• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค
0
Head Injury
0
SHARES
26
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการบาดเจ็บที่ศีรษะหมายถึงอะไร
  • ประเภทของอาการบาดเจ็บที่ศีรษะมีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง
  • สาเหตุหลักของอาการบาดเจ็บที่ศีรษะมีอะไรบ้าง
  • ลักษณะของอาการบาดเจ็บที่ศีรษะมีอะไรบ้าง
  • อาการบาดเจ็บที่ศีรษะควรได้รับการรักษาเมื่อไหร่
  • วิธีการวิจฉัยอาการบาดเจ็บที่ศีรษะทำอย่างไร
  • วิธีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะควรได้รับการรักษาด้วยวิธีใดบ้าง
  • สิ่งที่ควรคาดหวังในระยะยาวคืออะไร
4.8 / 5 ( 21 votes )

อาการบาดเจ็บที่ศีรษะหมายถึงอะไร

อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury) คืออาการเจ็บปวดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นกับสมองและกะโหลกหรือหนังศีรษะ โดยอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่การกระทบกระเทือนระดับปานกลางหรือเกิดรอยฟกช้ำไปจนถึงอาการสมองบาดเจ็บอย่างรุนเเรง สำหรับอาการบาดเจ็บที่ศีรษะทั่วไปได้แก่อาการหัวกระแทกพื้นหรือหัวฟาดพื้นและกะโหลกแตกรวมถึงมีบาดแผลที่หนังศีรษะ ผลที่ตามมาและการรักษาอาการบาดเจ็บที่หนังศีรษะมีหลายอย่างขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่หนังศีรษะและความรุนเเรงของอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น 

การบาดเจ็บที่ศีรษะอาจมีบาดแผลเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเปิดและแบบปิด สำหรับอาการบาดเจ็บที่หนังศีรษะแบบปิดหมายถึงอาการบาดเจ็บใดๆก็ตามที่ไม่ทำให้กะโหลกแตกแต่อาการบาดเจ็บที่ศีรษะแบบเปิดหรือมีการแทรกซึมหมายถึงการที่มีบางสิ่งบางอย่างทำให้หนังศีรษะเกิดบาดแผลและทำให้กะโหลกแตกส่งผลทำให้สิ่งแปลกปลอมสามารถแทรกซึมเข้าสู่สมองได้ 

เป็นเรื่องยากที่ผู้ป่วยจะสามารถประเมินระดับความรุนเเรงของอาการบาดเจ็บที่หนังศีรษะด้วยการมองด้วยตาเปล่า บางครั้งแผลขนาดเล็กอาจทำให้มีเลือดออกมากได้แต่ในขณะที่เกิดแผลขนาดใหญ่แต่กลับไม่มีเลือดไหลออกมาเลย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติเมื่อมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนเเรงเกิดขึ้นคือควรไปพบเเพทย์เพื่อประเมินอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น

Head Injury

ประเภทของอาการบาดเจ็บที่ศีรษะมีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง 

โดยทั่วไปอาการบาดเจ็บที่หนังศีรษะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดอาการบาดเจ็บ ซึ่งได้แก่อาการบาดเจ็บที่ศีรษะเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้หรืออาการบาดเจ็บที่เกิดจากการได้รับเเรงกระทบกระเทือน 

อาการบาดเจ็บที่หนังศีรษะที่เกิดเนื่องจากแรงกระทบกระเทือนโดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับทารกหรือเด็กเล็ก แต่อย่างไรก็ตามอาการบาดเจ็บสามารถเกิดขึ้นกับผู้ใดก็ตามที่ได้รับแรงกระทบกระเทือนที่ศีรษะอย่างรุนเเรง 

อาการบาดเจ็บที่ศีรษะสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • อุบัติเหตุทางรถจักรยานยนตร์
  • ตกจากที่สูง
  • การถูกทำร้ายร่างกาย
  • อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา

โดยปกติกะโหลกทำหน้าที่ปกป้องสมองจากภัยอันตราย แต่อย่างไรก็ตามอาการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนเเรงอาจมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังได้ 

สาเหตุหลักของอาการบาดเจ็บที่ศีรษะมีอะไรบ้าง

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเยื่อหุ้มสมอง (Hematoma)

ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองหมายถึงอาการเลือดคั่งหรือมีลิ่มเลือดไหลออกนอกเส้นเลือด ซึ่งอาการเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองเป็นอาการที่อันตรายมาก เนื่องจากลิ่มเลือดที่อุดตันในสมองสามารถทำให้เกิดความดันมากขึ้นในกะโหลกเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียสติสัมปปัญชัญญะหรือเนื้อเยื่อสมองถูกทำลายถาวร

ภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhage)

ภาวะเลือดออกในสมองเป็นอาการเลือดออกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ภาวะมีเลือดออกรอบเยื่อหุ้มสมองที่เรียกว่า subarachnoid hemorrhage หรือภาวะมีเลือดออกในเนื้อเยื่อสมองที่เรียกว่า intracerebral hemorrhage 

ภาวะเลือดออกที่เยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) มักทำให้เกิดอาการปวดหัวเเละอาเจียนและสำหรับภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อสมอง (intracerebral hemorrhage) ความรุนเเรงของอาการนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ไหลออกมาและเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณเลือดที่ไหลออกมาและไม่สามารถควบคุมได้เหล่านี้เป้นสาเหตุทำให้เกิดความดันในเนื้อเยื่อสมองได้ 

การถูกแรงกระทบกระเทือน

แรงกระทบกระเทือนเกิดขึ้นเมื่อมีแรงกระแทกมากระทบกับศีรษะอย่างรุนเเรงจนทำให้สมองได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ที่หัวกระแทกกับพื้นแข็งหรือเกิดแรงที่เข้ามากระทบที่ศีรษะเฉียบพลัน โดยทั่วไปเมื่อเกิดสมองได้รับเเรงกระทบกระเทือนมักทำให้สูญเสียความสามารถในการพูดและหมดสติชั่วคราว อย่างไรก็ตามหากได้รับแรงกระเเทกที่สมองซ้ำอีกครั้งสามารถทำให้สมองเสียหายถาวรได้ 

สมองบวม

อาการบาดเจ็บที่สมองใดๆก็ตามสามารถก่อให้เกิดภาวะสมองบวมได้ ซึ่งอาการบาดเจ็บส่วนใหญ่มักทำให้บริเวณรอบๆเนื้อเยื่อบวมขึ้น แต่อาการบวมที่เกิดขึ้นมักมีเป็นอันตรายเมื่อเกิดขึ้นกับสมอง เนื่องจากกะโหลกศีรษะไม่สามารถขยายตัวออกให้มีขนาดพอดีกับเนื้อสมองที่บวมขึ้นได้ จึงเป็นสาเหตุทำให้มีความดันเพิ่มขึ้นในสมองและเกิดแรงกดทับกับกะโหลกศีรษะ 

กะโหลกศีรษะแตก 

กะโหลกศีรษะแตกต่างจากกระดูกส่วนอื่นๆของร่างกายเนื่องจากกะโหลกศีรษะไม่ไขกระดูก จึงทำให้กระโหลกศีรษะมีความแข็งแรงมากและแตกได้ยาก สาเหตุที่ทำให้กะโหลกแตกเกิดจากการที่มีแรงเข้ามากระทบกระเทือนกับศีรษะ ซึ่งเป็นแรงที่กะโหลกไม่สามารถต้านทานได้จึงก่อให้เกิดความเสียหายกับสมอง เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะแตกได้ที่นี่

ภาวะสมองกระทบกระเทือนรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยหมดสติ

ภาวะสมองถูกแรงกระทบอย่างรุนเเรงเป็นอาการบาดเจ็บที่ไม่ทำให้มีเลือดไหลออกมาแต่ทำให้เกิดความเสียหายกับเซลล์สมอง ซึ่งความเสียหายเกิดขึ้นกับเซลล์สมองเนื่องจากสมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและยังส่งผลทำให้สมองบวมหรือเกิดความเสียหายรุนเเรงได้ แม้ว่าไม่สามารถมองเห็นอาการบาดเจ็บได้จากภายนอกเหมือนกับอาการบาดเจ็บที่สมองประเภทอื่นๆ แต่ภาวะสมองถูกแรงกระทบอย่างรุนเเรงและทำให้ผู้ป่วยหมดสติเป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่ศีรษะชนิดที่รุนเเรงมากที่สุดและส่งผลให้สมองถูกทำลายอย่างถาวรหรือเสียชีวิตได้ 

ลักษณะของอาการบาดเจ็บที่ศีรษะมีอะไรบ้าง  

ศีรษะเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดจำนวนมากกว่าส่วนอื่นๆของร่างกาย ดังนั้นจึงสามารถมีเลือดออกที่เนื้อเยื่อสมองได้ เมื่อสมองเกิดความเสียหายเนื่องจากเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนเเรง แต่อย่างไรก็ตามการบาดเจ็บที่ศีรษะทุกประเภทไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้มีเลือดออก 

สิ่งที่สำคัญคือควรตระหนักถึงอาการอื่นๆที่สามารเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาการบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนเเรงไม่สามารถหายเองได้ ดังนั้นคุณควรใช้เวลาสังเกตุอาการบาดเจ็บที่เกิดเป็นเวลาหลายวัน หลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ 

อาการทั่วไปที่เกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะแบบไม่รุนเเรง

  •  อาการปวดหัว
  • วิงเวียนศีรษะ
  • รู้สึกเวียนหัวแบบบ้านหมุน
  • รู้สึกสับสนเล็กน้อย
  • มีอาการคลื่นไส้
  • ได้ยินเสียงสั่นกระดิ่งในหูอย่างฉับพลัน

อาการที่เกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนเเรง รวมถึงอาการของการบาดเจ็บที่ศีรษะแบบไม่รุนเเรง ได้แก่

  • สูญเสียสติสัมปัชัญญะ
  • เกิดภาวะลมชัก
  • อาเจียน
  • สูญเสียการทรงตัวของร่างกาย
  • สติเลอะเลือนอย่างรุนเเรง
  • ไม่สามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน
  • การเคลื่อนไหวของตาผิดปกติ
  • ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ 
  • เกิดอาการปวดหัวเป็นประจำหรือปวดหัวอย่างรุนเเรงมากขึ้น
  • สูญเสียความทรงจำ
  • อารมณ์แปรปรวน
  • มีของเหลวไหลออกจากจมูกหรือหู

อาการบาดเจ็บที่ศีรษะควรได้รับการรักษาเมื่อไหร่ 

ไม่ควรมองข้ามอาการบาดเจ็บศีรษะที่เกิดขึ้น ควรไปพบเเพทย์เมื่อคุณสังเกตุพบว่ามีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นกับศีรษะอย่างรุนเเรง 

คุณควรไปพบเเพทย์ ถ้าหากคุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • สูญเสียสติสัมปปัญชัญญะ
  • เกิดความรู้สึกสับสน
  • สติเลอะเลือน

คุณสามารถโทรหาเบอร์ฉุกเฉิน 1669 เพื่อเรียกใช้บริการแพทย์ฉุกเฉินหรือเข้ารับการรักษาจากแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินได้ แม้ว่าคุณไม่ได้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ที่ห้องฉุกเฉิน คุณยังจำเป็นต้องไปพบเเพทย์ถ้าหากคุณยังมีอาการเจ็บปวดหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ 1-2 วัน 

ในกรณีที่เกิดอาการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนเเรง ควรโทรหาเบอร์แพทย์ฉุกเฉิน 1669 เพื่อขอควรช่วยเหลือ ทั้งนี้การเคลื่อนไหวผู้ป่วยเองอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการบาดเจ็บมากขึ้นได้ หน่วยแพทย์ฉุกเฉินเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนและทราบวิธีเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและระมัดระวังดังนั้นจึงไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายมากขึ้น

วิธีการวิจฉัยอาการบาดเจ็บที่ศีรษะทำอย่างไร 

หนึ่งในวิธีการที่แพทย์ใช้ประเมินอาการบาดเจ็บที่ศีรษะคือวิธี Glasgow coma scale (GCS) โดยใช้คะแนน GCS 15 คะแนนเพื่อประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัว ซึ่งคะแนน GCS ที่น้อยที่สุดบ่งบอกถึงอาการบาดเจ็บที่มีความรุนเเรงน้อยที่สุด 

แพทย์จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ เพื่อทดสอบว่าคุณยังสามารถจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้และคุณไม่หลงลืมเกี่ยวกับรายละเอียดของอุบัติเหตุ ถ้าหากเป็นไปได้คุณควรพาผู้ที่สามารถเป็นพยานในอุบัติเหตุให้คุณได้ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญที่แพทย์ควรระบุให้ได้ว่าคุณมีอาการสูญเสียความทรงจำหรือไม่และคุณมีอาการสูญเสียความทรงจำเกิดขึ้นเป็นเวลานานเท่าไหร่ 

นอกจากนี้แพทย์ยังต้องตรวจสอบลักษณะของบาดแผลที่เกิดขึ้นว่ามีอาการฟกช้ำหรือบวมขึ้นหรือไม่ รวมถึงมีการตรวจสอบเกี่ยวกับระบบประสาทอีกด้วย ในระหว่างการตรวจร่างกายแพทย์จะทำการตรวจการทำงานของระบบประสาทด้วยการประเมินความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของตาและความสามารถในการรับรู้สิ่งต่างๆ

สำหรับการตรวจสอบด้วยรูปภาพที่ใช้สำหรับตรวจอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับศีรษะแพทย์ใช้การ CT scan เพื่อช่วยทำให้สามารถมองเห็นรอยแตกของกะโหลก หลักฐานของการมีเลือดออกและลิ่มเลือดอุดตันรวมถึงภาวะสมองบวมและความเสียหายทางโครงสร้างอื่นๆ การทำ CT scan เป็นวิธีตรวจที่รวดเร็วและถูกต้อง ดังนั้นจึงเป็นขั้นตอนแรกที่นำมาใช้ตรวจสอบภาพของศีรษะของคุณ นอกจากนี้คุณอาจได้รับการตรวจด้วยวิธี MRI scan ที่ทำให้สามารถเห็นภาพรายละเอียดของสมองได้มากขึ้น โดยปกติการทำ MRI scan แพทย์จะสั่งให้ตรวจเมื่อคุณมีอาการปกติเท่านั้น 

วิธีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะควรได้รับการรักษาด้วยวิธีใดบ้าง

การรักษาอาการบาดเจ็บที่ศีรษะขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนเเรงของอาการบาดเจ็บ

สำหรับอาการบาดเจ็บของศีรษะที่ไม่รุนเเรงมักไม่มีอาการอื่นๆนอกจากอาการปวดรอบๆบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ สำหรับในกรณีคุณสามารถทานยาเเก้ปวด acetaminophen (Tylenol) เพื่อบรรเทาอาการปวดได้ 

คุณไม่ควรทานยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่นยาไอบลูโพเฟน(Advil) หรือ ยาแอสไพริน (Bayer) เพราะทำให้เกิดเลือดออกอย่างรุนเเรงมากขึ้น ถ้าหากคุณมีแผลเปิด แพทย์จะใช้วิธีการเย็บแผลเพื่อปิดแผลและปิดแผลด้วยผ้าพันแผล

แม้ว่าเกิดอาการบาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนเเรง คุณควรสังเกตุดูอาการที่เกิดขึ้นต่อไปเพื่อให้มั่นใจว่าอาการบาดเจ็บไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยทรุดลง นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ผิดซึ่งไม่เป็นเรื่องจริงที่ว่าคุณไม่ควรนอนหลับหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ แต่คุณควรตื่นขึ้นมาทุกๆ 2 ชั่วโมงเพื่อตรวจสอบอาการอื่นเกิดขึ้นใหม่ที่เกิดขึ้นและควรไปพบเเพทย์ถ้าหากมีอาการอื่นหรือมีอาการเจ็บปวดที่รุนเเรงมากขึ้น 

คุณสามารถนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ ถ้าหากคุณมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนเเรง โดยการรักษาที่คุณได้รับขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยอาการของโรคที่เกิดขึ้นกับคุณ 

การรักษาอาการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนเเรงมีดังต่อไปนี้ 

การใช้ยารักษา

ถ้าหากคุณได้รับบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนเเรง คุณอาจได้รับยาต้านอาการชัก เมื่อคุณมีความเสี่ยงเกิดภาวะชักภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ 

คุณอาจได้รับยาขับปัสสาวะ ถ้าหากอาการบาดเจ็บทำให้เกิดความดันขึ้นภายในสมอง เนื่องจากยาขับปัสสาวะจะช่วยขับของเหลวออกจากร่างกายมากขึ้น จึงสามารถช่วยบรรเทาความดันบางส่วนได้

ถ้าหากคุณได้รับบาดเจ็บอย่างรุนเเรง คุณจะได้รับการรักษาในห้องรักษาผู้ป่วยอาการโคม่าด้วยการรักษาที่เหมาะสม ถ้าหากหลอดเลือดของคุณได้รับความเสียหาย เมื่อคุณอยู่ในอาการโคม่า สมองของคุณจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนปริมาณมากและได้รับสารอาหารตามปกติ

การผ่าตัด

ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมองในอนาคต โดยแพทย์มีเป้าหมายในการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการดังต่อไปนี้ 

  • เพื่อนำลิ่มเลือดอุดตันออกจากเยื่อหุ้มสมอง
  • ซ่อมแซมกะโหลกศีรษะ
  • ลดแรงดันที่เกิดขึ้นภายในกะโหลกศีรษะ 

การบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ

ถ้าหากคุณได้รับบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนเเรง โดยส่วนใหญ่คุณจำเป็นต้องได้รับการบำบัดเพื่อฟื้นฟูการทำงานของสมอง ซึ่งประเภทของการรักษาเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพขึ้นอยู่กับการทำงานของสมองที่สูญเสียไปเนื่องจากอาการบาดเจ็บ สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองจำเป็นต้องได้รับการบำบัดเพื่อช่วยฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและการพูด

สิ่งที่ควรคาดหวังในระยะยาวคืออะไร 

ผลลัพธ์จากการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของอาการบาดเจ็บ คนส่วนใหญ่ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนเเรงอาจไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้น แต่สำหรับคนที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนเเรงอาจต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างถาวรกับบุคลิกภาพและสมรรถภาพทางร่างกายรวมถึงความสามารถในการใช้ความคิดของพวกเขา

อาการบาดเจ็บที่ศีรษะในวัยเด็กเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากโดยทั่วไปพัฒนาการสมองส่วนที่เกี่ยวข้องทางด้านความคิดบกพร่องเกิดจากอาการบาดเจ็บต่างๆ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง 

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยเหลือและทำงานร่วมกับคุณ เพื่อทำให้มั่นใจว่าคุณได้หายจากอาการบาดเจ็บได้มากที่สุด 


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/head-injury
  • https://www.nhs.uk/conditions/severe-head-injury/
  • https://www.columbianeurology.org/neurology/staywell/head-injury
  • https://www.webmd.com/fitness-exercise/guide/head-injuries-causes-and-treatments

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ความเจ็บปวด
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
อาการไคลน์เฟลเตอร์

อาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.