ลิ้นอักเสบ (Glossitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ลิ้นอักเสบคืออะไร

ลิ้นอักเสบ (Glossitis) หมายถึง การอักเสบของลิ้น ภาวะดังกล่าวเป็นสาเหตุให้ลิ้นบวมใหญ่ขึ้น เปลี่ยนสี ลิ้นเป็นแผล และลักษณะของพื้นผิวเปลี่ยนไป โดกปกติลิ้นจะมีขนาดเล็ก เป็นอวัยวะที่มีกล้ามเนื้ออยู่ภายในช่องปาก ช่วยในการเคี้ยว และกลืนอาหาร อีกทั้งยังช่วยในการออกเสียง

ลิ้นอักเสบอาจทำให้ปุ่มลิ้นเล็กๆ (Papillae) ที่อยู่บนพื้นผิวของลิ้นหายไป โดยปุ่มลิ้นประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ขนาดเล็กหลายพันตัว เรียกว่า ต่อมรับรส และมีบทบาทในการรับประทานอาหารของคุณ หากลิ้นอักเสบรุนแรงเป็นเหตุให้บวมและแดง ทำให้เจ็บและอาจเปลี่ยนวิธีการกินหรือการพูดของคุณไป

ประเภทของลิ้นอักเสบ

ลิ้นอักเสบมีหลายประเภทได้แก่

ลิ้นอักเสบเฉียบพลัน (Acute glossitis)

ลิ้นอักเสบเฉียบพลัน (Acute glossitis) เป็นการอักเสบของลิ้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมักมีอาการรุนแรง ลิ้นอักเสบชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่างที่มีอาการแพ้

ลิ้นอักเสบเรื้อรัง (Chronic glossitis)

ลิ้นอักเสบเรื้อรัง (Chronic glossitis) เป็นการอักเสบของลิ้นที่เป็นแล้วเป็นอีก ลิ้นอักเสบชนิดนี้อาจเริ่มจากอาการของภาวะสุขภาพอื่น

ลิ้นเลี่ยน (Atrophic glossitis)

ลิ้นเลี่ยน (Atrophic glossitis) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Hunter glossitis เกิดเมื่อปุ่มลิ้นหายไป มีผลทำให้สีและพื้นผิวของลิ้นเปลี่ยนไป ลิ้นอักเสบชนิดนี้โดยทั่วไปจะทำให้ลิ้นมีความมันวาว

สาเหตุของลิ้นอักเสบ

ปัจจัยบางประการที่อาจก่อให้เกิดการอักเสบของลิ้น ได้แก่:

ปฏิกิริยาการแพ้

ปฏิกิริยาการallergy-0094/”>แพ้ยา  อาหาร และสารระคายเคืองอื่นที่อาจทำให้ปุ่มลิ้นและกล้ามเนื้อของลิ้นเสียหาย สารระคายเคือง เช่น ยาสีฟัน และส่วนประกอบของยาที่รักษาความดันโลหิตสูง

โรคบางอย่าง

โรคบางอย่างที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายกล้ามเนื้อลิ้น และปุ่มลิ้น เริม (Herpes simplex) ซึ่งเป็นไวรัสที่เป็นเหตุให้เกิดแผลพุพองรอบปาก อาจทำให้เกิดอาการบวมและเจ็บลิ้นได้

ธาตุเหล็กต่ำ

ธาตุเหล็กในเลือดไม่เพียงพออาจทำให้เกิดลิ้นอักเสบ ธาตุเหล็กควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์โดยช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย หากระดับธาตุเหล็กในเลือดต่ำอาจส่งผลให้ระดับไมโอโกลบินต่ำ ซึ่งไมโอโกลบินเป็นโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของกล้ามเนื้อรวมไปถึงกล้ามเนื้อของลิ้น

การบาดเจ็บที่ปาก

การได้รับบาดเจ็บที่ปากส่งผลต่อสภาพลิ้น การอักเสบอาจเกิดขึ้นจากรอยตัด และรอยไหม้ที่ลิ้นหรืออุปกรณ์ทันตกรรม เช่น เหล็กดัดฟันที่วางอยู่บนฟันของคุณ

Glossitis

ปัจจัยเสียงของลิ้นอักเสบ

คุณอาจเสี่ยงเกิดลิ้นอักเสบได้หากคุณ:

  • มีแผลที่ปาก

  • รับประทานอาหารรสเผ็ด

  • ใส่เหล็กดัดฟัน หรือฟันปลอมที่ทำให้ลิ้นระคายเคือง

  • เป็นเริมที่ปาก

  • ระดับธาตุเหล็กต่ำ

  • แพ้อาหาร

  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อาการของลิ้นอักเสบ

อาการของคุณอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของการอักเสบ อาการทั่วไปได้แก่:

  • เจ็บลิ้น

  • ลิ้นบวม แสบลิ้น

  • ลิ้นเปลี่ยนสี

  • ไม่สามารถพูด กิน หรือกลืนได้

  • ปุ่มลิ้นหายไปจากพื้นผิวของลิ้น

การวินิจฉัยลิ้นอักเสบ

พบทันแพทย์หรือแพทย์เพื่อประเมินสภาพของคุณ โดยแพทย์จะทำการตรวจดูช่องปากเพื่อตรวจหาการกระแทกและแผลที่ผิดปกติบนลิ้น เหงือก และเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก อาจเก็บตัวอย่างน้ำลายและเลือดส่งห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อทำการวินิจฉัย

การรักษาลิ้นอักเสบ

การรักษาลิ้นอักเสบโดยทั่วไปประกอบไปด้วยการใช้ยาร่วมกับการดูแลที่บ้าน

การใช้ยา

ยาปฏิชีวนะ และยาอื่นๆที่ช่วยขจัดการติดเชื้ออาจถูกสั่งโดยแพทย์ หากมีแบคทีเรียอยู่ในร่างกายของคุณ แพทย์อาจสั่งยาคอร์ติโตสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดรองแดง และลดปวด

การดูแลที่บ้าน

การแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันวันละหลายๆครั้ง อาจทำให้สุขภาพลิ้น, เหงือก และฟันดีขึ้น วิธีนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากลิ้นอักเสบ และป้องกันไม่ให้กลับเป็นอีก

โภชนาการของผู้ป่วยลิ้นอักเสบ

เมื่อมีอาการอักเสบของลิ้น โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพของลิ้นและป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ต่อไปนี้เป็นสารอาหารหลักและปัจจัยด้านเมื่อเกิดการอักเสบของลิ้น :
  • วิตามินบี 12: การขาดวิตามินบี 12 เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการมันอักเสบ สารอาหารนี้จำเป็นต่อการรักษาสุขภาพเส้นประสาทและเซลล์เม็ดเลือดแดง แหล่งที่มาของวิตามินบี 12 ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลา ผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริม หากคุณมีภาวะขาดวิตามินบี 12  
  • ธาตุเหล็ก: โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กสามารถนำไปสู่โรคผิวหนังอักเสบได้ ธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อการขนส่งออกซิเจนในร่างกาย แหล่งธาตุเหล็กที่ดี ได้แก่ เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา ถั่ว ถั่วเลนทิล และซีเรียลเสริมอาหารเสริม
  • โฟเลต (วิตามินบี 9): โฟเลตเป็นวิตามินบีอีกชนิดหนึ่งที่มีบทบาทต่อสุขภาพลิ้น คุณสามารถพบโฟเลตได้ในอาหาร เช่น ผักใบเขียว พืชตระกูลถั่ว ผลไม้รสเปรี้ยว และซีเรียลเสริมอาหาร
  • ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2): การขาดไรโบฟลาวินอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบได้ พบได้ในผลิตภัณฑ์นม เนื้อไม่ติดมัน ไข่ และผักใบเขียว
  • ไนอาซิน (วิตามินบี 3): การขาดไนอาซินสามารถทำให้เกิดการอักเสบได้เช่นกัน แหล่งไนอาซินที่ดี ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลา สัตว์ปีก ธัญพืชไม่ขัดสี และถั่วเปลือกแข็ง
  • สังกะสี: สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทในการรักษาสุขภาพของลิ้นและเยื่อเมือกอื่นๆ คุณสามารถได้รับสังกะสีจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี
  • การให้น้ำที่เหมาะสม: การขาดน้ำอาจทำให้เกิดอาการมันอักเสบได้ ดังนั้นการดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดทั้งวันจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ภาพรวมลิ้นอักเสบระยะยาว

ส่วนใหญ่ลิ้นอักเสบจะหายไปตามเวลาหรือการรักษา การรักษาจะประสบความสำเร็จมากขึ้น หากคุณหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุให้ลิ้นอักเสบ การทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้องจะช่วยละหรือป้องกันปัญหาได้ พูดคุยกับแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น

และหากมีอาการลิ้นบวมรุนแรงจนปิดกั้นทางเดินหายใจ ควรรีบพบแพทย์โดยฉุกเฉิน


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/ency/article/001053.htm

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/322135

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK560627/

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/geographic-tongue/symptoms-causes/syc-20354396


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด