ไข้ละอองฟาง (Hay Fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ไข้ละอองฟาง

ไข้ละอองฟางคืออะไร

โรคไข้ละอองฟาง (Hay fever) หรือที่เราเรียกว่าโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคไข้ละอองฟางสามารถเกิดขึ้นตามฤดูกาล ตลอดทั้งปี หรือเกิดจากงานประจำวัน จมูกอักเสบเกี่ยวโยงมาจากอาการระคายเคือง หรือการอักเสบในจมูก

สาเหตุของโรคไข้ละอองฟางเกิดจากอะไร

โดยปกติโรคไข้ละอองฟางมักเกิดขึ้นทันทีที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัย หรือนอกที่อยู่อาศัย ทั้งตามฤดูหรืออาจเป็นตลอดทั้งปี

สารก่อภูมิแพ้ที่พบเห็นได้ทั่วไปคือ:

  • ละอองเกสรดอกไม้

  • เชื้อรา

  • ขนสัตว์

  • ไรฝุ่น

  • ควันบุหรี่

  • น้ำหอม

สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน  เพื่อตอบสนองต่อสิ่งนี้ ระบบภูมิต้านทานของเราจะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันสารดังกล่าว สารแอนติบอดี้จะส่งสัญญานผ่านเส้นเลือด  ร่างกายจะสร้างสารฮิสตามีนขึ้นมาจึงเกิดอาการของโรคไข้ละอองฟางในที่สุด

ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม

โอกาสการเกิดภาวะภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น หากมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคภูมิแพ้ จากการศึกษาพบว่า หากพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคไข้ละอองฟางก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ส่วนโรคหอบหืด และโรคผิวหนังอักเสบไม่ได้มาจากโรคภูมิแพ้ จึงไม่ใช้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้ละอองฟาง

อาการทั่วไปที่พบได้คือ:

ไข้ละอองฟางอาจเป็นอยู่อย่างเรื้อรังหากไม่ได้รับการรักษา

อาการโรคไข้ละอองฟางแตกต่างจากไข้หวัดอย่างไร

ถึงแม้ว่าอาการของโรคไข้ละอองฟางและไข้หวัดจะมีความคล้ายกันมากก็ตาม แต่มีจุดที่แตกต่างใหญ่ๆ คือ ไข้หวัดจะทำให้เป็นไข้ และปวดตามตัว การรักษาของทั้ง 2 โรคก็แตกต่างกันมาก.

ข้อแตกต่าง

ไข้ละอองฟาง

ไข้หวัด

เวลา

โรคไข้ละอองฟางจะเกิดขึ้นในทันทีหลังเจอสารก่อภูมิแพ้

ไข้หวัดจะเริ่มภายใน 1-3 วันหลังจากติดเชื้อไวรัส

ระยยะเวลา

โรคไข้ละอองฟางจะยังมีอาการอยู่หากยังต้องสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ปกติแล้วมักมีอาการนานหลายอาทิตย์

ไข้หวัดตามปกติมักมีอาการอยู่ราว 3-7 วัน

อาการ

โรคไข้ละอองฟางทำให้มีน้ำมูกไหลใสๆ

ไข้หวัดทำให้มีน้ำมูกไหลข้นและอาจเป็นสีเหลือง

ไข้สูง

ไข้ละอองฟางจะไม่มีไข้

ไข้หวัด จะมีไข้ต่ำๆ

 

ภาวะโรคอื่นๆ ที่คล้ายกับไข้ละอองฟาง

โรคอื่นๆอาจมีอาการคล้ายกับโรคไข้ละอองฟางได้เช่น

  • จามบ่อย

  • จมูกอักเสบติดเชื้อ รวมถึงการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน

  • จมูกอักเสบมีการระคายเคือง เป็นปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงทางกาย หรือสารเคมี

  • ไซนัสอักเสบ

อาการโรคไข้ละอองฟางในเด็กทารก และเด็กเล็ก

โรคไข้ละอองฟางเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กมากที่สุด และจะค่อยๆดีขึ้นก่อนอายุ 3 ขวบ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การดูแลอาการภูมิแพ้ โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด และเด็กเล็ก เพราะโรคไข้ละอองฟางที่มีอาการรุนแรงอาจนำไปสู่ปัญหาโรคอื่นๆ ในระยะยาวได้ อย่างเช่น หอบหืด ไซนัสอักเสบ หรือการติดเชื้อในช่องหูเรื้อรัง จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่ายีนอาจเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าโรคหอบหืดของเด็กอาจจะพัฒนาควบคู่ไปกับโรคไข้ละอองฟาง

เด็กเล็กอาจต้องประสบปัญหายุ่งยากมากในการจัดการกับอาการโรคไข้ละอองฟางมากกว่าวัยอื่น เพราะส่งผลต่อสมาธิ และการนอน บางครั้งอาการที่เป็นอาจทำให้สับสนกับโรคไข้หวัดได้ โรคไข้ละอองฟางนี้เด็กจะไม่มีไข้เหมือนโรคไข้หวัด แต่อาการจะยังคงอยู่ไปประมาณ 2-3 อาทิตย์

อาการระยะยาวของโรคไข้ละอองฟางคืออะไร

อาการของโรคไข้ละอองฟางบ่อยครั้งมักเกิดขึ้นแบบฉับพลันหลังจากเจอกับสารก่อภูมิแพ้ และอาจมีอาการอยู่สองถึงสามวัน เช่น:

ยิ่งอาการมีอยู่นานมากเท่าไรยิ่งส่งผลต่อเรื่องอื่นๆ ในทางที่แย่ลงได้มากขึ้นเท่านั้น เช่น

  • คุณภาพในการนอน

  • อาการหอบหืด (Ashma)

  • อาการที่เกิดขึ้นส่งผลให้คุณภาพชีวิตไม่มีความสุขในการทำกิจกรรม หรืออาจเป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงานลดลง หรืออาจมีความจำเป็นต้องทำงานหรือเรียนที่บ้านได้เท่านั้นl

  • การติดเชื้อที่ช่องหู โดยเฉพาะในเด็ก

  • ตาแดง หรือภูมิแพ้ขึ้นตา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ และทำให้เกิดการระคายเคืองที่เนื้อเยื่อบริเวณตา

  • ไซนัสอักเสบ

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรคไข้ละอองฟางเหมือนกับโรคไข้หวัด โดยเฉพาะในรายที่เป็นโรคในระยะเวลานาน และมีอาการแย่ลง

สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการมีอะไรบ้าง

อาการของโรคมีหลายแบบขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงของเวลา ถิ่นที่อยู่อาศัย และรูปแบบการแพ้ที่ผู้ป่วยเป็น การทราบสาเหตุจะสามารถช่วยให้เราเตรียมรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้ก่อนล่วงหน้า ในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิจะส่งผลต่อผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ตามฤดูกาล แต่ก็ขึ้นอยู่กับการช่วงดอกไม้บานตามธรรมชาติของดอกไม้แต่ละชนิดในแต่ละช่วงเวลาของปี เช่น

  • ละอองเกสรของต้นหญ้า ต้นไม้ หรือดอกไม้

  • การแพ้ละอองเกสรจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงในวันที่มีอากาศร้อน แห้ง วันที่ลมพัดพาเอาละอองเกสรมา

แต่อาการของโรคไข้ละอองฟางก็อาจปรากฎให้เห็นได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน หากผู้ป่วยมีอาการแพ้สารก่อภูมิแพ้ในที่อยู่อาศัย เช่น

  • ไรฝุ่น

  • ขนสัตว์

  • แมลงสาบ

  • เชื้อรา

บางครั้งอาการไข้ละอองฟางจากสารก่อภูมิแพ้อาจปรากฏให้เห็นได้ตามฤดูกาลด้วย การแพ้พวกเชื้อราอาจจะยิ่งแย่ลงในช่วงอากาศอบอุ่น หรือช่วงอากาศชื้น

สาเหตุที่ทำให้อาการโรคไข้ละอองฟางแย่ลง

อาการของโรคไข้ละอองฟางจะยิ่งแย่ลงหากมีการกระตุ้นจากสิ่งอื่นๆ ด้วย เพราะโรคไข้ละอองฟางเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุจมูก และทำให้จมูกยิ่งไวต่อการกระตุ้นในอากาศมากขึ้น

สิ่งกระตุ้นเช่น

  • ควันจากการเผา

  • มลภาวะทางอากาศ

  • ควันบุหรี่

  • ลม

  • ยาฆ่าแมลง

  • กลิ่นฉุน

  • อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง

  • ความชื้นเปลี่ยนแปลง

  • กลิ่นน้ำหอมฉุนๆ

ไข้ละอองฟางควรไปพบแพทย์เมื่อไร

อาการของโรคไข้ละอองฟางไม่ใช่อาการที่เป็นอันตรายแบบเฉียบพลัน การทดสอบภูมิแพ้ไม่ได้วินิจฉัยโรคไข้ละอองฟาง ควรปรึกษาแพทย์หากพบว่า อาการไม่ดีขึ้นหลังจากได้รับยาที่คุณสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อทดสอบภูมิแพ้ในการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้

ควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

  • ยาสามัญที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปไม่สามารถบรรเทาอาการได้

  • มีโรคอื่นร่วม เช่น โรคหอบหืดอาจทำให้อาการของโรคไข้ละอองฟางยิ่งแย่ลง

  • โรคไข้ละอองฟางที่เกิดอาการตลอดทั้งปี

  • มีอาการที่รุนแรง

  • การรับประทานยาแก้แพ้แล้วเกิดผลข้างเคียง

วิธีการดูแลและจัดการกับอาการ

ด้วยการดูแลตัวเองที่บ้าน และการวางแผนที่เหมาะสมสามารถช่วยลดอาการได้ ทั้งยังสามารถลดโอกาสการเกิดอาการที่มาจากการสัมผัสฝุ่น และเชื้อราได้โดยการทำความสะอาด และระบายอากาศในห้อง สำหรับสภาวะแวดล้อมนอกที่พักอาศัยสามารถดาวน์โหลดแอป เพื่อดูความแรงของลมซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัดพาละอองเกสรได้

การเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันที่ช่วยลดโอกาสเป็นไข้ละอองฟาง เช่น

  • ปิดหน้าต่างให้สนิทอยู่เสมอ เพื่อป้องกันละอองเกสรเข้ามา

  • สวมแว่นตาไว้ เพื่อป้องกันดวงตาเวลาออกไปข้างนอก

  • ใช้เครื่องดูดความชื้น เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา

  • ล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสสัตว์

  • บรรเทาอาการคัดจมูกโดยใช้กาเนติ

  • ใช้สเปรย์พ่นน้ำเกลือ เพื่อลดเสมหะในคอ บรรเทาอาการเจ็บคอ

ทางเลือกในการรักษาสำหรับเด็ก เช่น

  • ใช้ยาหยอดตา

  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

  • ยาต้านฮีสตามีนชนิดไม่ง่วง

  • ฉีดยาแก้แพ้ ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้กับเด็กที่อายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป

ทางเลือกในการรักษาอื่นๆที่อาจไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าได้ผลมากนัก แต่ก็อาจช่วยได้บ้าง คือ การเลือกรับประทานอาหารบางชนิด เช่น

  • สารสกัด butterbur

  • สาหร่ายสไปรูลิน่า

  • พริกชี้ฟ้า

  • วิตามินซี

  • น้ำมันปลา

แม้แต่น้ำผึ้งเองก็ยังสามารถช่วยลดอาการภูมิแพ้ตามฤดูกาลได้ แต่ในผู้ที่แพ้ผึ้งควรหลีกเลี่ยง แต่หากไม่แพ้การรับประทานน้ำผึ้งจะสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือคันคอได้

การรักษาด้วยยา

มียาต้านฮีสตามีนชนิดไม่ง่วงหลายชนิดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ที่สามารถนำมาใช้ป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้ก่อนที่จะต้องไปสัมผัสกับละอองเกสรที่แพ้ล่วงหน้า ควรปรึกษาเภสัชกร เพื่อหาชนิดของยาที่เหมาะสม และดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยด้วยยาที่แพทย์สั่ง รวมไปถึงการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด หรือการฉีดยาแก้แพ้

ภาวะแทรกซ้อนของไข้ละอองฟาง

ไข้ละอองฟางหรือที่เรียกว่าโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อละอองเกสรดอกไม้หรือสารก่อภูมิแพ้ในอากาศอื่นๆ แม้ว่าไข้ละอองฟางจะไม่รุนแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถนำไปสู่โรคแทรกซ้อนหรือทำให้ปัญหาสุขภาพอื่นๆ รุนแรงขึ้นได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและข้อควรพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับไข้ละอองฟาง ได้แก่:
  • โรคหอบหืด : คนที่เป็นไข้ละอองฟางมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคหอบหืดหรือทำให้อาการหอบหืดแย่ลง ซึ่งเป็นภาวะระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง การอักเสบและการระคายเคืองในทางเดินหายใจที่เกิดจากไข้ละอองฟางสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคหอบหืดในบุคคลที่อ่อนแอได้
  • ไซนัสอักเสบ : ไซนัสอักเสบเรื้อรังอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของไข้ละอองฟาง อาการคัดจมูกและอักเสบอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการอุดตันในช่องไซนัส เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไซนัส
  • การติดเชื้อที่หู : เด็กที่เป็นไข้ละอองฟางอาจมีความไวต่อการติดเชื้อที่หูมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขามีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่ไม่ได้รับการจัดการที่ดี การสะสมของของเหลวในหูชั้นกลางเนื่องจากการคัดจมูกสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการติดเชื้อได้
  • ปัญหาการนอนหลับ : อาการไข้ละอองฟาง เช่น อาการคัดจมูกและจาม อาจรบกวนการนอนหลับ นำไปสู่ความเหนื่อยล้าและคุณภาพชีวิตลดลง
  • ประสิทธิภาพการทำงานบกพร่อง : อาการของโรคไข้ละอองฟางอาจรบกวนสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงาน และผลการเรียนหรือการทำงาน
  • การหายใจทางปาก : อาการคัดจมูกเรื้อรังอาจทำให้หายใจทางปาก ซึ่งอาจส่งผลให้ปากแห้ง กลิ่นปาก และเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาทางทันตกรรม
  • อาการกำเริบของอาการอื่นๆ : อาการไข้ละอองฟางอาจทำให้อาการอื่นๆ ที่มีอยู่เดิมแย่ลง เช่น กลากหรือโรคผิวหนังภูมิแพ้ เนื่องจากมีกลไกการแพ้ร่วมกัน
  • ผลกระทบทางสังคมและอารมณ์ : ไข้ละอองฟางเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความเป็นอยู่โดยรวมของบุคคล ซึ่งนำไปสู่อาการหงุดหงิด วิตกกังวล และซึมเศร้าในบางกรณี
  • คุณภาพชีวิตที่ลดลง : อาการไข้ละอองฟางเรื้อรังสามารถลดคุณภาพชีวิตของบุคคลได้โดยการจำกัดกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงฤดูที่มีละอองเกสรดอกไม้สูงและต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือไม่ใช่ทุกคนที่เป็นไข้ละอองฟางจะประสบกับภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ และความรุนแรงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน การจัดการไข้ละอองฟางอย่างมีประสิทธิผลมักเกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เมื่อเป็นไปได้ ใช้ยาแก้แพ้ที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์หรือตามใบสั่งแพทย์ ยาแก้คัดจมูก ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางจมูก และการบำบัดด้วยภูมิคุ้มกันสำหรับสารก่อภูมิแพ้ในกรณีที่รุนแรง หากคุณสงสัยว่าคุณมีไข้ละอองฟางหรือมีอาการแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hay-fever/symptoms-causes/syc-20373039

  • https://www.nhs.uk/conditions/hay-fever/

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/160665

  • https://medlineplus.gov/hayfever.html


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด