โรคคอตีบคืออะไร?
โรคคอตีบ (Diphtheria) คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ร้ายแรงซึ่งมีผลต่อผนังในลำคอและจมูก โรคคอตีบสามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ง่าย แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้วัคซีน
ถ้าหากคุณมีอาการของโรคคอจีบ ควรปรึกษาแพทย์โดยทันที หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อไต ระบบประสาทและหัวใจ
สาเหตุของโรคคอตีบ
โรคคอตีบเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Corynebacterium diphtheriae โรคคอตีบจะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสระหว่างบุคคลหรือการสัมผัสกับวัตถุที่มีแบคทีเรียอยู่เช่น ถ้วยหรือกระดาษทิชชู่ที่ใช้แล้ว คุณสามารถได้รับการแพร่เชื้อได้ หากอาจเป็นโรคคอตีบได้หากคุณอยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อ เมื่อพวกเขามีอาการจาม ไอ หรือสั่งน้ำมูก
แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ แต่ก็ยังสามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียได้นานถึงหกสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ
โดยส่วนมากแบคทีเรียมักจะอยู่ที่บริเวณจมูกและลำคอของคุณ เมื่อคุณติดเชื้อ แบคทีเรียจะปล่อยสารพิษออกมา สารพิษจะแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีตามบริเวณต่างๆของร่างกาย เช่น:
- จมูก
- คอ
- ลิ้น
- ทางเดินหายใจ
ในบางกรณีสารพิษเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะอื่น ๆ รวมทั้งหัวใจ สมองและไต ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่น:
ปัจจัยเสี่ยงของโรคคอตีบ
เด็กในสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบเป็นประจำ จึงทำให้เกิดอาการของโรคนี้น้อย อย่างไรก็ตามโรคคอตีบยังคงพบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา และไม่ได้มีการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลาย ในประเทศเหล่านี้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคคอตีบ
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคคอตีบได้เช่นกัน:
- ไม่ได้ฉีดวัคซีน
- ไปเที่ยวในประเทศที่ไม่มีการฉีดวัคซีนโรคคอตีบ
- มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเอดส์
- อาศัยอยู่ในพื้อนที่แออัด
อาการโรคคอตีบ
สัญญาณของโรคคอตีบมักปรากฏขึ้นภายในสองถึงห้าวันของการติดเชื้อ บางคนไม่พบอาการใดๆ ในขณะที่คนอื่นๆ จะมีอาการอ่อนที่มีความคล้ายคลึงกับไขหวัดทั่วไป
อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคคอตีบ คือมีพื้นผิวเป็นสีเท่าหนาเคลือบบนคอและต่อมทอนซิล อาการทั่วไปอื่น ๆ ได้แก่ :
อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้เมื่อเชื้อมีการแพร่กระจายได้แก่ :
- หายใจหรือกลืนลำบาก
- มีการเปลี่ยนแปลงการมองเห็น
- พูดไม่ชัด
- สัญญาณของการช็อก เช่น ผิวซีดและเย็น เหงื่อออกและหัวใจเต้นเร็ว
หากคุณมีสุขอนามัยที่ไม่ดีหรืออาศัยอยู่ในเขตร้อนชื้นคุณอาจเกิดโรคคอตีบที่ผิวหนังได้ โรคคอตีบของผิวหนังมักทำให้เกิดแผลและรอยแดงในบริเวณที่ได้รับเชื้อ
การวินิจฉัยโรคคอตีบ
แพทย์ของคุณอาจทำการตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาต่อมน้ำเหลืองที่บวม และซักถามเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย
แพทย์จะวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคคอตีบ หากพบว่ามีการเคลือบสีเทาที่คอหรือต่อมทอนซิลของคุณ แพทย์อาจแนะนำให้มีการนำเนื้อเยื่อไปตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
วิธีการรักษาโรคคอตีบ
โรคคอตีบเป็นภาวะร้ายแรงดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
ขั้นตอนแรกของการรักษาคือการฉีดยาต้านพิษ ใช้เพื่อต่อต้านสารพิษที่เกิดจากแบคทีเรีย หากคุณสงสัยว่าคุณอาจแพ้ยาต้านพิษควรปรึกษาแพทย์โดยทันที แพทย์อาจให้ยาต้านพิษในปริมาณเล็กน้อยและค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้น รวมไปถึงการสั่งยาปฏิชีวนะเช่น erythromycin หรือ penicillin เพื่อช่วยบรรเทาอาการติดเชื้อ
ในระหว่างการรักษาแพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น รวมถึงอาจสั่งยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ที่ใกล้ชิดกับคุณ
การป้องกันโรคคอตีบ
โรคคอตีบสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนและรับประทานยาปฏิชีวนะ
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบเรียกว่า DTaP ซึ่งมักจะได้รับพร้อมกับวัคซีนไอกรยและบาดทะยัก วัคซีน DTaP ฉีดทั้งหมด 5 เข็ม โดยจะแบ่งเป็นช่วงดังนี้:
- 2 เดือน
- 4 เดือน
- 6 เดือน
- 15 ถึง 18 เดือน
- 4 ถึง 6 ปี
ในบางกรณี เด็กอาจมีอาการแพ้วัคซีน ซึ่งอาจทำให้มีอาการชักหรือเป็รลมพิษ ซึ่งจะหายไปในภายหลัง
วัคซีนจะมีอายุได้ 10 ปีเท่านั้น ดังนั้นลูกของคุณจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนอีกครั้งในช่วงอายุ 12 ปี สำหรับผู้ใหญ่ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรน รวมกันหนึ่งครั้ง ทุกๆ 10 ปี หลังจากนั้นคุณจะได้รับวัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ (Td)
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/diphtheria/index.html
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diphtheria/symptoms-causes/syc-20351897
- https://www.nhs.uk/conditions/diphtheria/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team