ปวดเอว (Flank Pain) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

อาการปวดเอว (Flank Pain) คือ การไม่สบายและปวดช่องท้องส่วนบนหรือปวดหลังบริเวณเอว และด้านข้าง มีอาการปวดในบริเวณด้านล่างซี่โครง และเหนือกระดูกเชิงกราน ปกติดอาการจะแย่ในด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ทุกคนสามารถเกิดอาการปวดบั้นเอวได้ และอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นแค่ชั่วคราว อย่างไรก็ตามอาการปวดเอวเรื้อรัง สามารถบอกปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เช่น การขาดน้ำหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไตหรือปัญหาเกี่ยวกับไตอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดเอวเรื้อรัง ถึงอาการปวดเอวเรื้อรังส่วนมากจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับไต แต่ก็อาจเป็นผลมาจากสาเหตุอื่นๆ หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยคุณจำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง Flank Pain

อาการปวดบั้นเอว

อาการปวดเอวสามารถเกิดได้แบบชั่วคราว และเรื้อรัง

อาการเนื่องจากปัญหาไต

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอวร่วมกับอาการดังต่อไปนี้
  • เป็นผื่น
  • มีไข้
  • เวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องผูก
  • ท้องร่วง
  • ปวดขณะปัสสาวะ
  • มีเลือดปนในปัสสาวะ
หากมีอาการปวดเอวร่วมกับอาการด้านบน ควรรีบพบแพทย์โดยทันที

อาการเนื่องจากปัญหาการขาดน้ำ

หากมีอาการปวดเอวอย่างหนักร่วมกับอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที
  • กระหายน้ำอย่างมาก
  • ไม่มีเหงื่อ
  • เวียนศีรษะ
  • ชีพจรเร็ว
  • ปากแห้ง เหนียว
  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้
  • ท้องผูก
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • ปัสสาวะน้อยลง
สิ่งสำคัญที่ต้องทำ คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอโดยทันที เมื่อคุณสูญเสียน้ำออกจากร่างกายมากเกินไป อวัยวะ เซลล์และเนื้อเยื่อจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน และอาการช็อกได้

สาเหตุของการปวดเอว

โดยทั่วไปการปวดเอวมักจะมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้
  • การติดเชื้อของไต
  • ฝีในไต
  • นิ่วในไต
  • การสูญเสียน้ำ
  • การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
  • งูสวัด
  • Tietze’s syndrome
  • โรคข้ออักเสบโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไขข้อกระดูกสันหลัง
  • กระดูกสันหลังหัก
  • โรคหมอนรองกระดูก
  • เส้นประสาทถูกกดทับ
  • กล้ามเนื้อกระตุก
สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้น้อยมาก ได้แก่

การวินิจฉัยอาการปวดเอว

เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะทำการซักถามคำถามที่สำคัญต่อไปนี้
  • ตำแหน่งที่มีอาการปวด
  • เวลาที่เริ่มปวด
  • อาการปวดเป็นอย่างไร
  • มีอาการปวดบ่อยแค่ไหน
  • มีอาการปวดมานานแค่ไหน
  • อาการเพิ่มเติมอื่นๆ
แพทย์จะตรวจเลือด และฉายภาพ เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดเอว การฉายภาพ เช่น อัลตราซาวด์หรือรังสีเอกซ์ ช่วยให้แพทย์สามารถสังเกตเห็นปัญหาของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆ ก่อนทำการทดสอบเหล่านี้แพทย์อาจฉีดสีย้อมที่ตัดกันลงในหลอดเลือดดำ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของภาพฉาย ให้สามารถระบุสิ่งกีดขวางในหลอดเลือด หรืออวัยวะได้ง่ายขึ้น โดยสีย้อมนั้นไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เนื่องจากเป็นไอโอดีน การตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ ที่แพทย์ของคุณอาจแนะนำ ได้แก่ :
  • การสแกน CT ช่องท้องซึ่งเป็นเอกซเรย์เฉพาะทางแสดงภาพตัดขวางของช่องท้อง
  • Cystoscopy เป็นวิธีการสอดท่อเล็กๆ ที่มีกล้องติดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
  • การวิเคราะห์ปัสสาวะ
  • การเพาะเลี้ยงปัสสาวะ เพื่อตรวจหาแบคทีเรียในปัสสาวะ

การรักษาอาการปวดเอว

การพักผ่อนเป็นการรักษาเบื้องต้นสำหรับอาการปวดเอว อาการปวดเอวสามารถหายได้เมื่อรักษาด้วยการพักผ่อน และกายภาพร่วมด้วย แพทย์อาจจะมีการแนะนำให้ออกกำลังกาย เพื่อลดอาการกล้ามเนื้อกระตุกอย่างรวดเร็ว

วิธีการรักษาอาการปวดเอวจากการอักเสบ

สำหรับอาการปวดเอว จากการอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อ และโรคข้ออักเสบ โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการเฉพาะที่ปรากฏ การติดเชื้อในไตต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ โปรแกรมกายภาพบำบัด และการออกกำลังกายช่วยบรรเทาอาการปวด เนื่องจากโรคข้ออักเสบในกระดูกสันหลังได้ แพทย์จะทำการให้ยาต้านการอักเสบซึ่งจะช่วยลดการอักเสบ และในบางกรณีผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

วิธีการรักษาอาการปวดเอวจากนิ่วไต

ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาแก้ปวด และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อกระตุ้นให้นิ่วในไตไม่ขัดขวางในท่อไต ส่วนใหญ่นิ่วในไตไม่จำเป็นต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตามแพทย์อาจใช้วิธีการ lithotripsy กรณีนิ่วในไตขนาดใหญ่จนไม่สามารถออกจากร่างกายได้ง่ายด้วยการถ่ายปัสสาวะ Lithotripsy เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อสลายนิ่วในไต ท่อไตเป็นท่อที่นำปัสสาวะจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะ แพทย์อาจเลือกใช้วิธีการอื่นๆ อย่างเช่นการผ่าตัด ในการนำนิ่วออก หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังได้รับการรักษา ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบโดยเร่งด่วน

การป้องกันอาการปวดเอว

สามารถป้องกันอาการปวดได้ดังนี้
  • ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
  • รับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ และโปรตีนลีนเป็นหลัก
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK292/
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/324592
  • https://share.upmc.com/2016/01/3-most-common-causes-of-flank-pain/
  • https://medlineplus.gov/ency/article/003113.htm

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด