• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

ภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
29/03/2021
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
ภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
0
SHARES
15
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดคืออะไร
  • อาการของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
  • สาเหตุของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
  • ใครมีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
  • การวินิจฉัยภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด
  • ภาวะแทรกซ้อนของภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด
  • การรักษาภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
  • แนวโน้มในระยะยาวของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด
Rate this post

ภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดคืออะไร

ภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด (Disseminated intravascular coagulation :DIC) เป็นสภาวะที่พบได้น้อยและเป็นอันตรายถึงชีวิต ในช่วงแรกของอาการดังกล่าวเกิดจากเลือดจับตัวเป็นก้อนมากเกินไป จึงเป็นผลให้เกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด ทำให้ไปลดการไหลเวียนของเลือดและขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ขณะที่อาการดำเนินไป เกล็ดเลือดและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะตอบสนองต่อการรวมตัวกันของเลือดเป็นลิ่มเลือด เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นคุณจะเริ่มมีเลือดออกมากเกินไป

ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดเป็น dic ภาวะที่รุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หากคุณมีเลือดออกแล้วไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ให้ไปหน่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาล หรือโทร 1669 ติดต่อเพื่อเข้ารับการรักษา

อาการของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด

การมีเลือดออก บางครั้งเกิดจากหลายที่ในร่างกาย หนึ่งในอาการที่พบบ่อยของภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดคือการมีเลือดออกในเนื้อเยื่อเยื่อเมือก(Mucosal tissue) (ภายในปากและจมูก) และบริเวณภายนอกร่างกายส่วนอื่นๆก็อาจเกิดได้ นอกจากนี้ ภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากการมีเลือดออกภายใน

อาการอื่นๆได้แก่:

  • มีลิ่มเลือด

  • ความดันโลหิตต่ำลง

  • พกช้ำง่าย

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือทวารหนัก

  • มีจุดแดงตามผิวหนัง(Petechiae)

หากคุณเป็นโรคมะเร็ง ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆและเกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดดำมากกว่าที่จะเกิดภาวะเลือดออกมากเกิน

สาเหตุของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด

เมื่อโปรตีนถูกใช้ในกระบวนการการแข็งตัวของเลือดตามปกติกลายมาเป็นถูกใช้มากเกินไป จึงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด การติดเชื้อ, การบาดเจ็บที่รุนแรง(เช่น การบาดเจ็บที่สมอง หรือการประสบอุบัติเหตุจากการชนกัน), การอักเสบ, การผ่าตัด และโรคมะเร็ง ทั้งหมดนี้เป็นที่รู้กันดีว่ามีส่วนทำให้เกิดภาวะดังกล่าว

สาเหตุที่พบได้น้อยที่ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด ได้แก่:

  • อุณหภูมิร่างกายต่ำมากๆ(Hypothermia)

  • ถูกงูพิษฉก

  • ตับอ่อนอักเสบ

  • แผลไฟไหม้

  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดของคุณอาจลุกลามหากคุณเกิดภาวะช็อก

ใครมีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด

ความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดจะขึ้นๆลงๆหากคุณพึ่งจะ:

  • เข้ารับการผ่าตัด

  • คลอดลูก

  • มีการทำแท้งที่ไม่สมบูรณ์

  • มีการเปลี่ยนถ่ายเลือด

  • มีการใช้ยาระงับความรู้สึก

  • มีการติดเชื้อ หรือเชื้อราอื่นๆ หรือแบคทีเรียในเลือด

  • เป็นโรคมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาว

  • เนื้อเยื่อถูกทำลายอย่างรุนแรง เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ, แผลไฟไหม้ หรือบาดเจ็บรุนแรง

  • เป็นโรคตับ

การวินิจฉัยภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด

ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดอาจระบุผ่านการตรวจที่หลากหลายที่สัมพันธ์กับระดับเกล็ดเลือด, ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด และส่วนประกอบของเลือดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ขั้นตอนพื้นฐาน การตรวจตามข้างล่างนี้จะถูกสั่งตรวจ หากแพทย์สงสัยภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด:

  • การตรวจหาการย่อยสลายของไฟปริน

  • การตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดที่สมบูรณ์ จากการตรวจเลือด

  • การตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดที่สมบูรณ์ จากตัวอย่าง

  • การตรวจเกล็ดเลือด

    Disseminated Intravascular Coagulation
  • การตรวจการแข็งตัวของเลือด (Partial thromboplastin time)

  • D-dimer test

  • การตรวจหาเซรัมไฟปริโนเจน

  • การตรวจการแข็งตัวของเลือด (Prothrombin time)

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด

ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้รับการรักษา ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นทั้งจากการที่เกิดลิ่มเลือดมากเกินไปที่ซึ่งเกิดในระยะแรกของภาวะดังกล่าวและการเกิดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่ซ้อนเร้นในช่วงระยะท้ายๆ ภาวะแทรกซ้อนได้แก่:

  • ลิ่มเลือดที่เป็นสาเหตุให้ขาดออกซิเจนไปยังอวัยวะส่วนปลาย

  • โรคหลอดเลือดสมอง

  • เลือดออกมากเกินไปจนนำไปสู่การเสียชีวิต

การรักษาภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด

การรักษาภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดขึ้นอยู่กับสาเหตุของความผิดปกติที่ทำให้เกิดขึ้น การรักษาที่สาเหตุจึงเป็นเป้าหมายหลัก เพื่อรักษาปัญหาลิ่มเลือดคุณอาจได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่มีชื่อว่า เฮปปาริน(Heparin) เพื่อลดและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด อย่างไรก็ตาม เฮปปารินอาจจะไม่ได้ถูกจ่ายให้ หากคุณอยู่ในภาวะขาดเกล็ดเลือดรุนแรงหรือเลือดออกมากเกินไป

ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน(กระทันหัน)ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งมักอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) โดยการรักษาจะจะมุ่งเป้าไปที่สาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวระหว่างนั้นก็รองรับการทำงานของอวัยวะต่างๆ

การเปลี่ยนถ่ายเลือดอาจจำเป็นเพื่อใส่เกล็ดเลือดเข้าไปแทนที่ในส่วนที่หายไป การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่าสามารถเติมปัจจัยการแข็งตัวของเลือดเข้าไปแทนที่ในส่วนที่ขาดไปได้

แนวโน้มในระยะยาวของภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด

แนวโน้มของการรักษาขึ้นอยู่กับว่าอะไรคือสาเหตุที่ลุกลามไปสู่การเกิดภาวะดังกล่าว หากสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ ปัญหาลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดก็จะคลี่คลายเช่นกัน หากไม่ แพทย์อาจสั่งให้เลือดน้อยๆเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

ผู้ที่ได้รับเลือดควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสภาพทั่วไป แพทย์จะต้องการให้คุณตรวจเลือดเพื่อประเมินว่าเลือดของคุณเป็นลิ่มหรือไม่


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

https://medlineplus.gov/ency/article/000573.htm

https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/disseminated-intravascular-coagulation

https://www.msdmanuals.com/home/blood-disorders/bleeding-due-to-clotting-disorders/disseminated-intravascular-coagulation-dic

https://www.sepsis.org/sepsisand/disseminated-intravascular-coagulation-dic/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
การกอด (Hugging) : สาเหตุ อาการ การรักษา

การกอด (Hugging) : สาเหตุ อาการ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.