• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

แพ้ไข่ (Egg Allergy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
25/02/2021
in หาโรค, โรคภูมิแพ้
0
แพ้ไข่
0
SHARES
19
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • แพ้ไข่คืออะไร
  • ใครที่มีความเสี่ยงในการแพ้ไข่
  • ส่วนใดของไข่ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้
  • อาการแพ้ไข่ที่ไม่รุนแรง
  • อาการแพ้ไข่รุนแรง
  • การป้องกัน
  • ระวังแหล่งที่มาของไข่
  • การรักษาอาการแพ้ไข่
Rate this post

แพ้ไข่คืออะไร

การแพ้ไข่ (Egg Allergy) เป็นการแพ้อาหารชนิดหนึ่งที่มักเกิดในเด็ก จากการวิจัยและการศึกษาเกี่ยวกับภูมิแพ้อาหาร  หากเด็กมีอาการแพ้ไข่ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะจำแนกโปรตีนที่พบในไข่ว่าเป็นอันตราย ดังนั้นเมื่อเด็กรับประทานโปรตีนจากไข่ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเด็กจะตอบสนองโดยการหลั่งสารฮีสทามีนและสารเคมีอื่นๆเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของอาการการแพ้ ซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิตได้

ใครที่มีความเสี่ยงในการแพ้ไข่

ทุกคนสามารถแพ้ไข่ได้ แต่ในบางคนจะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนอื่น ปัจจัยเสี่ยงได้แก่:

  • อายุ: การแพ้ไข่มักเกิดในเด็กมากที่สุด

  • สภาพผิว: หากลูกของคุณมีอาการทางผิวหนังบางอย่าง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) พวกเขามีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่การแพ้อาหาร

  • พันธุกรรม: หากพ่อ, แม่ หรือทั้งคู่มีประวัติแพ้อาหาร บุตรหลานก็มักมีอาหารแพ้อาหารด้วยเช่นกัน ครอบครัวไหนที่มีประวัติการแพ้ เช่น แพ้อาหารทะเล สิ่งเหล่านี้สามารถส่งต่อความเสี่ยงสู่ลูกหลานได้

ส่วนใดของไข่ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้

ผู้ที่แพ้ไข่มักจะมีปฏิกิริยาต่อโปรตีนที่พบในไข่ที่เรียกว่าอัลบูมิน (Albumin) ผู้ป่วยจะมีปฏิกิริยาการแพ้ต่อโปรตีนในไข่แดง หากเด็กที่มีการแพ้ไข่ แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคไข่

อาการแพ้ไข่ที่ไม่รุนแรง

อาการแพ้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางชนิดก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหลังจากที่เด็กบริโภคไข่ และมีความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก

ผื่นลมพิษเป็นหนึ่งในอาการแพ้ โดยจะมัลักษณะเป็นตุ่มบวมแดงบนใบหน้าของเด็ก หรือส่วนต่างๆของร่างกาย ภายหลังรับประทานไข่ อาการเล็กๆน้อยๆของการแพ้ ได้แก่:

  • คัดจมูก

  • ไอหรือแน่หน้าอก

  • ตะคริว  คลื่นไส้และอาเจียน

อาการแพ้ไข่รุนแรง

บางราย เด็กของคุณอาจมีปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรงต่อไข่ เรียกว่า Anaphylaxis การแพ้ชนิดนี้เกิดขึ้นเร็วมากและส่งผลต่อระบบต่างๆของร่างกายภายในครั้งเดียว นอกเหนือจากอาหารที่ไม่รุนแรงขึ้นแล้ว อาการการแพ้แบบ Anaphylaxis อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น:

  • ลิ้นและริมฝีปากบวม
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอ
  • หายใจลำบาก
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ความดันโลหิตต่ำกระทันหัน
  • หมดสติ
Egg Allergy

การแพ้แบบ Anaphylaxis ควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วโดยการฉีดอะดรีนาลีน

การป้องกัน

หากลูกของคุณแพ้ไข่ ทางเดียวที่จะช่วยป้องกันปฏิกิริยาการแพ้ก็คือหลีกเลี่ยงการบริโภคไข่ การเรียนรู้วิธีตรวจสอบว่าอาหารหรือผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของไข่หรือโปรตีนจากไข่หรือไม่ ก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่ง บางครั้งโปรตีนจากไข่ก็มีชื่อที่หลากหลาย เช่น:

  • ไวเทลลิน (vitellin)

  • ซิมเพลส (simplesse)

  • ไลโซโซม (lysozyme)

  • ลิฟติน (livetin)

  • เลซิติน (lecithin)

  • โกลบูลิน (globulin)

  • อัลบูมิน (albumin or albumen)

  • คำที่ขึ้นต้นด้วย “ova” or “ovo,” คำนำหน้าของ ovum, จะเป็นคำในภาษาลาติน หมายถึง ไข่

ควรช่วยเด็กในการเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากไข่ หรือมีไข่เป็นส่วนประกอบ

ระวังแหล่งที่มาของไข่

ไข่สามารถปรากฏได้ในอาหารหรือเครื่องดื่มหลายชนิด แม้ในสถาณที่ที่ไม่คาดคิด นอกเหนือจากนี้ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เช่นคุกกี้และเค้ก ไข่เป็นส่วนประกอบในนั้น:

  • พาสต้า

  • น้ำสลัด

  • มายองเนส

  • มีทโลฟ และลูกชิ้น

  • พุดดิ้ง

  • มาร์ชเมลโลว์

  • เค้กเคลือบน้ำตาล

  • เครื่องดื่มพิเศษ

หากคุณไม่แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์มีไข่หรือโปรตีนจากไข่เป็นส่วนประกอบหรือไม่ สามารถติดต่อสอบถามผู้ผลิตได้

การรักษาอาการแพ้ไข่

หากเด็กเคยถูกวินิจฉัยว่าแพ้ไข่มาแล้ว แพทย์จะส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ โดยแพทย์เฉพาะทางดังกล่าวจะช่วยให้คุณและบุตรหลานของคุณเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงและรักษาอาการแพ้

การรักษาปฏิกิริยาการแพ้ที่ไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ยาต้านฮีสตามีน ส่วนการรักษาปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรง เด็กควรได้รับอะดรีนาลีน ซึ่งยาดังกล่าวจะช่วยลดอาการบวม, กระตุ้นการเต้นของหัวใจ, เพิ่มความดันโลหิต และช่วยให่หายใจดีขึ้น อะดรีนาลีนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ในขั้นแรกของอาการแพ้ชนิดรุนแรงและรีบนำส่งหน่วยฉุกเฉินเพื่อการดูแลที่ต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการรักษา การแพ้แบบ Anaphylaxis อาจถึงแก่ชีวิตได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/egg-allergy/symptoms-causes/syc-20372115

  • https://kidshealth.org/en/kids/egg-allergy.html

  • https://www.webmd.com/allergies/egg-allergy


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
ปัสสาวะรดที่นอน

ปัสสาวะรดที่นอน (Bedwetting) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.