• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

นิ้วซ้น (Finger Dislocation) : การวินิจฉัย การรักษา อาการ

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค, โรคระบบกล้ามเนื้อ
0
0
SHARES
240
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • สาเหตุของอาการนิ้วซ้น
  • อาการของนิ้วซ้น
  • การรักษาอาการนิ้วซ้น
  • การฟื้นตัว
  • แนวทางการรักษาของอาการนิ้วซ้น
4.8 / 5 ( 18 votes )

นิ้วซ้น (Finger Dislocation) คือ การที่นิ้วมือของเรานั้นได้รับการบาดเจ็บ นิ้วมือทุกนิ้วของคนเราจะมีอยู่ 3 ข้อ ข้อต่อเหล่านี้ทำให้นิ้วของเรานั้นยืดตรงและงอได้ เมื่อมีกระดูกเคลื่อนออกจากข้อต่อ เนื่องจากอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือการตกลงมาจากที่สูง จนกลายเป็นอาการนิ้วซ้น ซึ่งไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงตามปกติได้

เมื่อนิ้วเกิดอาการซ้น กระดูกก็จะไม่อยู่ติดกันหรืออยู่ในเดียวกับข้อต่อนิ้ว ซึ่งบริเวณข้อต่อที่เกิดอาการซ้นได้มากที่สุดก็คือ ข้อต่อข้อกลางของนิ้ว

นิ้วซ้น (Finger Dislocation)

สาเหตุของอาการนิ้วซ้น

อาการนิ้วซ้นและนิ้วเท้าซ้นส่วนใหญ่แล้ว เกิดมาจากอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ใช้ลูกบอล เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล และวอลเล่ย์บอลหรือเป็นกิจกรรมที่ผาดโผน เป็นต้น การตกจากที่สูง และอุบัติเหตุก็เป็นสาเหตุอาการนิ้วซ้นและนิ้วเท้าซ้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งนิ้วที่มาอาการซ้นจะมีลักษณะที่งอผิดรูป

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

จาการศึกษาวิจัยงานหนึ่ง ที่ได้นักวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาของนักฟุตบอลของสมาคมฟุตบอลแห่งชาติ(NFL) พบว่า 17 เปอร์เซนต์ของนักฟุตบอลนั้นเป็นอาการบาดเจ็บที่ข้อต่อกลางของนิ้ว เนื่องจากเวลาที่หยิบจับลูกบอล  นิ้วเกิดอาการซ้นได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกบอลเข้ามากระทบที่นิ้วอย่างรุนแรง ซึ่งกระดูกข้อต่อส่วนนี้ได้ผลักลูกบอลออกไป

การตกจากที่สูง

อาการนิ้วซ้นที่เกิดจากการตกจากที่สูง เกิดจากการที่มือของคุณนั้นเกิดการบาดเจ็บที่มาจากการตกจากที่สูง ซึ่งทำให้นิ้วมือนั้นเกิดการเคลื่อนที่ที่ผิดปกติไปจากข้อต่อของนิ้ว 

การเกิดอุบัติเหตุ

การได้รับกระแทกอย่างรุนแรงที่นิ้ว อย่างเช่นนิ้วถูกประตูหนีบไว้ สามารถทำให้กระดูกนั้นเคลื่อนออกมาจากข้อต่อได้เช่นเดียวกัน 

นิ้วซ้นจากทางพันธุกรรม

บางคนนั้นเกิดมาก็อาการเอ็นที่นิ้วอ่อนแอ เอ็นนั้นเป็นเนื้อเยื่อที่เชื่อมกับข้อต่อของกระดูก และทำให้เกิดโครงสร้างการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง แต่เมื่อเอ็นนั้นเกิดการบาดเจ็บก็ทำให้มีอาการนิ้วซ้นได้เช่นกัน

อาการของนิ้วซ้น

คุณอาจจะมีอาการของนิ้วซ้น  ซึ่งนิ้วที่มาอาการซ้นจะมีลักษณะที่งอผิดรูป ถ้าเกิดอาการดังนี้:

  • ข้อต่อนิ้วเกิดคดงอดูผิดรูป
  • กระดูกนิ้วของคุณจะยื่นออกไปด้านใดด้านหนึ่ง
  • มีอาการบวมและช้ำรอบข้อต่อ
  • มีอาการบาดเจ็บที่ข้อต่อ
  • ไม่สามารถเคลื่อนนิ้วของคุณได้

การรักษาอาการนิ้วซ้น

ทันที่หลังจากเกิดอาการนิ้วซ้น หลีกเลื่ยงการดึงนิ้วกลับเข้าที่ด้วยตัวเอง ซึ่งอาจทำลายโครงสร้างพื้นฐานของข้อต่อนิ้วให้เสียหายอย่างถาวร เช่น:

  • หลอดเลือด
  • เส้นเอ็น
  • เส้นประสาท
  • เอ็นนิ้ว

หลังจากนั้นก็ใช้น้ำแข็งประคบเอาไว้ โดยนำน้ำแข็งประคบและพันด้วยผ้าขนหนูหรือแผ่นประคบเย็น แล้วก็หยุดการเคลื่อนไหวของนิ้วชั่วคราว และไม่ควรนำน้ำแข็งมาประคบโดยตรง

อย่าดื่มหรือรับประทานอาหารใดๆในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดในอาการนิ้วซ้นที่รุนแรง

ควรจะได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์โดยทันที นี่คือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมมาแล้วควรทำ

การลดอาการบาดเจ็บของอาการนิ้วซ้น

การลดอาการบาดเจ็บอาการนิ้วซ้น นั้นเป็นการรักษาโดยการจัดตำแหน่งของกระดูกให้กลับมาดังเดิม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คุณอาจได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บ ซึ่งในระหว่างการรักษานั้น แพทย์จะกดกระดูกของคุณให้ปล่อยออกมา เพื่อดึงข้อต่อนิ้วให้กลับมาเข้าที่ดังเดิมอย่างที่เคยเป็นมา

การผ่าตัด

อาการนิ้วซ้นในบางกรณีที่มีความรุนแรง อาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งกระดูกและซ่อมแซมเอ็นที่ฉีดขาด การผ่าตัดนั้นมักจะใช้ต่อเมื่อการลดอาการบาดเจ็บนั้นไม่ได้ผล หรือข้อไม่สามารถเชื่อมต่อกับนิ้วได้ หรือคุณมีอาการนิ้วซ้นที่รุนแรง 

การรักษาโดยการดามนิ้ว

นอกจากการเข้าเฝือกแล้ว บางครั้งก็อาจใช้การดามนิ้วแทนที่การเข้าเฝือก แพทย์อาจใช้ที่ดามนิ้วพันนิ้วที่บาดเจ็บดามไว้กับนิ้วที่ปกติตืดไว้ด้วยกัน ซึ่งการรักษานี้จะช่วยให้อาการนิ้วซ้นที่บาดเจ็บนั้นดีขึ้นและอาจให้เคลื่อนไหวนิ้วเพื่อป้องกันการติดขัดของนิ้วและสูญเสียการเคลื่อนไหวได้ 

การเข้าเฝือก

เมื่อกระดูกของคุณได้รับการจัดตำแหน่งใหม่ แพทย์จะทำการเข้าเฝือกให้กระดูกเข้าที่มากขึ้น ซึ่งการเข้าเฝือกนั้นป้องกันการเคลื่อนไหว และทำให้นิ้วกลับมามีอาการบาดเจ็บเหมือนเดิมอีก คุณอาจจะต้องเข้าเฝือกสัก 2-3 วัน ถึง 2 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บด้วย

การฟื้นตัว

การทำกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัดอาจได้รับการแนะนำจากแพทย์ เมื่อนิ้วของคุณได้เอาเฝือกออกมาแล้ว นักกายภาพบำบัดจะแนะนำให้คุณออกกำลังกายและอาจจะแนะนำการประคบร้อนและการนวด ซึ่งช่วยให้ลดอาการฝืดของนิ้วและเพิ่มความคล่องแคล่วในการใช้ข้อต่อ 

คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมตามปกติ อาจรวมถึงการเล่นกีฬาด้วยภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากอาการนิ้วซ้นหายไป แต่มันอาจจะใช้เวลาถึง 6 เดือนเพื่อรักษาอาการนิ้วซ้นจนกว่าจะหายสนิท โดยเฉพาะอย่าง ในบางกรณีที่คุณมีอาการนิ้วซ้นที่รุนแรง หรือการรักษาโดยการใช้ยาไม่ได้ผล ทำให้อาการเจ็บปวดหรืออาการฝืดติดที่นิ้ว สามารถทำให้อาการบาดเจ็บนั้นยาวนานจนถึงขั้นถาวรเลยก็ได้

แนวทางการรักษาของอาการนิ้วซ้น

คนส่วนใหญ่จะมีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในอาการนิ้วซ้นที่ไม่รุนแรงนัก แต่อย่างไรก็ตาม นิ้วของคุณอาจจะมีอาการนิ้วซ้นกลับมาอีกครั้งได้ในอนาคต ซึ่งการป้องกันอาการนิ้วซ้นนั้น มีดังต่อไปนี้ 

  • สวมอุปกรณ์การเล่นกีฬาทุกครั้ง และถ้าเป็นไปได้ ให้สวมเฝือกนิ้วเพื่อป้องกันการกระแทกที่นิ้วเมื่อเล่นกีฬา ซึ่งทำให้เกิดอาการนิ้วซ้นได้
  • ออกกำลังที่มือของคุณ หรือทำกายภาพบำบัดเพื่อให้เกิดการคล่องตัวมากขึ้น
  • ไม่ควรเดินถ้ารู้สึกไม่มีความสมดุลในร่างกาย และ ระวังการลื่นล้มที่รุนแรง ซึ่งทำให้คุณตกจากที่สูงได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/fitness-exercise/finger-dislocation
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK551508/
  • https://www.mgo.md/patient-resources/education/finger-dislocation
  • https://www.health.harvard.edu/a_to_z/finger-dislocation-a-to-z

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: บาดเจ็บ
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
อาการเพ้อ (Delirium) : ประเภท อาการ การรักษา การฟื้นฟูผู้ป่วย

อาการเพ้อ (Delirium) : ประเภท อาการ การรักษา การฟื้นฟูผู้ป่วย

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.