• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home อาการ

ปวดหู (Earaches) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in อาการ
0
ปวดหู
0
SHARES
326
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการปวดหู
  • สาเหตุทั่วไปที่ทำให้มีอาการปวดหูเกิดจากอะไรบ้าง
  • การรักษาอาการปวดหูที่บ้าน
  • การรักษาทางการแพทย์สำหรับอาการปวดหู
  • ควรไปพบเเพทย์เมื่อไหร่
  • วิธีป้องกันอาการปวดหู
4.7 / 5 ( 21 votes )

โดยปกติอาการปวดหู (Earaches) มักเกิดขึ้นกันเด็กแต่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยอาการปวดหูสามารถเกิดขึ้นกับหูหนึ่งข้างหรือทั้งสองข้างแต่โดยส่วนใหญ่เเล้วมักเกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียว ซึ่งอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นสามารถเกิดขึ้นเเละหายไปและอาจมีลักษณะเจ็บปวดแบบชา เจ็บแปลบหรือแสบร้อน

ถ้าหากคุณมีอาการหูอักเสบอาจมีไข้และสูญเสียการได้ยินเฉียบพลันเกิดขึ้นได้ อาการหูอักเสบในเด็กเล็กทำให้เกิดอาการระคายเคืองและรำคาญได้จึงทำให้พวกเขาเอามือถูที่ใบหูของพวกเขา  

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการ สาเหตุและวิธีรักษารวมถึงข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับอาการปวดหู

Earaches

อาการปวดหู

อาการปวดหูสามารถเกิดขึ้นจากหูอักเสบหรืออาการบาดเจ็บที่หูในผู้ใหญ่ได้แก่ 

  • อาการเจ็บหู 
  • การสูญเสียการได้ยิน
  • การระบายของเหลวในหู

นอกจากนี้อาการที่เกิดขึ้นในเด็กมีดังต่อไปนี้ 

  • เจ็บปวดในหู
  • ได้ยินเสียงไม่ชัดเจนหรือไม่สามารถตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินได้ 
  • มีไข้
  • รู้สึกหูอื้อข้างเดียว
  • นอนหลับยาก
  • ถูหรือดึงใบหู
  • ร้องไห้หรือแสดงอาการระคายเคืองมากกว่าปกติ
  • ปวดหัว
  • ไม่อยากอาหาร
  • สูญเสียการทรงตัว

สาเหตุทั่วไปที่ทำให้มีอาการปวดหูเกิดจากอะไรบ้าง

อาการบาดเจ็บ การติดเชื้อและอาการระคายเคืองภายในหูหรือมีอาการปวดต่างที่ โดยอาการปวดแบบนี้ทำให้รู้สึกเจ็บปวดหลายที่เกิดอาการติดเชื้อหรือบาดเจ็บ ตัวอย่างเช่นอาการเจ็บปวดที่มีจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นที่ขากรรไกรหรือฟันสามารถทำให้รู้สึกเจ็บภายในหูได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหูมีดังต่อไปนี้

อาการหูอักเสบ

หูอักเสบเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการปวดหรือเจ็บหู โดยหูอักเสบสามารถเกิดขึ้นภายในหูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน 

การติดเชื้อที่หูชั้นนอกอาจเกิดจากการว่ายน้ำ การใส่เครื่องช่วยฟังหรือหูฟังที่ทำให้เป็นความเสียหายบริเวณผิวหนังช่องหู นอกจากนี้การใช้สำลีก้านแหย่เข้าไปในช่องหูหรือการใช้นิ้วมือแหย่เข้าไปยังทำให้เกิดอาการอักเสบที่หูได้ 

เมื่อผิวหนังที่หูถูกแกะหรือเกาสามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองและนำไปสู่การติดเชื้อได้ น้ำที่หล่อเลี้ยงผิวในช่องหูสามารถสร้างแหล่งที่อยู่ให้กับเชื้อแบคทีเรียได้ 

หูชั้นกลางสามารถเกิดการติดเชื้อได้โดยมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยของเหลวที่เกิดขึ้นหลังแก้วหูก่อให้เกิดการติดเชื้อและเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียได้ 

หูชั้นในอักเสบเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหูชั้นใน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากโรคทางเดินหายใจ 

สาเหตุของอาการปวดหูทั่วไปที่พบได้มากได้แก่

  • การเปลี่ยนแปลงของแรงดันเช่นเมื่อขึ้นเครื่องบิน
  • มีขี้หูเกิดขึ้น
  • มีสิ่งแปลกปลอมภายในช่องหู
  • คออักเสบ
  • โพรงไซนัสอักเสบ
  • แชมพูหรือน้ำเข้าหู
  • ใช้ก้านลำสีสอดเข้าไปในหู
  • โรคขากรรไกรผิดปกติ (TMJ) 
  • เยื่อแก้วหูทะลุ
  • ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
  • ฟันอักเสบติดเชื้อ
  • ฟันผุ
  • เกิดผิวหนังอักเสบภายในช่องหู
  • โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (อาการปวดเส้นประสาทเรื้อรัง)

สาเหตุทั่วไปของอาการปวดหูที่พบได้น้อย

  • โรคขากรรไกรผิดปกติ (TMJ) 
  • เยื่อแก้วหูทะลุ
  • ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
  • ฟันอักเสบติดเชื้อ
  • ฟันผุ
  • เกิดผิวหนังอักเสบภายในช่องหู
  • โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (อาการปวดเส้นประสาทเรื้อรัง)

การรักษาอาการปวดหูที่บ้าน

คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการปวดหู ลองทำตามวิธีดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการปวดหู

  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหู
  • พยายามหลีกเลี่ยงการทำให้หูเปียก
  • นั่งหลังตรงเพื่อลดเเรงดันภายในหู
  • หาซื้อยาหยอดหูจากร้านขายยาทั่วไป
  • ใช้ยาแก้ปวดจากร้านขายยา
  • เคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อลดเเรงดันภายในช่องหู
  • ให้นมเด็กทารกเพื่อช่วยลดแรงดันภายในช่องหูของพวกเขา

การรักษาทางการแพทย์สำหรับอาการปวดหู

ถ้าหากคุณมีอาการหูติดเชื้อ แพทย์จะให้ทานยาปฏิชีวนะหรือยาหยอดหูหรือในบางกรณีเเพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้ยาทั้งสองอย่าง  

อย่าหยุดทานยาปฏิชีวนะเมื่อคุณมีอาการดีขึ้น สิ่งสำคัญคือคุณควรทานยาที่แพทย์สั่งให้หมดเพื่อทำให้มั่นใจว่าอาการอักเสบได้หายไปอย่างสมบูรณ์

หากมีขี้หูเกิดขึ้นเนื่องจากอาการเจ็บหู คุณจะได้รับยาหยอดหูที่ใช้ละลายขี้หูซึ่งทำให้ขี้หูหลุดออกมากเอง นอกจากนี้แพทย์อาจระบายขี้หูออกด้วยวิธีการที่เรียกว่าการล้างหูหรือใช้เครื่องดูดขี้หูเพื่อทำลายขี้หู

แพทย์จะทำการรักษาโรคขากรรไกรและไซนัสอักเสบรวมถึงอาการหรือโรคอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการปวดหูโดยตรงเพื่อรักษาอาการปวดหู

ควรไปพบเเพทย์เมื่อไหร่

ถ้าหากเด็กมีไข้สูง 104ºF หรือ 40 ºC หรือมากกว่านี้ ควรไปพบเเพทย์ทันที สำหรับเด็กทารกควรไปพบเเพทย์ทันทีเมื่อมีไข้สูงกว่า  101ºF หรือ 38ºC ให้เจ้าหน้าที่อนามัยชุมชนสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้ หากคุณยังไม่ได้ไปพบแพทย์

คุณควรไปพบเเพทย์ทันที หากมีอาการปวดหูอย่างรุนเเรงเฉียบพลันที่หายไปเองเพราะอาการนี้อาจเป็สัญญาณของแก้วหูแตก

คุณควรสังเกตุอาการอื่นที่เกิดขึ้น ถ้าหากมีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ควรทำการนัดหมายเพื่อเข้ารับการรักษาจากแพทย์

  • มีอาการเจ็บหูอย่างรุนแรง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ปวดหัวมาก
  • มีอาการบวมรอบหู
  • กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนเเรง
  • มีเลือดหรือหนองไหลออกจากหู

คุณควรไปพบแพทย์ ถ้าหากอาการปวดหูรุนแรงขึ้นหรืออาการปวดหูไม่ดีขึ้นภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง  

วิธีป้องกันอาการปวดหู

อาการปวดหูที่เกิดจากสาเหตุบางอย่างสามารถป้องกันได้ ลองปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือสัมผัสกับควันบุหรี่
  • นำสิ่งแปลกปลอมออกจากหู 
  • ทำให้หูแห้งหลังจากว่ายน้ำหรืออาบน้ำ

หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิเเพ้อย่างเช่นฝุ่นหรือเกสรดอกไม้เป็นต้น


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/earache
  • https://www.webmd.com/cold-and-flu/ear-infection/why-does-ear-hurt
  • https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/ears-nose-and-throat/earache
  • https://www.health.harvard.edu/a_to_z/earache-a-to-z

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ความเจ็บปวด
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
หลังค่อม

หลังค่อม (Humpback) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.