อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning): อาการ สาเหตุ การรักษา
อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) คืออะไร
อาหารเป็นพิษเกิดจากร่างกายได้รับอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ รับประทานอาหารเสียเข้าไป หรืออาหารที่มีเชื้อโรค
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษมีดังนี้ :
เชื้อแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษมากที่สุด หากมีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้แก่
- Escherichia coli : เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสารพิษซึ่งทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร
- Listeria :เป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย
- Salmonella :เป็นแบคทีเรียแกรมลบรูปท่อนไม่สร้างสปอร์ที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยที่สุด
เชื้อปรสิต
หากเชื้อปรสิต ปนเปื้อนกับอาหารจะส่งผลให้มีอาการท้องเสียรุนแรงมาก ปรสิตชนิด Toxoplasmais เป็นเชื้อปรสิตที่รุนแรงมาก และพบได้บ่อยที่สุดหากผู้ป่วยมีอาการอาหารเป็นพิษอันเนื่องมาจากการได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถอยู่ในทางเดินอาหารในร่างกายของคนเราโดยไม่แสดงอาการใดๆ ได้ยาวนานเป็นปี อย่างไรก็ตามผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง หรือผู้หญิงระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะได้รับเชื้อปรสิตในลำไส้
เชื้อไวรัส
เชื้อไวรัสเป็นสาเหตุของอาการอาหารเป็นพิษได้มากเช่นกัน มีเชื้อไวรัสหลายชนิด เช่น noroavirus เชื้อไวรัสชนิดโนโรไวรัส (Norovirus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร หรือเป็นไวรัสที่รู้จักกันดีในชื่อเดิมว่า ชื่อเดิมว่า Norwalk virus เชื้อ Hepatitis A ที่ก่อเป็นโรคตับอักเสบประเภทหนึ่ง มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอย่างฉับพลัน และติดต่อผ่านทางอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อและยังมีเชื้อ rotavirus ที่มีอาการเหมือนกันกับเชื้อไวรัส
การปนเปื้อนในอาหารเกิดขึ้นได้อย่างไร
อาหารที่คนเรากิน มักจะมีจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อน การรับประทานอาหารร้อนๆ ปรุง สุกใหม่อยู่เสมอสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ อาหารดิบ หรืออาหารที่ไม่ผ่านการปรุง มักจะมีเชื้อโรคสะสมอยู่ในอาหาร และทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และบางครั้งขณะทำอาหารเพื่อรับประทานอาจมีสิ่งสกปรกปนเปื้อน ต้องรักษาความสะอาดในการปรุงอาหารทุกครั้ง
สิ่งปนเปื้อนต่างๆ อาจพบได้ใน เนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์จากนม แม้กระทั่งน้ำดื่มอาจมีการปนเปื้อนด้วยสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดโรคได้
อาการที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ
หากร่างกายได้รับอาหารที่เป็นพิษ อาหารที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรค หรือสารแปลกปลอมในอาหาร อาการของผู้ป่วยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาหาร หรือเชื้อของอาหารที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไป ผู้ป่วยจะมีอาการอาหารเป็นพิษอยู่ประมาณ 1 วัน หรือยาวไปถึง 28 วันได้ อาการของอาหารเป็นพิษมีดังนี้:
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย ปวดท้อง
- อาเจียน
- ไม่อยากทานอาหาร
- มีไข้เล็กน้อย
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดหัว
อาการอาหารเป็นพิษรุนแรงเรื้อรัง มีดังนี้ :
- ท้องเสียมากกว่า 3 วัน
- มีไข้สูง
- มีอาหารมองไม่เห็น หรือพูดลำบาก
- ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง
- ปัสสาวะได้เพียงเล็กน้อย หรือขับถ่ายของเหลวยากขึ้น
- ปัสสาวะเป็นเลือด
หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ทันที
ใครที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการอาหารเป็นพิษ
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการอาหารเป็นพิษมากที่สุด คือผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายไม่แข็งแรงนัก หรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ คนท้องจะ จะมีความเสี่ยงสูงที่เกิดอาการอาหารเป็นพิษ เพราะระหว่างการตั้งท้องร่างกายของผู้เป็นแม่เมตอบาลิซึมและระบบไหลเวียนของเลือดกำลังปรับเปลี่ยน ผู้สูงอายุก็เช่นกัน เนื่องจากเพราะร่างกายของผู้สูงอายุสามารถตอบสนองได้เร็วหากร่างกายได้รับสิ่งปนเปื้อน ส่วนในวัยเด็ก ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาหารอาหารเป็นพิษด้วย เพราะร่างกายของเด็กภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงเท่าวัยผู้ใหญ่ อาการอาหารเป็นพิษในเด็กส่วนใหญ่ จะมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ
การวินิจฉัยอาการอาหารเป็นพิษ
แพทย์จะสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ และอาจตรวจเลือด หรือตรวจอุจจาระ รวมทั้งอาจตรวจปัสสาวะเพื่อดูผลว่า ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำหรือไม่
การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการอาหารเป็นพิษ
การพยาบาลผู้ป่วยอาการอาหารเป็นพิษ สามารถดูแลรักษาได้ที่บ้าน ระยะเวลาในการรักษาอยู่ระหว่าง 3-5 วัน
หากร่างกายมีอาการอาหารเป็นพิษและเกิดภาวะสูญเสียน้ำ ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ หรือเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาที่มี
อิเล็กโทรไลต์สูง น้ำผลไม้หรือน้ำมะพร้าว สามารถช่วยฟื้นฟูคาร์โบไฮเดรทในร่างกายและเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายหายจากอาการอ่อนเพลียอีกด้วย
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเพราะอาจส่งผลให้กระทบกับระบบการย่อยอาหาร ควรดื่มเครื่องดื่มอ่อนๆ เช่น ชาร์คาโมมายล์ ชาเปปเปอร์มิ้นท์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
ยารักษาอาหารเป็นพิษ อยู่ในจำพวกยาชนิด Imodium และ Pepto-Bismol ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และลดอาการคลื่นไส้ ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และสิ่งสำคัญคือควรพักผ่อนให้เพียงพอ
หากผู้ป่วยมีอาการอาหารเป็นพิษอย่างรุนแรงจำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะหายเป็นปกติ
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยอาการอาหารเป็นพิษ
ผู้ป่วยอาการอาหารเป็นพิษกินอะไรได้บ้าง
ผู้ป่วยอาการอาหารเป็นพิษควรกินอาหารอ่อนๆ เพื่อแก้อาการอาหารเป็นพิษ จนกว่าอาการอาเจียนและท้องเสียจะหายไป จึงจะสามารถทานอาหารปกติทั่วไปได้ และควรทานอาหารที่กระเพาะสามารถย่อยได้ง่ายและทานอาหารที่มีรสชาติหวานเพื่อบำรุงกำลังในร่างกาย และอาหารจำพวกไขมันต่ำ เช่น น้ำซุปไก่ ผักต้ม น้ำผลไม้ ข้าวต้มโจ๊ก ต้มจืด กล้วย น้ำมะพร้าว ผักต้ม ขนมปัง อาหารรสจืด และเครื่องดื่มเกลือแร่ เป็นต้น
ผู้ป่วยอาการอาหารเป็นพิษไม่ควรทานอาหารที่ย่อยยาก อาหารที่มีไขมัน อาหารปรุงรส และอาหารที่มีน้ำตาลสูง
อาหารรสจัด อาหารทอด
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง: เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน แอลกอฮอล์
ป้องกันอาหารเป็นพิษได้อย่างไร
วิธีป้องกันการเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ดีที่สุดคือ ควรรับประทานอาหารที่สดใหม่ และปรุงสุกอยู่เสมอ อาหารบางประเภทวิธีการทำหรือกรรมวิธีที่ไม่สะอาด ควรรับประทานอาหารที่มั่นใจว่ามีกรรมวิธีการทำที่สะอาด หากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสั้ตว์ อาหารสด หรือจำพวกไข่ ควรปรุงให้สุก และผ่านความร้อนเพื่อฆ่าสิ่งที่ปนเปื้อนที่ปนมากับอาหาร การรับประทานอาหารดิบ หรืออาหารที่ไม่สะอาด หรือปรุงให้สุกแบบไม่ทั่วถึง อาหารจำพวกนี้ได้แก่
- อาหารจำพวกซูชิและปลาดิบ
- อาหารพร้อมทานเช่น ฮอทดอก ลูกชิ้น ควรทำให้ร้อนหรือให้สุกก่อน
- เนื้อสัตว์หลายชนิด
- นมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอไรส์ ชีส และน้าผลไม้บางชนิด
- ผลไม้สด หรือผัก ที่ไม่ได้ล้างให้สะอาด
อย่างไรก็ตาม ก่อนการปรุงอาหารและรับประทานอาหาร ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และควรเก็บอาหารให้มิดชิดและเก็บไว้ในที่สะอาด หากเป็นเนื้อสดควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน ควรล้างผักและผลไม้ก่อนปรุงและก่อนรับประทานทุกครั้ง
ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
- https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/infections-and-poisoning/food-poisoning
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/food-poisoning/symptoms-causes/syc-20356230
- https://www.nhs.uk/conditions/food-poisoning/
- https://www.cdc.gov/foodsafety/symptoms.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team