แผลที่กระจกตา (Corneal Ulcer) : สาเหตุ อาการ การรักษา

แผลที่กระจกตาคืออะไร

กระจกตาเป็นชั้นเนื้อเยื่อใสที่อยู่บริเวณด้านหน้าของดวงตา กระจกตาเปรียบเสมือนหน้าต่างที่รับแสงเข้าตา น้ำตาช่วยปกป้องกระจกตาจากแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา

กระจกตาเป็นแผล คือ แผลเปิดที่เกิดขึ้นที่กระจกตา โดยมักเกิดจากการติดเชื้อ การบาดเจ็บเล็กน้อยที่ดวงตา หรือความเสียหายที่เกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไปก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้

สาเหตุแผลที่กระจกตา

สาเหตุหลักของการเกิดแผลที่กระจกตา คือ การติดเชื้อ

กระจกตาอักเสบ

การติดเชื้อที่ให้ทำเกิดกระจกตาอักเสบส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ใส่คอนแทคเลนส์ ซึ่งเป็นการติดเชื้ออะมีบา แม้ว่าจะเป็นภาวะที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักแต่ก็ทำให้ตาบอดได้

แผลกระจกตาจากการติดเชื้อเฮอร์ปิสซิมเพล็ก

แผลกระจกตาติดเชื้อเฮอร์ปิสซิมเพล็กเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดแผล หรือแผลในตาซ้ำ ๆ และอีกหลายปัจจัยอาจทำให้เกิดโรคได้ เช่น ความเครียด การสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน หรือสิ่งที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

การอักเสบของกระจกตาจากเชื้อรา

การติดเชื้อรานี้เกิดขึ้นหลังจากการบาดเจ็บที่กระจกตา  แล้วมีการติดเชื้อราเกิดขึ้น การอักเสบของกระจกตาจากเชื้อรามักเกิดขึ้นได้ในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออีกด้วย

สาเหตุอื่น ๆ

แผลที่กระจกตาเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ อีกได้แก่ :

  • ตาแห้ง

  • โรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ

  • ใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

  • การขาดวิตามินเอ

ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มที่หมดอายุหรือใส่คอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้งเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดแผลที่กระจกตา

อาการของแผลที่กระจกตา

อาการของการติดเชื้อก่อนที่จะรู้ตัวว่าเป็นแผลที่กระจกตาเกิดขึ้นได้แก่

อาการของแผลที่กระจกตา ได้แก่

  • ตาอักเสบ

  • เจ็บตา

  • น้ำตาไหลตลอดเวลา

  • มองเห็นภาพซ้อน

  • มองเห็นจุดสีขาวบนกระจกตา

  • เปลือกตาบวม

  • มีหนอง หรือสารคัดหลั่งออกจากตา

  • ไวต่อแสง

  • เคืองตา

อาการของแผลที่กระจกตาเป็นความผิดปกติที่รุนแรง และควรได้รับการรักษาทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้ตาบอด แผลที่กระจกตามีลักษณะเป็นสีเทา หรือสีขาว หรือจุดบนกระจกตาใส แผลที่กระจกตาบางส่วนมีขนาดเล็กเกินไปที่จะมองเห็นได้โดยไม่ต้องขยาย แต่ผู้ที่มีแผลที่กระจกตาจะรู้สึกได้ถึงอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

การวินิจฉัยแผลที่กระจกตา

จักษุแพทย์สามารถวินิจฉัยแผลที่กระจกตาได้ด้วยการตรวจดวงตา

การตรวจคราบฟลูออเรซินดวงตาเป็นอีกหนึ่งการตรวจที่แพทย์ใช้ในการตรวจหาแผลที่กระจกตา สำหรับการตรวจนี้จักษุแพทย์จะหยดสารสีส้มลงบนกระดาษซับมันบาง ๆ จากนั้น แพทย์จะเอาสารสีส้มนี้ลงไปในดวงตาของผู้ป่วยโดยการแตะกระดาษซับมันเบา ๆ ที่ผิวตา จากนั้น แพทย์จะใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีหลอดไฟส่องแสงสีม่วงพิเศษส่องไปที่ดวงตา เพื่อมองหาบริเวณที่ถูกทำลายบนกระจกตา จุดที่เสียหายบนกระจกตาจะมองเห็นเป็นสีเขียว เมื่อแสงสีม่วงส่องกระทบ

หากเกิดมีแผลที่กระจกตา จักษุแพทย์จะตรวจหาสาเหตุก่อน โดยอาจให้ยาชาในรูปแบบยาหยอดตา จากนั้นค่อย ๆ ขูดแผล เพื่อเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อส่งตรวจ การตรวจจะทำให้รู้ว่าที่แผลมีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหรือไวรัสหรือไม่

การรักษาแผลที่กระจกตาอย่างไร

เมื่อจักษุแพทย์พบสาเหตุของการเกิดแผลที่กระจกตาแล้ว แพทย์จะสั่งยาต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือยาต้านไวรัส เพื่อรักษาโรคที่มีอยู่ก่อนหน้าให้หายก่อน หากการติดเชื้อทำให้อาการแย่ลง แพทย์อาจหยอดตาด้วยยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ในระหว่างการตรวจเนื้อเยื่อที่ขูดจากแผลเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ นอกจากนี้ หากเกิดภาวะตาอักเสบ และบวมอาจต้องใช้ยาหยอดตาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ในระหว่างการรักษา แพทย์จะให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยง:

  • การใส่คอนแทคเลนส์

  • การแต่งหน้า

  • การใช้ยาอื่น ๆ

  • การสัมผัสตาโดยไม่จำเป็น

  • การปลูกถ่ายกระจกตา

ในกรณีที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายกระจกตา การปลูกถ่ายกระจกตาเป็นการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาออก และแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อกระจกตาของผู้บริจาค ทั้งนี้การปลูกถ่ายกระจกตาเป็นหัตถการที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็เช่นเดียวกับหัตถการอื่น ๆ คือ การผ่าตัดนี้ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี การผ่าตัดนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพในอนาคตได้ เช่น

  • ร่างกายต่อต้านเนื้อเยื่อของผู้บริจาค

  • เกิดเป็นต้อหิน

  • เกิดการติดเชื้อที่ตา

  • เกิดต้อกระจก

  • กระจกตาบวม

การป้องกันการเกิดแผลที่กระจกตา

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันแผลที่กระจกตาคือ การรักษาทันทีที่พบว่ามีอาการติดเชื้อที่ตา หรือทันทีที่ดวงตาได้รับบาดเจ็บ

วิธีการป้องกันการบาดเจ็บที่กระจกตา

  • หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์ขณะนอนหลับ

  • ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ และทำให้ปลอดเชื้อทั้งก่อน และหลังสวมใส่

  • ล้างตา เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอม

  • ล้างมือก่อนสัมผัสดวงตา

ผลข้างเคียงของเกิดแผลที่กระจกตา

แผลที่กระจกตาอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ซึ่งบางรายอาจร้ายแรงและถึงขั้นเป็นอันตรายต่อการมองเห็นได้ ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากแผลที่กระจกตา:
  • การสูญเสียการมองเห็น : ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่สุดของแผลที่กระจกตาคือการสูญเสียการมองเห็น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเพียงพอ อาจทำให้เกิดแผลเป็นบนกระจกตา ซึ่งอาจทำให้การมองเห็นแย่ลง ระดับการสูญเสียการมองเห็นขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของแผลและประสิทธิผลของการรักษา
  • แผลเป็นจากกระจกตา : แผลที่กระจกตาสามารถทิ้งรอยแผลเป็นบนกระจกตาไว้ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการมองเห็นถาวร รอยแผลเป็นเหล่านี้อาจทำให้การมองเห็นบิดเบี้ยวหรือพร่ามัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอยู่ตรงกลางของกระจกตา
  • กระจกตาทะลุ : ในกรณีที่รุนแรง แผลที่กระจกตาอาจทำให้เกิดกระจกตาทะลุ ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์และต้องได้รับการดูแลทันที กระจกตาทะลุอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง รวมถึงการติดเชื้อภายในดวงตา (endophthalmitis)
  • เยื่อบุตาอักเสบ : หากการติดเชื้อจากแผลที่กระจกตาลามไปถึงด้านในของดวงตา อาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าเยื่อบุตาอักเสบได้ โรคเยื่อบุตาอักเสบอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างรุนแรงและอาจต้องได้รับการผ่าตัด
  • แผลที่เกิดซ้ำ : บุคคลบางคนมีแนวโน้มที่จะเกิดแผลที่กระจกตามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีโรคประจำตัว เช่น ตาแห้ง การติดเชื้อไวรัสเริม หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง แผลที่กระจกตาที่เกิดซ้ำอาจเป็นเรื่องยากในการจัดการและอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนในระยะยาว
  • ความผิดปกติของม่านตาหรือรูม่านตา : ในบางกรณี แผลที่กระจกตาอาจทำให้เกิดการอักเสบและเป็นแผลเป็นซึ่งส่งผลต่อม่านตาหรือรูม่านตา สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ความผิดปกติในรูปร่างและการทำงานของโครงสร้างเหล่านี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการมองเห็นและวิธีที่ดวงตาตอบสนองต่อแสง
  • การติดเชื้อทุติยภูมิ : แผลที่กระจกตาอาจเกิดจากเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา หากการติดเชื้อในระยะเริ่มแรกไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การติดเชื้ออาจแพร่กระจายหรือนำไปสู่การติดเชื้อทุติยภูมิ ซึ่งอาจทำให้การรักษาซับซ้อนและทำให้อาการแย่ลงได้
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพบแพทย์ทันที หากคุณสงสัยว่าคุณมีแผลที่กระจกตา หรือหากคุณมีอาการต่างๆ เช่น ปวดตา ตาแดง ไวแสง น้ำตาไหลมากเกินไป หรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลง การวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงทีสามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและรักษาการมองเห็นได้ โดยทั่วไปการรักษาจะรวมถึงยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อรา (ขึ้นอยู่กับสาเหตุ) การใช้ยาหยอดตา และบางครั้งการผ่าตัด เช่น การปลูกถ่ายกระจกตา ในกรณีที่รุนแรงซึ่งมีแผลเป็นหรือกระจกตาทุลุเป็นวงกว้าง

แนวโน้มระยะยาว

ผู้ที่มีแผลที่กระจกตาอาจจะสูญเสียการมองเห็นอย่างรุนแรง พร้อมกับเกิดภาวะตาบอดได้ เนื่องจากเกิดแผลเป็นที่จอประสาทตา แผลที่กระจกตาอาจกลายเป็นแผลเป็นถาวรที่ตาได้ ในบางกรณีที่พบไม่ได้บ่อยนักคือ ดวงตาทั้งสองข้างอาจจะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง

แม้ว่าแผลที่กระจกตาจะสามารถรักษาให้หายได้ และผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะฟื้นตัวได้ค่อนข้างดีหลังการรักษา แต่ก็อาจจะทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/eye-health/corneal-ulcer

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539689/

  • https://medlineplus.gov/ency/article/001032.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด