• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home อาการ

อาการหายใจไม่อิ่ม (Dyspnea) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in อาการ, โรคระบบทางเดินหายใจ, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
0
0
SHARES
79
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการโรคหายใจไม่อิ่ม
  • สาเหตุอาการหายใจไม่อิ่ม
  • ตัวเลือกการรักษาอาการหายใจไม่อิ่ม
  • การป้องกันอาการหายใจไม่อิ่ม
  • สถิติผู้มีอาการหายใจไม่อิ่ม
4.8 / 5 ( 13 votes )

ภาวะหายใจไม่อิ่ม (Dyspnea) เป็นอาการที่ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า อาการหายใจไม่อิ่ม การหายใจถี่นั้นเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ตามมา ซึ่งมักจะเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือโรคปอด(lung disease) ซึ่งจะพบอาการหายใจไม่อิ่มนี้ได้ในการที่ออกกำลังกายหนักเกินไป

อาการหายใจไม่อิ่ม (Dyspnea)

อาการโรคหายใจไม่อิ่ม

อาการหลักของโรคหายใจไม่อิ่มนั้นเกิดจากการหายใจที่ไม่สะดวก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในเวลา 1หรือ 2 นาทีหลังจากที่ทำกิจกรรมหนักมา หรืออาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่เรื้อรังมานาน คุณอาจจะรู้สึกว่าหายใจไม่เต็มปอดตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงมาก คุณอาจมีอาการแน่นหน้าอก ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการของโรคหายใจไม่อิ่มได้เช่นกัน

อาการหายใจไม่อิ่มที่เกิดจากการออกกำลังกายที่หนักเกินไปนั้นเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์โดยทันที:

  • คุณเริ่มหายใจไม่ออกหลังจากที่คุณทำกิจกรรมเคยทำ โดยที่ไม่มีปัญหาอะไรมาก่อนเลย
  • คุณเริ่มอาการหายใจไม่อิ่มโดยที่ไม่มีสาเหตุใดมาก่อน
  • คุณหายใจเร็วกว่าปกติที่คุณเคยเป็น หลังจากที่คุณออกกำลังกาย

สาเหตุอาการหายใจไม่อิ่ม

หากคุณเคยวิ่งหรือแข่งขันว่ายน้ำมาก่อน คุณก็จะรู้ว่าอาจจะใช้เวลาสักครู่ในการหายใจ คุณอาจมีปัญหาว่าออกซิเจนในลมหายใจไม่พอที่จะตอบสนองต่อความต้องการของร่างกายและจะรู้สึกเหนื่อยมากขึ้น ซึ่งถ้าคุณเป็นคนที่แข็งแรงมากพอ การหายใจของคุณจะผ่อนคลายอย่างรวดเร็ว โดยที่จะกลับมาหายใจได้ปกติเพียงไม่กี่นาที

การออกกำลังกายมักจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่มเพียงในเวลาอันสั้น ซึ่งคุณอาจมีอาการหายใจไม่อิ่มเพียงชั่วคราว หากอยู่ในที่สูงและมีออกซิเจนที่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของคุณ เช่น ยอดเขาที่สูงชัน หากคุณต้องไปปีนเขาในระดับที่สูงนั้น ควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพที่แข็งแรงพอที่จะปีนเขาได้ 

อาการหายใจไม่อิ่มที่เกิดจากโรคต่างๆนั้นอาจครอบคลุมถึงความกังวลที่มีต่อสุขภาพในวงกว้าง ขณะที่ควรได้รับการประเมินโดยแพทย์ อาการที่ทำให้เกิดการหายใจไม่อิ่มนั้น มีดังต่อไปนี้:

  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • โรคปอดอักเสบ
  • ลิ่มเลือดอุดตันในปอด (มีลิ่มเลือดอยู่ในปอด)
  • ก๊าซคาร์บอนโมน็อกไซด์เป็นพิษ
  • ความเครียดหรือความวิตกกังวล

คุณอาจจะพบอาการหายใจไม่อิ่ม เพราะมีเศษอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในทางเดินหายใจ การบาดเจ็บที่เสียเลือดมากอย่างรวดเร็วหรือที่เป็นอันตรายต่อปอด ก็สามารถทำให้คุณเกิดการหายใจไม่อิ่มได้เหมือนกัน

อาการหายใจไม่อิ่มในระยะสั้นไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 4 สัปดาห์ก็สามารถเป็นปัญหาที่เรื้อรังได้ ตัวอย่างอาการหายใจไม่อิ่มแบบเรื้อรัง มีดังนี้:

  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) ที่รวมถึงโรคถุงลมโป่งพองและโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • โรคเยื่อหุ้มปอดผิดปกติ (แผลเป็นในเนื้อเยื่อปอด)
  • ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง
  • ความอ้วน(diabesity)
  • โรคหัวใจ

โรคหอบหืด(ashma)อาจเป็นได้ทั้งในระยะที่เรื้อรังหรือในระยะสั้นก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของคุณและความพร้อมในการใช้ยาพ่น เพื่อที่จะได้รักษาได้ทันท่วงที หากคุณเป็นโรคหอบหืด ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการของคุณเพื่อหาทางป้องกันปัญหาการหายใจที่ตามมาในภายหลังได้

ตัวเลือกการรักษาอาการหายใจไม่อิ่ม

การรักษาอาการหายใจไม่อิ่มนั้น มักจะรักษาที่สาเหตุของอาการที่พบเห็น

การฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและปัญหาโรคปอดอื่นๆต้องการให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดนั้นดูแลเรื่องปอดและระบบทางเดินหายใจเป็นกรณีพิเศษ คุณอาจต้องมีออกซิเจนแบบพกพาเพื่อให้คุณหายใจได้โดยที่ไม่อึดอัด การฟื้นฟูสมรรถภาพของปอดก็ช่วยอาการหายใจไม่อิ่มได้เหมือนกัน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยดูแลในเรื่องของการออกกำลังกายภายใต้การดูของแพทย์และให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการหายใจเพื่อให้คุณเอาชนะโรคปอดให้ได้

การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย

หากคุณมีความอ้วนและการออกกำลังกายอยู่ในระดับต่ำ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณมีอาการหายใจไม่อิ่มได้ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายเป็นประจำ หากคุณมีอาการป่วยหรือคุณต้องรับประทานยาที่ทำให้คุณทำกิจกรรมได้ในเวลาอันจำกัด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการเริ่มต้นการออกกำลังกายให้เป็นกิจวัตรประจำวันที่ปลอดภัยสำหรับคุณ

การฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ

สาเหตุการหายใจไม่อิ่มที่เกี่ยวข้องกับหัวใจนั้น จะได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชายด้านโรคหัวใจ หากคุณมีอาการโรคหัวใจล้มเหลวอยู่ด้วยแล้ว แสดงว่าหัวใจของคุณนั้นอ่อนแอมากเกินไปที่จะสูบเลือดรับออกซิเจนเข้ามา เพื่อให้เพียงพอต่อร่างกาย อาการหายใจไม่อิ่มนั้นเป็นหนึ่งในอาการหลักของโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งการฟื้นฟูสมมรถภาพของหัวใจนั้นช่วยจัดการในเรื่องของโรคหัวใจล้มเหลวและอาการโรคหัวใจอื่น บางกรณีนั้นเกิดอาการโรคหัวใจล้มเหลวฉับพลัน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจมาช่วยในการหายใจ เพื่อสูบฉีดออกซิเจนเข้าสู่หัวใจที่กำลังอ่อนแอ

การป้องกันอาการหายใจไม่อิ่ม

การป้องกันอาการหายใจไม่อิ่มนั้นหมายความว่าต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอาการดังกล่าว ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงมากที่สุดคือ การสูบบุหรี่ ถ้าคุณสูบบุหรี่อยู่ ให้คุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากมายที่ทำให้คุณนั้นเลิกบุหรี่ได้ ซึ่งก็ยังไม่สายเกินไป ที่จะทำให้ปอดและหัวใจของคุณกลับมาดีขึ้นได้ดังเดิม หลังจากที่คุณเลิกสูบบุหรี่ไปแล้ว 

มลพิษทางอากาศและสารเคมีในอากาสนั้น ก็เป็นสาเหตุหลักในอาการหายใจไม่อิ่ม ซึ่งหากคุณทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ คุณก็ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันสารเคมีที่จะเข้ามาในปอดของคุณ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ทำงานของคุณมีการระบายอากาศได้ดี

การรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่นั้น ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพได้ หากคุณต้องการลดน้ำหนัก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์แนะนำการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหาร ก็จะทำให้คุณไม่มีปัญหาสุขภาพได้แล้ว

สถิติผู้มีอาการหายใจไม่อิ่ม

สถิติได้มาจากงานวิจัยของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ชื่องายวิจัย เรื่องผลการผ่อนคลายกล้ามเนื้อต่ออาการหายใจไม่อิ่มและความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งได้นำผู้ป่วยนอก ในคลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลจังหวัดพังงา เป็นจำนวน 20 ราย ซึ่งได้ติดตามการวิจัยถึง 8 สัปดาห์ และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการหายใจไม่อิ่มและความวิตกกังวลทุก 2 สัปดาห์  โดยมีการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อวันละ 1 ครั้ง 5 วัน/สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของอาการหายใจไม่อิ่มและความวิตกกังวลก่อน และหลังการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการทดสอบเฟรดแมน พบว่าอาการดังกล่าวได้หายไปหลังการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยมีเลขทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งแสดงว่าการผ่อนคลายกล้ามเนื้อสามารถลดอาการหายใจไม่อิ่มและความวิตกกังวลได้


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

https://www.mayoclinic.org/symptoms/shortness-of-breath/basics/definition/sym-20050890

https://www.webmd.com/lung/shortness-breath-dyspnea

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK357/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499965/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.