• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคครูป (Croup) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
28/03/2021
in หาโรค
0
โรคครูป
0
SHARES
15
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการของโรคครูป
  • โรค Spasmodic Croup
  • สาเหตุของโรคครูป
  • การวินิจฉัยโรคครูป
  • การรักษาโรคครูป
  • สิ่งที่คาดหวังในระยะยาว
  • การป้องกัน
Rate this post

โรคครูป (Croup) คือโรคติดเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุทำให้บริเวณรอบๆเส้นเสียงบวม

ลักษณะของโรคคือการหายใจลำบากและไออย่างหนักแบบมีเสียงก้อง มีเชื้อไวรัสหลายตัวเป็นสาเหตุให้เกิดโรคครูป ส่วนมากมักระบาดในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว โรคครูปมักเกิดขึ้นกับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี

อาการของโรคครูป

อาการของโรคมีแนวโน้มจะรุนแรงมากในเด็กที่มีอายุต่ำว่า 3 ขวบ เพราะว่าระบบการหายใจของเด็กมีขนาดเล็กกว่าของผู้ใหญ่ อาการของโรคครูปในผู้ป่วยส่วนใหญ่มีดังต่อไปนี้:

  • มีอาการเป็นหวัดเช่น จามและมีน้ำมูก

  • มีไข้

  • ไอเสียงก้อง

  • หายใจเสียงดัง

  • เสียงแหบ

Croup
ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากพบว่าโรคครูปเริ่มคุกคามความสามารถในการหายใจของเด็ก รีบติดต่อแพทย์โดยด่วนหากสังเกตเห็นอาการดังต่อไปนี้:
  • มีเสียงวี๊ดแหลมเวลาหายใจ

  • มีความยุ่งยากในการกลืน

  • ผิวหนังบริเวณรอบๆจมูก, ปากและเล็บมีสีม่วงหรือเทา

โรคครูปมักมีอาการอยู่นานมากกว่า 1 สัปดาห์ และมักกลับมาเป็นซ้ำอยู่บ่อยๆ หรืออาจมีอาการไข้สูงเกินกว่า 103.5 องศา ควรรีบไปพบแพทย์ มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายเพื่อตัดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือโรคอื่นๆทิ้งไป

โรค Spasmodic Croup

ในเด็กบางรายต้องทนทุกข์ทรมานจากการกลับมาเป็นซ้ำของโรค ในรายที่มีโรคครูปอาการน้อยที่มักจะเกิดขึ้นร่วมกับโรคหวัดทั่วๆไป โรคครูปรูปแบบนี้จะมีลักษณะอาการคือไอเสียงก้องๆ แต่มักไม่มีอาการไข้สูง บ่อยครั้งมักมีอาการให้เห็นร่วมกับโรคครูปอื่นๆ

สาเหตุของโรคครูป

มีเชื้อไวรัสหลายชนิดที่สามารถทำให้เกิดโรคครูปได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา (โรคไข้หวัดทั่วไป) เชื้อไวรัสตัวอื่นๆก็อาจเป็นสาเหตุของโรคครูปได้ เช่น อะดีโนไวรัส (เป็นกลุ่มไวรัสอีกกลุ่มที่ทำให้เกิดโรคหวัดทั่วไป) , เชื้อไวรัส respiratory syncytial virus (RSV), เชื้อโรคทั่วไปที่ส่งผลกระทบต่อเด็กเล็กและโรคหัด โรคครูปอาจมีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้, การสัมผัสกับสิ่งที่สร้างความระคายเคืองจากการหายใจ หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่พบได้ไม่บ่อยนัก

การวินิจฉัยโรคครูป

โรคครูปใช้การวินิจฉัยทั่วๆไปด้วยการตรวจร่างกาย

แพทย์จะฟังเสียงไอ, เสียงหายใจ,และซักถามรายละเอียดของอาการ อาจไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพราะแพทย์หรือนางพยาบาลอาจทำการวินิจฉัยโรคครูปโดยฟังลักษณะเสียงไอผ่านทางโทรศัพท์ได้ หากอาการของโรคครูปยังคงไม่หายไป แพทย์อาจสั่งตรวจดูคอหรือทำการเอกซเรย์เพื่อตัดโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจออกไป

การรักษาโรคครูป

ในรายที่มีอาการน้อย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักรักษาตัวเองที่บ้านได้ผลดี แพทย์และนางพยาบาลสามารถติดตามอาการของเด็กได้โดยคุยกับพ่อแม่ผ่านทางโทรศัพท์ได้ เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศอาจสามารถช่วยให้เด็กหายใจได้ง่ายขึ้นในขณะนอน

ยาบรรเทาอาการปวดสามารถลดอาการไม่สบายคอ, หน้าอกหรือศีรษะลงได้ ยาแก้ไอควรได้รับเฉพาะตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

ในรายที่มีอาการรุนแรง

หากเด็กมีปัญหาการหายใจควรรีบไปพบแพทย์ด่วน แพทย์อาจใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อเปิดทางเดินหายใจในเด็ก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น ในรายที่มีอาการรุนแรง การใส่ท่อช่วยหายใจอาจมีความจำเป็นเพื่อให้เด็กได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ หากมีการตรวจพบว่าโรคครูปเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะช่วยในการรักษา หากมีภาวะขาดน้ำผู้ป่วยอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ

สิ่งที่คาดหวังในระยะยาว

โรคครูปที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสปกติมักหายได้ด้วยตัวเองภายใน 1 สัปดาห์

โรคครูปที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียอาจต้องการการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ระยะเวลาในการรักษาด้วยยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนที่ทำอันตรายถึงชีวิตไม่ใช่อาการปกติทั่วไป แต่จะเกิดอันตรายหากเกิดขึ้น เพราะภาวะแทรกซ้อนมักจะเกิดขึ้นโดยทำให้หายใจลำบาก จึงควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

การป้องกัน

โรคครูปส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับตัวที่ทำให้เกิดโรคหวัด การป้องกันจึงเหมือนกับการป้องกันเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ ด้วยการล้างมือบ่อยๆ, พยายามไม่ให้นำเอามือและสิ่งของต่างๆเข้าปาก และหลีกเลี่ยงใกล้ชิดคนที่มีอาการไม่ค่อยสบาย

ในรายที่เป็นโรคครูปรุนแรงมักมีสาเหตุมาจากโรคอื่นเช่นโรคหัด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเช่นนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองควรพาลูกไปรับวัคซีนตามตารางอย่างเคร่งครัด


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/croup/symptoms-causes/syc-20350348

  • https://kidshealth.org/en/parents/croup.html

  • https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/chest-lungs/Pages/Croup-Treatment.aspx

  • https://www.nhs.uk/conditions/croup/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ไวรัส
นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
ลำไย

ประโยชน์ของลำไยที่มีต่อสุขภาพ (Longan)

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.