• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

โรควัวบ้า (Creutzfeldt-Jakob Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
11/02/2021
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
โรควัวบ้า
0
SHARES
20
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรควัวบ้าคืออะไร
  • ประเภทของโรควัวบ้า
  • สาเหตุของโรควาเรียนท์ครอยตส์เฟลดต์?
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรควัวบ้ามีใครบ้าง
  • อาการของโรควัวบ้า
  • วินิจฉัยโรควัวบ้า
  • การรักษาโรควัวบ้า
  • การเฝ้าติดตามระยะยาว
Rate this post

โรควัวบ้าคืออะไร

โรควาเรียนท์ครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ  หรือโรควัวบ้า ( Creutzfeldt Jakob Disease) คือโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม ลักษณะเด่นของโรคนี้คือภาวะจิตเสื่อมและมีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งชนิดเฉียบพลัน เมื่อเวลาผ่านไปโรคนี้ยังเป็นสาเหตุให้ระบบความจำเริ่มมีปัญหาและพฤติกรรมเปลี่ยน รวมถึงเกิดภาวะสมองเสื่อม ทั้งนี้โรควัวบ้าสามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าโรควัวบ้าเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ไม่สามารถพบได้คนทั่วไปมีผู้ป่วยเพียง 1 ในล้านเท่านั้น ซึ่งเป็นโรควัวบ้าที่มีชื่อเรียกว่าโรควัวบ้าชนิดสมองเสื่อมแบบเกิดขึ้นประปราย

Creutzfeldt-Jakob Disease

ประเภทของโรควัวบ้า

โรควัวบ้ามีสองชนิดที่พบได้บ่อยได้แก่

โรควัวบ้าชนิดสมองเสื่อมแบบเกิดขึ้นประปราย (Sporadic CJD)

โรควัวบ้าชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในช่วงอายุระหว่าง 20-70 ปี แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบในคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป แต่โรควัวบ้าชนิดสมองฝ่อไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อวัวบ้าโดยตรง

โรควัวบ้าชนิดสมองเสื่อมเกิดขึ้นจากโปรตีนที่ปกติกลายพันธ์เป็นพรีออนที่ผิดปกติ จากข้อมูลของ NINDS พบว่ามากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมแบบประปราย ส่วนมากพบในคนอายุมากกว่า 65 ปี

โรคสมองเสื่อมจากพันธุกรรม

เป็นโรคสมองเสื่อมที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมพบได้ประมาณ 5-15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โดยโรคสมองเสื่อมชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการถ่ายทอดทางยีนจากพ่อแม่ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์มักจะพบว่ามีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว

โรคสมองฝ่อวาเรียนท์

โรคสมองฝ่อวาเรียนท์ (Variant CJD หรือ vCJD) เกิดขึ้นได้ทั้งในสัตว์และมนุษย์ เมื่อมันปรากฎในสัตว์จะเรียกว่าเชื้อโรควัวบ้าหรือ BSE รูปแบบ โดยโรคสมองฝ่อวาเรียนท์ (vCJD) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นตอนปลายที่มีอายุ 20 ขึ้นไป

สาเหตุของโรควาเรียนท์ครอยตส์เฟลดต์?

โรค CJD มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อชนิดหนึ่งที่เรียกว่าพรีออนคือโปรตีนขนาดเล็กที่ไม่ละลายในน้ำพบได้ในเนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โรคพรีออนเกิดจากโปรตีนพับตัวผิดปกติและรวมตัวเป็นกระจุก เมื่อมีการติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โปรตีนที่เคยปกติก็จะเริ่มปรับโครงสร้างผิดรูปแบบ สาเหตุการบาดเจ็บทางสมองเกิดจากเซลล์ประสาทถูกทำลายและโครงสร้างของสมองถูกรบกวน โรค CJD เป็นรูปแบบหนึ่งของโรควัวบ้า หากดูภาพสมองของผู้ป่วยโรค CJD จะปรากฎรูในสมองตรงส่วนที่เซลล์ตายให้เห็น ทำให้สมองดูคล้ายฟองน้ำ

ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อ CJD โดยการรับประทานเนื้อที่มีการติดเชื้อพรีออน แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้พบได้บ่อยนัก ผู้ป่วยยังอาจติดเชื้อได้หลังจากได้รับเลือดหรือมีการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่นกระจกตา จากการติดเชื้อของผู้บริจาค เชื้อโรคยังสามารถส่งผ่านมาทางอุปกรณ์ผ่าตัดที่ผ่านการฆ่าเชื้อที่ไม่ดีพอ โชคดีที่เรายังมีมาตรฐานการฆ่าเชื้อที่เข้มงวดกับอุปกรณ์ที่ต้องนำมาใช้กับเนื้อเยื่อที่ต้องเสี่ยงต่อการรับสัมผัสเชื้อพรีออน เช่นเนื้อเยื่อตาหรือสมอง

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรควัวบ้ามีใครบ้าง

ความเสี่ยงของโรค CJD มีเพิ่มมากขึ้นตามอายุ คุณไม่สามารถเป็นโรค CJD ได้จากการรับสัมผัสเชื้อจากคนที่มีเชื้อตามปกติ แต่ต้องได้รับเชื้อผ่านทางของเหลวในร่างกายหรือเนื้อเยื่อ

ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรค CJD ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษในการลดความเสี่ยงต่อการติดโรคดังต่อไปนี้ :

  • ป้องกันมือและหน้าจากการสัมผัสเชื้อผ่านทางของเหลวในร่างกาย

  • ต้องมั่นใจว่าล้างมือ หน้าและผิวหนังก่อนการสูบบุหรี่ รับประทานอาหารหรือดื่ม

  • ใช้พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดกันน้ำในการปิดแผลบาดหรือถลอก

อาการของโรควัวบ้า

อาการของโรค CJD คือ :

  • สมองเสื่อม: ความสามารถในการคิด เหตุผล การสื่อสารและการดูแลตนเองลดลง

  • เดินตัวเซ : สูญเสียความสมดุล

  • มีพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปของโรค CJD

  • สับสน

  • มีอาการชัก

  • กล้ามเนื้อกระตุก

  • นอนไม่หลับ

  • มีปัญหาด้านการพูด

  • ตาพร่า ตาบอดได้

อาการสมองเสื่อมส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ เมื่อป่วยเป็นโรค CJD สมองจะเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว แตกต่างจากโรคสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ซึ่งจะค่อยๆเกิดอย่างช้าๆ

วินิจฉัยโรควัวบ้า

การวินิจฉัยโรค CJD แพทย์จะทำการซักถามเกี่ยวกับโรคประจำตัว การตรวจร่างกายและการตรวจทางระบบประสาท เพื่อแยกแยะอาการโรค CJD ออกจากโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แพทย์ยังอาจใช้การตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมเช่น :

การสแกน MRI

การสแกนด้วยเครื่อง MRI คือเครื่องที่ใช้สนามแม่เหล็กในการฉายภาพสมอง เครื่องนี้สามารถข่วยวินิจฉัยโรค CJD ได้ดีที่สุด การสแกนจะชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงแม้เล็กน้อยในสมองที่อาจนำไปสู่โรค

การ CAT Scan

การสแกนด้วย CAT อาจไม่มีประโยชน์เท่าการใช้ด้วยเครื่อง MRI สแกนเพื่อระบุการเปลี่ยนแปลงของสมองของโรค CJD ตามปกติแล้วการสแกนด้วย CAT จะเป็นสิ่งปกติทั่วไป ในผู้ป่วยบางราย การเสื่อมของสมองแบบรวดเร็วด็สามารถตรวจพบเจอได้

การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง

การตรวจด้วยวิธีนี้แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆเจาะเข้าไปที่กระดูกสันหลังเพื่อดูดเอาน้ำไขสันหลังออกมา หากตรวจแล้วพบว่ามีระดับโปรตีนที่เรียกว่า 14-3-3 แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคCJD แต่อย่างไรก็ตามการมีระดับโปรตีนสูงพบว่าอาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆได้เช่นกัน

การตรวจ EEG

ในการตรวจวิธีนี้แพทย์จะใช้เครื่องแปะขั้วไฟฟ้าบนหนังศีรษะเพื่อตรวจดูคลื่นสมอง หากคุณเป็นโรค CJD คลื่นสมองจะแสดงเส้นลักษณะพุ่งแหลม

การตรวจเลือด Blood Tests

แพทย์จะใช้การตรวจเลือดในการจำแนกและขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นภาวะขาดไทรอยด์และโรคซิฟิลิส

การรักษาโรควัวบ้า

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาผู้ติดเชื้อ CJD แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาในการรักษาก็สามารถช่วยจัดการกับร่างกายและจิตใจที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ การรักษาแพทย์จะมุ่งประเด็นไปในเรื่องการสร้างความสะดวกสบายและช่วยให้ใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

การเฝ้าติดตามระยะยาว

เป็นเรื่องน่าเศร้า จากข้อมูลของ NINDS พบว่ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่เป็นโรค CJD คลาสสิคจะเสียชีวิตภายในหนึ่งปี ส่วนผู้ป่วยที่เป็นชนิด variant CJD มีแนวโน้มว่าจะมีชีวิตที่ยาวนานกว่านิดหน่อย นับตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงเสียชีวิต.

อาการของโรค CJD จะเริ่มแย่ลงจนผู้ป่วยเข้าขั้นวิกฤต สาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยของผู้ป่วย CJD คือ:

  • โรคปอดอักเสบ

  • การติดเชื้ออื่นๆ

  • หัวใจล้มเหลว


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/creutzfeldt-jakob-disease/symptoms-causes/syc-20371226

  • https://www.cdc.gov/prions/cjd/index.html

  • https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Creutzfeldt-Jakob-Disease-Fact-Sheet

  • https://www.nhs.uk/conditions/creutzfeldt-jakob-disease-cjd/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคสมองจากโรคตับ (Hepatic Encephalopathy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคสมองจากโรคตับ (Hepatic Encephalopathy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.