• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst): อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค
0
0
SHARES
163
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการของโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
  • สาเหตุของโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
  • การวินิจฉัยโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
  • การรักษาโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
4.7 / 5 ( 22 votes )

โรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst) คือ โรคที่มีถุงก้อนเนื้อเยื่อที่เต็มไปด้วยของเหลว มักเกิดขึ้นบริเวณหลังข้อมือ ลักษณะของถุงน้ำเป็นเยื่อบุข้อหรือเยื่อซีสต์หุ้มเส้นติดกับเอ็น โรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมืออาจเกิดขึ้นที่ข้อเท้าได้เช่นกัน ก้อนถุงน้ำจะมีขนาดใหญ่มากกว่า 1 นิ้ว  ก้อนถุงน้ำที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะบางใสจนสามารถมองเห็นใต้ผิวหนัง แต่บางถุงอาจมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นใต้ผิวหนัง   โรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ไม่เป็นอันตราย และสามารถหายได้เอง 

อาการของโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

อาการที่พบมากที่สุดของผู้ป่วยที่เป็นโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ จะมีอาการเจ็บตรงบริเวณที่เกิดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ หากผู้ป่วยบางรายเกิดเป็นก้อนถุงน้ำที่ข้อเท้า เวลาเดินจะมีอาการปวด หรือปวดมากเวลาสวมใส่รองเท้า และไม่สามารถเดินได้อย่างคล่องตัว 

หากก้อนถุงน้ำอยู่ใกล้เส้นประสาท จะทำให้มีอาการดังนี้ 

  • ขาดความคล่องตัวในการทำงานหรือการใช้ข้อมือ เช่น การจับสิ่งของ 
  • รู้สึกชา 
  • มีอาการปวด 
  • รู้สึกเสียววูบวาบ 

ก้อนถุงน้ำสามารถใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงตามระยะเวลา 

สาเหตุของโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ   

ก้อนถุงน้ำเกิดจากการสะสมของของเหลวภายในข้อต่อ หรือบริเวณเส้นเอ็นโดยรอบ ตามตำแหน่งเหล่านี้

  • มือ
  • ข้อมือ
  • เท้า
  • ข้อเท้า

สาเหตุที่ทำให้เกิดการสะสมของเหลวจนกลายเป็นก้อนถุงน้ำบริเวณข้อต่างๆดังกล่าว ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจน   แต่อาการดังกล่าวสามารถเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ การสึกหรอของข้อ หรือการใช้งานที่มากเกินไป โรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง หรือผู้ที่ใช้ข้อมือบ่อยๆ เช่น นักยิมนาสติก 

การวินิจฉัยโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

แพทย์จะทำการตรวจสอบถุงก้อนเนื้อและตรวจร่างกาย และซักประวัติของผู้ป่วย สอบถามถึงระยะเวลาที่เริ่มมีอาการของก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ในกรณีที่ไม่สามารถมองเห็นก้อนถุงน้ำที่ข้อมือแพทย์อาจทำการ เอ็กซเรย์ หรืออัลตราซาวน์หรือ MRI และอาจตรวจเช็คเพิ่มเติมหากมีอาการข้ออักเสบ รวมทั้งตรวจดูว่ามีเนื้องอกด้วยหรือไม่ แพทย์อาจใช้เข็มดูดเพื่อเอาของเหลวภายในก้อนถุงออกมาและทำการวินิจฉัย

การรักษาโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

โรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ หากไม่มีอาการเจ็บปวด ก้อนถุงน้ำสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา ผู้ป่วยควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ดังนี้ 

  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวข้อมือบ่อยๆ
  • ควรสวมใส่สายรัดข้อมือเพราะแรงรัด จะช่วยทำให้ก้อนถุงน้ำหดตัว
  • หากเกิดก้อนถุงน้ำบริเวณเท้าหรือข้อเท้า ควรสวมรองเท้าที่ไม่เกิดการเสียดสีกับก้อนถุงน้ำ  

หากมีอาการปวดบริเวณก้อนถุงน้ำและไม่สามารถทนอาการเจ็บปวดได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด  แพทย์จะนำเอาของเหลวออกจากก้อนถุงน้ำที่เกิดขึ้น หรืออาจผ่าตัด แต่วิธีผ่าตัดจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษา ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ก้อนถุงน้ำสามารถกลับมาเป็นได้อีกถึงแม้แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัดไปแล้วก็ตาม   


ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ganglion-cyst/symptoms-causes/syc-20351156 
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/ganglion-cyst 
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470168/

[ABTM id=1109]

Tags: ผิวหนังมะเร็งวิทยา
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

โรคซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous cyst) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.