โรคพยาธิตัวจี๊ด (Ganathostoma spinigerum) คือพยาธิตัวกลมประเภทหนึ่งที่คนเราสามารถติดเชื้อหรือรับพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายได้โดยการที่มีไข่พยาธิปนเปื้อนมากับอาหาร หรือการถูกไชชอนเข้าผิวหนังโดยตรง เมื่อพยาธิชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายแล้ว พยาธิจะเข้าไปอาศัยภายในอวัยวะต่าง ๆ และอาจจะก่อให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยปกติพยาธิตัวจี๊ดจะอาศัยอยู่ในสัตว์ และไข่ของพยาธิจะถูกถ่ายออกมากับมูลสัตว์ และกระจายไปยังแหล่งน้ำหรือพื้นดิน หรืออยู่ในสัปอดบวมตว์ที่เรารับประทานเป็นอาหาร ดังนั้นการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ มีความเสี่ยงสูงที่ผู้ป่วยจะติดเชื้อพยาธิได้
สาเหตุของการติดเชื้อพยาธิตัวจี๊ด
ผู้ป่วยสามารถได้รับไข่พยาธิตัวจี๊ดจากการรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เข้าไป อาทิเช่น หมู ไก่ กุ้ง หรือจากการถูกไชชอนทางผิวหนังในการเดินเท้าเปล่าตามแหล่งน้ำ หรือโคลนตม หลังจากนั้นพยาธิจะไชชอนไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เนื่องจากพยาธิตัวจี๊ดไม่สามารถที่จะวางไข่หรือเจริญเติบโตอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้ ตัวพยาธิจึงไชชอนเพื่อหาบริเวณที่คิดว่าเหมาะสมไปทั่วร่างกาย แต่ทั้งนี้พยาธิตัวจี๊ดสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายของคนเราได้นานถึง 12 ปีเลยทีเดียว
อาการของผู้ป่วยที่เป็นพยาธิตัวจี๊ด
หากผู้ป่วยได้รับเชื้อพยาธิเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะแสดงอาการภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยปกติอาการจะแสดงต่างกันไปตามตำแหน่งที่พยาธิชอนไชสู่ร่างกาย แต่จะมีอาการเบื้องต้นแสดงให้เห็นคือ
- อาการผื่น ลมพิษ
- ครั่นเนื้อครั่นตัว
- คลื่นไส้ อาเจียน
- มีไข้
แต่ในบางกรณีที่พยาธิตัวจี๊ดไปในยังที่ไม่สำคัญผู้ป่วยอาจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลย แต่หากไปยังบริเวณสำคัญอาจจะเกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อร่างกายได้ เช่น :
พยาธิตัวจี๊ดขึ้นตา
หากพยาธิตัวจี๊ดไชชอนไปยังบริเวณเปลือกตา อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการตาบวมจนไม่สามารถเปิดตาได้ กรณีที่ร้ายแรงโดยพยาธิเข้าไปในลูกตา อาจจะทำให้ตาบอดได้
พยาธิขึ้นสมอง
อาการพยาธิขึ้นสมอง กรณีที่พยาธิตัวจี๊ดชอนไชเข้าสู่ สมอง หรือน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะเป็นอย่างมาก ปวดเสียวตามเส้นประสาท มีอาการเซื่องซึม และหมดสติ
พยาธิตัวจี๊ดในช่องท้อง
หากพยาธิเข้าไปอาศัยอยู่ในช่องท้อง จะก่อให้เกิดการอักเสบของช่องท้อง และมีอาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบ
พยาธิตัวจี๊ดชอนไชตามผิวหนัง
ผิวหนังจะบวม และอาการบวมสามารถเปลี่ยนที่ไปได้เรื่อย ๆ เช่นบวมที่มือแล้วไปที่แขน ไหล่ หน้า ศีรษะ อาการบวมแดงนี้จะปรากฏประมาณ 3-10 วัน
การรักษาพยาธิตัวจี๊ด
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโดยตรงสำหรับโรคพยาธิตัวจี๊ดที่ได้รับการที่ยอมรับทางการแพทย์ แต่แพทย์จะสั่งยาถ่ายพยาธิ รักษาอาการหรือทุเลาอาการได้ โดยยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ดที่แพทย์อาจพิจารณาเลือกใช้คือ
- ยาไอเวอร์เมคติน
- ยาอัลเบนดาโซล 400 มก.วันละ 2 ครั้งให้ 21 วัน
- ไทเบนดาโซน 50 มก/กก/วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน
และให้ยารักษาอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาการบวม หรือผื่นคัน ทั้งนี้เมื่อมีอาการผู้ป่วยควรเร่งมาพบแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่ทันถ้วงที กรณีที่พยาธิชอนไชตามผิวหนัง แพทย์อาจจะพิจารณาผ่าตัวเพื่อนำตัวพยาธิออกมา
นอกจากนี้ผู้ป่วยมีทางเลือกสมุนไพรรักษาพยาธิตัวจี๊ดเพื่อนำมาใช้เสริมจากการรักษาทางการแพทย์ โดยการ รับประทานกระเจี๊ยบเขียวที่มีความเชื่อว่าสามารถช่วยขับพยาธิตัวจี๊ดและลดอาการคันตามผิวหนังได้
การป้องกันพยาธิตัวจี๊ด
ผู้ป่วยสามารถป้องกันพยาธิตัวจี๊ดไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ ดังนี้ :
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
- ไม่เดินเท้าเปล่าในแหล่งน้ำขังสกปรก โคลนตม
- รักษาความสะอาดของบาดแผลบริเวณมือ เท้า ปิดแผลและไม่สัมผัสต่อสิ่งปนเปื้อนที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงเช่น เนื้อสัตว์ มูลสัตว์
ภาวะแทรกซ้อนของพยาธิตัวจี๊ด
พยาธิตัวจี๊ดสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ เช่น
- ปอดบวม
- อัมพาต
- ตาบอด
- การติดเชื้อที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยสงสัยว่าตัวเองได้รับเชื้อพยาธิ ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการรับเชื้อพยาธิ โดยเฉพาะมารดาที่ตั้งครรภ์บุตร พึงระวังว่าหากมารดาได้รับเชื้อพยาธิแล้ว พยาธิสามารถไชชอนเข้าไปทางรก และส่งต่อพยาธิให้แก่ทารกในครรภ์ได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/parasites/gnathostoma/index.html
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3712109/
- https://animaldiversity.org/accounts/Gnathostoma_spinigerum/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team