• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

หูดับ (Hearing loss) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค
0
หูดับ
0
SHARES
23
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูดับคืออะไร
  • อาการหูดับมีอะไรบ้าง
  • วิธีรักษาโรคหูดับทำอย่างไรบ้าง
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการหูดับมีอะไรบ้าง
  • เราสามารถป้องกันอาการหูดับได้อย่างไรบ้าง
4.7 / 5 ( 19 votes )

อาการหูดับ (Hearing Loss) หรือภาวะสูญเสียการได้ยินเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่สามารถได้ยินเสียงบางส่วนหรือเสียงทั้งหมดผ่านหูข้างใดข้างหนึ่งหรือหูทั้งสองข้าง โดยปกติอาการหูดับค่อยๆเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป สถาบันโรคหูหนวกเเละความผิดปกติทางการได้ยินอื่นๆ นานาชาติรายงานว่าในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปประมาณ 25% เคยมีอาการหูดับ

ชื่ออื่นๆที่ใช้เรียกอาการหูดับได้แก่

  • การได้ยินลดลง
  • อาการหูหนวก
  • สูญเสียการได้ยิน
  • การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง

ส่วนประกอบหลักของหูได้แก่หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน การได้ยินเสียงเกิดขึ้นเมื่อมีคลื่นเสียงผ่านเข้าไปที่หูชั้นนอกไปยังเยื่อแก้วหูที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆอยู่ระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เมื่อคลื่นเสียงเข้าไปถึงหูชั้นนอก เยื่อแก้วหูจะเกิดอาการสั่นขึ้น 

กระดูกหูสามชิ้นบริเวณหูชั้นกลางเรียกว่า ossicle ซึ่งกระดูกสามชิ้นนี้ได้แก่ กระดูก hammer กระดูก anvil และ กระดูก stirrup โดยเยื่อแก้วหูและกระดูกหู ossicle จำทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มอัตราการสั่นเมื่อคลื่นเสียงกำลังเดินทางเข้าไปยังหูชั้นใน

เมื่อคลื่นเสียงเข้าสู่หูชั้นใน คลื่นเสียงจะเคลื่อนที่ผ่านของเหลวในท่อคลอเคลีย สำหรับท่อคลอเคลียมีลักษณะเป็นท่อรูปก้นหอยอยู่ภายในหูชั้นใน ซึ่งภายในท่อรูปก้นหอยนี้มีเซลล์ประสาทที่มีขนขนาดเล็กติดอยู่หลายพันตัว ขนเหล่านี้ทำหน้าที่แปลงการสั่นของคลื่นเสียงให้กลายเป็นคลื่นไฟฟ้าส่งไปยังสมอง เพื่อให้สมองแปลงความหมายของคลื่นไฟฟ้าเพื่อรับรู้ลักษณะหรือประเภทของเสียงที่ได้ยิน เสียงที่เกิดขึ้นจากการสั่นที่แตกต่างกันทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองของขนเส้นประสาทขนาดเล็กที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดการส่งสัญญาณเสียงที่แตกต่างกันไปสู่สมองของคุณ

Hearing loss

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูดับคืออะไร 

สถาบันนักบำบัดคำพูด การใช้ภาษาและการได้ยินรายงานว่าอาการหูดับแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทเกิดขึ้นจากปัจจัยที่แตกต่างกัน สาเหตุส่วนใหญ่ 3 ประการที่ทำการได้ยินเสียงลดลง ได้แก่การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องและโรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) รวมถึงการสูญเสียการได้ยินแบบผสมผสานกัน

การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง

การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องเกิดขึ้นเมื่อเสียงไม่สามารถเดินทางจากหูชั้นนอกไปถึงเยื่อแก้วหูและกระดูกของหูชั้นกลางได้ เมื่อมีอาการหูดับชนิดนี้เกิดขึ้นคุณจะไม่สามารถได้ยินเสียงเบาหรือเสียงท่อไอเสียรถยนต์ได้ แต่อย่างไรก็ตามอาการหูดับชนิดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างถาวรและการรักษาทางการแพทย์สามารถช่วยรักษาอาการนี้ได้ โดยวิธีการรักษาที่นำมาใช้ได้แก่การใช้ยาปฏิชีวนะหรือผ่าตัดที่มีแผลขนาดเล็กเช่นการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ซึ่งประสาทหูเทียมมีลักษณะเป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ใช้ฝั่งอยู่ใต้ผิวหนังด้านหลังหู โดยประสาทหูเทียมมีหน้าที่แปลงการสั่นของคลื่นเสียงให้การเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังสมองของคุณเพื่อทำการแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน    

การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องมีสาเหตุเกิดจาก

  • หูติดเชื้อ
  • อาการแพ้
  • หูติดเชื้อในนักกีฬาว่ายน้ำ
  • มีขี้หูเกิดขึ้นภายในหู

สิ่งแปลกปลอมที่อุดตันอยู่ภายในหูเช่นเนื้องอกหรือแผลบริเวณช่องหูที่เกิดขึ้นซ้ำเนื่องจากการติดเชื้อส่งผลทำให้เกิดอาการหูดับได้ 

โรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) 

โรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างของหูชั้นในหรือทางเดินของเส้นประสาทที่ไปยังสมองถูกทำลาย โดยปกติภาวะการสูญเสียการได้ยินชนิดนี้จะเกิดขึ้นอย่างถาวร โรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) ทำให้การได้ยินเสียงไม่ชัดเจน แม้ว่าจะเป็นเสียที่เกิดขึ้นในระยะปกติหรือเสียงดังอย่างเช่นเสียงท่อไอเสียรถยนต์ 

โรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) มีสาเหตุเกิดจาก

  • ความบกพร่องของโครงสร้างหูตั้งแต่กำเนิด
  • การเพิ่มขึ้นของอายุ
  • การทำงานในสิ่งเเวดล้อมที่มีเสียงดัง
  • อาการบาดเจ็บที่หัวหรือกระโหลก
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของหูชั้นในที่ส่งผลทำให้เกิดการได้ยินเสียงไม่สมดุล
  • โรคเนื้องอกประสาทหูเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตอยู่ภายในเส้นประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างหูและสมองซึ่งมีชื่อเรียกว่า “เส้นประสาท vestibular cochlear ” 

การติดเชื้อ

นอกจากนี้โรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังต่อไปนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) ซึ่งได้แก่ 

  • โรคหัด
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคคางทูม
  • โรคไข้อีดำอีแดง 

ยาที่เป็นพิษต่อหู

ยาบางชนิดอาจเป็นยาที่เป็นพิษต่อหูและสามารถทำให้เกิดโรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) ซึ่งมีข้อมูลจาก ASHA พบว่ายาที่มีวางขายตามร้านขายยามากกว่า 200 ชนิดและยาที่แพทย์สั่งให้คนไข้อาจทำให้เกิดอาการหูดับได้ ถ้าหากคุณกำลังใช้ยาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจหรือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อร้ายเเรง ควรปรึกษาเเพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดอาการหูดับจากการใช้ยาแต่ละประเภท   

การสูญเสียการได้ยินแบบผสมผสานกัน

การสูญเสียการได้ยินแบบผสมผสานสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องและโรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลันเกิดขึ้นพร้อมกัน 

อาการหูดับมีอะไรบ้าง

โดยปกติอาการหูดับสามารถเกิดขึ้นเรื้อรังได้ ซึ่งตอนเเรกคุณอาจไม่ได้สังเกตุว่าการได้ยินของคุณเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามถ้าคุณเคยมีประสบการณ์หรือเคยมีอาการดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณควรไปพบเเพทย์ทันที 

  • อาการหูดับที่รบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน
  • เป็นโรคหูดับที่รุนเเรงขึ้นเเละอาการที่เกิดขึ้นไม่หายไป
  • หูไม่ได้ยินข้างเดียวอย่างรุนเเรง
  • หูดับเฉียบพลัน
  • ได้ยินเสียงกริ้งในหู
  • เกิดอาการหูดับรุนเเรง
  • เกิดอาการปวดหูร่วมกับการสูญเสียการได้ยิน
  • ปวดหัว
  • มีอาการชา
  • อ่อนล้าหมดเเรง

คุณควรเข้ารับการรักษาจากเเพทย์ทันที ถ้าหากคุณมีเคยมีอาการปวดหัว อาการหูชาหรืออาการอ่อนล้าร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

  • หนาวสั่น
  • หายใจเร็ว
  • ปวดคอ
  • อาเจียน
  • อ่อนไหวต่อแสง
  • เกิดภาวะจิตใจสับสนเฉียบพลัน 

อาการดังกล่าวเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งแต่ละอาการที่เกิดเป็นอันตรายต่อชีวิตและจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากเเพทย์โดยด่วน อย่างเช่นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  

วิธีรักษาโรคหูดับทำอย่างไรบ้าง 

ถ้าหากคุณมีอาการหูดับเนื่องจากมีขี้หูเกิดขึ้นในช่องหู คุณสามารถนำขี้หูออกด้วยตัวเองได้ที่บ้าน นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อยาใช้เองได้อย่างเช่นยาละลายขี้หูที่สามารถนำขี้หูออกมาได้และการใช้สายยางฉีดน้ำอุ่นเข้าไปในหูเพื่อทำให้ขี้หูไหลออกมา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนพยายามสิ่งที่อุดตันอยู่ในหูออกด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจเป็นการทำให้หูเสียหายโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ 

สำหรับอาการหูดับในกรณีอื่นๆ คุณจำเป็นต้องไปพบแพทย์ ถ้าหากคุณมีอาการหูดับที่มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ แพทย์จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาและถ้าหากการไม่ได้ยินเสียงเกิดขึ้นจากการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง แพทย์จะเเนะนำให้คุณไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับเครื่องช่วยฟังอย่างเช่นประสารหูเทียม

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการหูดับมีอะไรบ้าง 

อาการหูดับส่งผลลบในการใช้ชีวิตของผู้คนและทำให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจ ถ้าหากคุณมีอาการหูดับเกิดขึ้น ภาวะนี้สามารถทำให้คุณไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นต้องการสื่อได้อย่างชัดเจนและทำให้เกิดการเข้าใจผิด และสามารถเพิ่มความกังวลที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้นการรักษาอาการหูดับสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นได้รวมถึงการสร้างเสริมสร้างความมั่นใจและช่วยปรับปรุงทำให้คุณสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ดีขึ้นอีกด้วย 

เราสามารถป้องกันอาการหูดับได้อย่างไรบ้าง 

อาการหูดับทุกประเภทไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตามมีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันอาการหูดับซึ่งได้แก่วิธีดังต่อไปนี้  

  • ทดสอบการได้ยินเป็นประจำ ถ้าหากคุณทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง ว่ายน้ำบ่อยหรือไปคอนเสิร์ตเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเสียงดังหรือการฟังเพลงเสียงดัง
  • ควรไปพบเเพทย์หากเกิดการติดเชื้อภายในช่องหู เนื่องจากถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาสามารถส่งผลทำให้หูเกิดความเสียหายได้ 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/ncbddd/hearingloss/screening.html
  • https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/deafness-and-hearing-loss
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hearing-loss/symptoms-causes/syc-20373072
  • https://www.healthyhearing.com/help/hearing-loss

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคไอกรน

โรคไอกรน (Pertussis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.