถามประวัติของคนในครอบครัวและประวัติการรักษาของผู้ป่วย เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดอาจเกิดจากพันธุกรรม หากเคยมีคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคหัวใจควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
ส่วนการตรวจเลือดเพื่อให้แพทย์ตรวจสอบระดับคอเลสเตอรอลและหาสาเหตุของการติดเชื้อ
การทดสอบชนิดไม่รุกล้ำ
การตรวจแบบชนิดไม่ลุกลามมีหลายวิธี
- Electrocardiogram (ECG or EKG) การทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาและส่งผ่านไปทั่วทั้งหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัวอย่างสมบูรณ์ในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- Echocardiogram เป็นวิธีการตรวจโรคหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ใช้ตรวจโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจวาย และภาวะหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น
- Stress test เป็นการตรวจสมรรถภาพของหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ เช่น เดินบนสายพานเลื่อน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน เพื่อทดสอบว่า เมื่อหัวใจมีความต้องการในการใช้ออกซิเจนจากเลือดเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ออกกำลังกายแล้วจะเกิดภาวการณ์ขาดเลือดขึ้นหรือไม่
- Carotid ultrasound เป็นการตรวจหลอดเลือดแดงอย่างละเอียด
- Holter monitor คือการติดอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีขนาดเท่ากับกล้องถ่ายรูป ใช้สำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 – 48 ชั่วโมง
- Tilt table test คือการ ตรวจโดยใช้เตียงที่ปรับเอียงได้เพื่อประเมินสาเหตุของภาวะเป็นลมหมดสติ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงและหลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตลดลง เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยและเป็นลมหมดสติในที่สุด
- CT scan คือ การทดสอบโดยวิธีสแกนจะช่วยให้แพทย์เห็นภาพของหัวใจและเส้นเลือดอย่างชัดเจนของผู้ป่วย
การทดสอบชนิดรุกล้ำ
หากการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และตรวจแบบขนิดไม่ลุกลามยังไม่เจอผลของสาเหตุการเป็นโรคหัวใจ แพทย์จะทำการตรวจแบบรุกราน เพื่อหาสาเหตุของการโรคหัวใจ การตรวจแบบชนิดรุกล้ำมีดังนี้:
- การสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac catheterization and coronary angiography) แพทย์จะทำการสอดสายสวนเข้าไปในเล้นเลือดหัวใจโดยตรงของผู้ป่วยผ่านทางขาหนีบ เมื่อสายสวนนี้อยู่ในหัวใจแพทย์จะสามารตรวจสอบหลอดเลือดหัวใจว่าเส้นเลือดตีบหรือไม่ แพทย์จะทำการฉีดสารทึบเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจโดยตรง เพื่อให้เห็นภาพถ่ายเสื้อเลือดหัวใจในบริเวณที่มีการตีบตันของเส้นเลือด
- การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology study) การทดสอบนี้แพทย์จะใช้ขั้วไฟฟ้าของผู้ป่วยผ่านสายสวน เพื่อให้ขั้วไฟฟ้าส่งคลื่นไฟฟ้าและทำการบันทึกวิธีการตอบสนองของหัวใจ
โรคหัวใจควรรักษาแบบใด
การรักษาโรคหัวใจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ และรักษาตามระดับอาการของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยมีภาวะโรคหัวใจติดเชื้อ แพทย์อาจจะทำให้รักษาด้วยยาแอนตี้ไบโอติก
หากผู้ป่วยอยู่ในภาวะไขมันอุดตัน แพทย์อาจใช้วิธีทั้ง 2 ง่าม โดยการจ่ายยาเพื่อรักษาให้ระดับไขมันของผู้ป่วยลดน้อยลงและปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น
การรักษาโรคหัวใจ มี 3 แบบหลักๆด้วยกันดังนี้:
- การเปลี่ยน Lifestyle
ไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีเป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งวิธีป้องกันโรคหัวใจ วิธีนี้จะช่วยรักษาโรคหัวใจและป้องกันไม่ให้เกิดอาการโรคหัวใจแย่ลง การควบคุมอาหารสำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับเปลี่ยน lifestyle
ควรรับประทานอาการชนิดที่มีสารโซเดียมต่ำ ลดอาหารจำพวกไขมัน ควรทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ดียิ่งขึ้น การควบคุมอาหารอย่างจริงจังจะช่วยหยุดความดันโลหิตสูง ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ และควรงดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอร์
- การผ่าตัดหรือการใช้วิธีแบบรุกล้ำ
ในผู้ป่วยโรคหัวใจบางราย การผ่าตัดหรือการรักษาทางการแพทย์มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อป้องกันอาการทรุดตัวของโรคหัวใจ
ตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดตีบตันจากคราบไขมัน แพทย์จะทำการใส่สายสวนเพื่อช่วยให้หลอดเลือดไหลเวียนปกติ ขั้นตอนของแพทย์ที่ทำการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจของผู้ป่วยและการประเมินความเสียหายของโรคหัวใจของผู้ป่วย
- การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยาจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาโรคหัวใจ แพทย์จะสั่งจ่ายยาที่สามารถรักษาและควบคุมตามระดับอาการของคนเป็นโรคหัวใจ การรักษาด้วยยาอาจชะลอหรือหยุดความเสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะแทรกซ้อน ยาที่แพทย์สั่งจ่ายจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจของผู้ป่วย
การพยายาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจจะมีวิธีดูแลที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ
ป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร
เราไม่สามารถป้องกันโรคหัวใจได้จากปัจจัยเสี่ยงบางประการ เช่นหากมีเคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ แต่การลดความเสี่ยงในสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
ตั้งเป้าหมายเพื่อสุขภาพที่ดีในการลดความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอล
การมีสุขภาพทีดี ด้วยการรักษาระดับความดันโลหิตสูงและระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายในปริมาณที่สูงเกินไป นับเป็นก้าวแรกของการรักษาสุขภาพของหัวใจให้มีความดันโลหิตน้อยกว่า 120/80 mm Hg.
เมื่อหัวใจเต้นจะมีการบีบตัวของหัวใจและดันเลือดออกมาจากหัวใจไปตามเส้นเลือดแดงทั่วร่างกาย แรงดันนี้ทำให้เกิดความดันในเส้นเลือดแดง ค่าความดันที่วัดได้นี้คือความความดัน systolic และค่าความดัน diastolic หรือค่าความดันตัวล่าง แสดงถึงความดันในเส้นเลือดแดงในขณะที่หัวใจพักการบีบตัวแต่ละครั้ง หากวัดค่าแล้วมากกว่า 120/80 แสดงว่าการทำงานของหัวใจหนักกว่าปกติเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง
ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจจะขึ้นอยู่ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย หากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว จะมีความเสี่ยงสูงต่อคนเป็นโรคหัวใจ
มีวิถีชีวิตเพื่อการมีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ
การกินอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายเป็นประจำมีความสำคัญต่อการรักษาสุขภาพร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารรสเค็มจัด ตามคำแนะนำของแพทย์ แพทย์แนะนำให้ออกกกำลังกายอย่างน้อย 30-60 นาทีต่อวัน รวมเท่ากับ 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์ ควรปรึกษาวิธีการออกกำลังกายอย่างปลอดภัยเพื่อไม่ให้กระทบกับภาวะอาการของโรคหัวใจ และควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากสารนิโคตินอาจส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจหดตัวและทำให้การหมุนเวียนของออกซิเจนติดขัด ส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือดหัวใจเป็นอย่างยิ่ง
จัดการกับความเครียด
การจัดการกับความเครียดสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้อย่างง่ายๆ ไม่ควรประมาทหากอยู่ในภาวะเครียด หากอยู่ในภาวะเครียดเรื้อรัง จะส่งผลให้เป็นโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์หากมีความเครียด หรือความวิตกกังวล เพื่อปรึกษาหาวิธีที่ต้องรับมือต่อกับการปรับตัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความตึงเครียดของคนในปัจจุบันเช่น การตกงาน หรือการมีปัญหาเรื่องหย่าร้าง เป็นต้น
หากเป็นโรคหัวใจควรใช้วิถีชีวิตอย่างไร
หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจแล้ว ควรพูดคุยและปรึกษาแพทย์ในขั้นตอนของการรักษาสุขภาพ และควรเตรียมตัวเพื่อดูแลปรับเปลี่ยนการวิถีการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ควรเตรียมปรึกษาแพทย์เพื่อปรึกษาและพูดคุยรายละเอียดหากเจอภาวะอาการ ตามข้อหลักๆ เหล่านี้ :
- ยาที่รับประทาน
- การออกกำลังกาย
- การควบคุมอาหาร
- กรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง
- กรณีประวัติส่วนบุคคลเคยมีภาวะความดันโลหิตสูงและเป็นโรคเบาหวาน
- อาการอื่นๆ ที่เคยปรากฏเช่น หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนหน้ามืด หรืออ่อนแรง
หากผู้ป่วยปฏิบัติตามวิธีการปรับเปลี่ยนชีวิตตามที่กล่าวมาในเบื้องต้นแล้ว และหากมีปัญหาด้านในในระหว่างการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้วควรพูดคุยและพบแพทย์อย่างเป็นประจำ เนื่องจากปัจจัยในการดำเนินชีวิตบางอย่างหลังจากเข้าสู่การเป็นโรคหัวใจแล้ว อาจเสี่ยงต่อระดับความดันโลหิตสูง
แพทย์ของคุณอาจให้คำแนะนำเพิ่มเติมดังนี้
- ควบคุมระดับความดันโลหิต
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
- หากมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ควรควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด
- อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทั้งหมดในระยะสั้นอาจไม่ส่งผลมากนัก ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จากทีละอย่าง ย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อรักษาสุขภาพและบำรุงหัวใจอย่างดีที่สุด
ข้อห้ามสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจเพิ่มเติม เช่น:
- ควรงดสูบบุหรี่
- อย่าดื่มกาแฟมากจนเกินไป
- งดทานอาหารจำพวกเนย มาการีน
- งดทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
- เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง
ข้อเชื่อมโยงระหว่างโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่เกิดจากความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เมือความดันโลหิตสูงหัวใจจะทำงานหนักขึ้น การหมุนเวียนเลือดของหัวใจแรงขึ้น สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้หัวใจมีปัญหา รวมทั้งอาจทำให้กระทบไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจหนาแน่นขึ้น และอาจทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน
การรักษากล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงเพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดจะส่งผลดีต่อการเต้นของหัวใจ โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแดงยืดหยุ่นน้อยลงและแข็งมากขึ้น และสามารถชะลอการไหลเวียนโลหิตเพื่อป้องกันไม่ได้ร่างกายรับเลือดที่อุดมด้วยซิเจนที่มากเกินความจำเป็น
โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เสียชีวิตในอันดับต้น ๆ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเริ่มรักษาภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเร็วที่สุด เพื่อป้องกันเข้าสู่ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม
มีวิธีรักษาโรคหัวใจหรือไม่?
โรคหัวใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และต้องใช้ระยะเวลาการรักษาและการตรวจสอบอย่างละเอียด อาการของโรคหัวใจหลายอย่างสามารถบรรเทาได้ด้วยการรักษาด้วยยา การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ถ้าหากอาการแย่ลง หรือไม่มีดีขึ้น จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแบบบายพาส หากคุณเชื่อว่าคุณอาจมีอาการของโรคหัวใจหรือหากคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจให้นัดพบแพทย์ของคุณ ร่วมกันคุณสองคนสามารถชั่งน้ำหนักความเสี่ยงดำเนินการทดสอบการคัดกรองบางอย่างและวางแผนสำหรับการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
การดูแลสุขภาพอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ยิ่งหากเคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจแล้วยิ่งเพิ่มความเสี่ยงสูง
ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/symptoms-causes/syc-20353118
- https://www.webmd.com/heart-disease/default.htm
- https://www.cdc.gov/heartdisease/facts.htm
- https://www.who.int/health-topics/cardiovascular-diseases/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team