หัวใจพิการ (Congenital Heart Disorders) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดคืออะไร

โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด หรือโรคหัวใจพิการ (Congenital Heart Disorders) คือภาวะผิดปกติของการพัฒนาการสร้างหัวใจตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งส่งผลต่อ:
  • ผนังหัวใจ
  • ลิ้นหัวใจ
  • หลอดเลือด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีมากมายหลายชนิด สามารถแบ่งแยกจากอาการทั่วไปที่ไม่ใช่สาเหตุของอาการหลักที่เป็นปัญหาที่รุนแรงและอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต Congenital Heart Disorders

ประเภทของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ประเภทของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดขึ้นอยู่กับว่าหัวใจมีส่วนบกพร่องตรงไหน ซึ่งแบ่งออกมาได้3ประเภท:
  • ลิ้นหัวใจบกพร่อง คือลิ้นหัวใจที่อยู่ด้านในหัวใจที่มีหน้าที่ส่งผ่านให้เกิดการไหลเวียนของเลือดอาจปิดหรือรั่ว
  • ผนังกั้นหัวใจบกพร่อง ผนังกั้นหัวใจที่มีสี่ห้องด้านซ้ายและด้านขวา ด้านบนและด้านล่างอาจเกิดการพัฒนาได้ไม่เต็มที่ เป็นสาเหตุทำให้เลือดย้อนกลับไปยังหัวใจหรืออาจไปอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ การบกพร่องนี้ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ ทำให้เกิดความดันเลือดสูง 
  • บกพร่องในหลอดเลือด เพราะการทำหน้าที่ของหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำที่มีหน้าที่นำพาเลือดไปสู่หัวใจและกลับมาสู่ร่างกายอาจทำงานไม่ถูกต้อง ทำให้ไปลดทอนหรือขัดขวางการไหลเวียนของเลือด นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนด้านสุขภาพได้มากมายหลายชนิด

โรคหัวใจพิการชนิดเขียวและไม่มีอาการเขียว

แพทย์จะทำการแบ่งประเภทของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดไว้สองประเภท คือแบบชนิดตัวเขียวและแบบไม่มีอาการตัวเขียว สิ่งที่เหมือนกันทั้งสองรูปแบบคือการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้มีประสิทธิภาพอย่างที่ควรเป็น ข้อแตกต่างที่ชัดเจนสำหรับโรคหัวใจพิการชนิดตัวเขียวเกิดขึ้นเพราะระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ส่วนโรคหัวใจพิการชนิดไม่มีอาการตัวเขียวจะไม่เป็นเช่นนั้น เด็กทารกที่มีระดับออกซิเจนลดน้อยลงจะทำให้เด็กหายใจลำบากและเกิดสีเขียวคล้ำม่วงที่ผิว เด็กทารกที่ได้รับปริมาณออกซิเจนเพียงพอในเลือดจะไม่แสดงอาการดังกล่าว แต่พวกเขาก็ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในภายหลังได้ เช่นความดันเลือดสูง

อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดคืออะไร

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมักจะตรวจพบเจอในระหว่างการตรวจอัลตราซาวน์ในช่วงตั้งครรภ์ หากแพทย์พบว่ามีเสียงหัวใจที่เต้นผิดปกติ แพทย์จำทำการตรวจสอบเพิ่มเติมถึงปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การเอกซเรย์ปอดหรือสแกนด้วยเครื่อง MRI หากตรวจพบเจอโรคแพทย์จะได้เตรียมการล่วงหน้าอย่างเหมะสมในระหว่างการคลอด  ในบางรายอาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจยังไม่แสดงอาการจนกว่าจะคลอดออกมา เด็กทารกแรกเกิดที่มีข้อบกพร่องของหัวใจจะมีอาการดังต่อไปนี้:
  • ริมฝีปาก ผิว นิ้วมือและนิ้วเท้ามีสีเขียวคล้ำ
  • หายใจลำบากหรือมีปัญหาในการหายใจ
  • ทารกไม่สามารถกินนมได้ปกติ
  • น้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ
  • เจ็บหน้าอก
  • การเจริญเติบโตผิดปกติ
ในบางราย อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจจะยังไม่ปรากฎจนผ่านไปอีกหลายปีหลังกำเนิด อาการต่างๆจึงค่อยๆแสดงตัว เช่นอาการดังต่อไปนี้:

อะไรคือสาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเกิดขึ้น เป็นความผิดปกติจากการพัฒนาการสร้างหัวใจตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ข้อบกพร่องดังกล่าวไปรบกวนการไหลเวียนของเลือดที่ไปยังหัวใจ ทำให้การหายใจลำบาก ถึงในเวลานี้เองนักวิจัยเองก็ยังไม่แน่ใจว่าเพราะเหตุใดหัวใจจึงไม่สามารถพัฒนาได้อย่างถูกต้อง สาเหตุที่น่าสงสัยมีดังต่อไปนี้:
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • การได้รับยาบางชนิดในระหว่างตั้งครรภ์ที่ส่งผลให้เด็กเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • ทานแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดในระหว่างตั้งครรภ์
  • มารดามีการติดเชื้อไวรัสในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
  • เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่นเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาของเด็ก

การรักษาโรคหัวใจพิการ 

การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบและชนิดที่บกพร่อง เด็กทารกที่หัวใจบกพร่องไม่มากอาจรักษาตนเองได้ในเวลาต่อมา ในบางรายที่บกพร่องร้ายแรงจำเป็นต้องมีการรักษาอย่างคลอบคลุมเช่น:

การใช้ยา

มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถนำมาช่วยให้หัวใจทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น บางตัวก็มีเพื่อช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดหรืออาจช่วยควบคุมการเต้นของจังหวะหัวใจที่ผิดปกติ

เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดฝังใต้ผิวหนัง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถป้องกันได้ด้วยการนำเครื่องมือบางชนิดมาใช้ เช่นเครื่องคุมจังหวะและเครื่องกระตุ้นมาใช้ เครื่องคุมจังหวะสามารถควบคุมจังหวะหัวใจให้เต้นตามปกติ ส่วนเครื่องกระตุ้นแก้เรื่องการเต้นของหัวใจที่เต้นผิดปกติขั้นรุนแรงที่อาจถึงแก่ชีวิตให้กลับมาถูกต้องได้

การสอดใส่อุปกรณ์ผ่านทางหลอดเลือด

เทคนิคการรักษาวิธีนี้แพทย์จะทำการซ่อมแซมภาวะโรคหัวใจพิกาแต่กำเนิดโดยไมต้องผ่าตัดเปิดช่องอกและหัวใจ ในระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะสอดใส่ท่อบางๆเข้าหลอดเลือดผ่านทางหน้าขาและตรงไปยังหัวใจ เมื่ออุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วแพทย์ก็จะใช้เครื่องมือเล็กๆเพื่อเข้าไปทำการแก้ไขจุดที่บกพร่อง

การผ่าตัดเปิดหัวใจ

การผ่าตัดรูปแบบนี้มีความจำเป็นต้องนำมาใช้หากว่าการผ่าแบบสอดใส่อุปกรณ์ยังไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องของโรคหัวใจพิการได้ การผ่าตัดนี้อาจใช้เพื่อเปิดหัวใจไปปิดรูรั่วในหัวใจ ซ่อมแซมลิ้นหัวใจหรือขยายหลอดเลือด

การปลูกถ่ายหัวใจ

ในบางรายภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไปแล้ว การปลูกถ่ายหัวใจก็อาจมีความจำเป็น ในระหว่างผ่าตัดหัวใจของเด็กจะถูกทดแทนด้วยหัวใจใหม่ที่ได้มาจากผู้บริจาคอวัยวะ

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่

ทั้งหมดขึ้นอยู่กับส่วนที่บกพร่อง การวินิจฉัยและการดูแลรักษาอาจเริ่มตั้งแต่แรกคลอด ใในระหว่างเด็กกำลังโตหรือแม้แต่กับผู้ใหญ่ก็มี ข้อบกพร่องบางอย่างจะยังไม่แสดงอาการใดๆจนเด็กเริ่มโตเข้าวัยผู้ใหญ่ ทำให้การตรวจพบและการรักษาอาจจะช้าไปบ้าง  อาการที่อาจมาพบเจอภายหลังของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีดังต่อไปนี้:
  • หายใจสั้น
  • เจ็บหน้าอก
  • ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
  • เริ่มเหนื่อยง่ายขึ้น
การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่สามารถมีหลากหลายวิธีขึ้นกับหัวใจบกพร่องตรงส่วนไหน บางคนอาจแค่ติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเท่านั้น แต่ในบางรายอาจต้องการยาและการผ่าตัดในการรักษา ในบางรายข้อบกพร่องนั้นๆอาจผ่านการแก้ไขไปแล้วในวัยเด็กแต่ก็อาจกลับมาเป็นปัญหาอีกครั้งในวัยผู้ใหญ่ การซ่อมแซมในครั้งแรกอาจไม่มีประสิทธิผลตลอดไปหรือบางข้อบกพร่องแรกๆก็อาจมาแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป รอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจากแก้ไขในครั้งแรกเองยังอาจเป็นสาเหตุของปัญหาได้อย่างเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สิ่งสำคัญที่สุดคือการพบแพทย์เพื่อติดตามเฝ้าดูอาการของตัวเองอย่างต่อเนื่อง การรักษาอาจไม่ได้รักษาอาการให้หาย แต่เพื่อช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นหัวใจติดเชื้อ หัวใจล้มเหลวและโรคหลอดเลือดสมอง

เราจะป้องกันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้อย่างไร?

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการลดความเสี่ยงในการกำเนิดบุตรที่อาจเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด:
  • หากคุณกำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ทุกชนิดทั้งแบบมีใบสั่งยาหรือแบบที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านยาทั่วไปก่อนกินทุกครั้ง
  • หากคุณเป็นโรคเบาหวาน ต้องทำให้แน่ใจว่าระดับน้ำตาลของคุณอยู่ในระดับควบคุมได้ก่อนการตั้งครรภ์ และสิ่งที่สำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ในการจัดการโรคในระหว่างตั้งครรภ์ด้วย
  • หากคุณไม่เคยฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับโรค ปรึกษาแพทย์ถึงทางเลือกในการป้องกัน
  • หากครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ให้แพทย์ทำการตรวจเช็คยีน เพราะมียีนบางตัวที่มีผลต่อการพัฒนาหัวใจให้เกิดความผิดปกติได้
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สารเสพติดในระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ความผิดปกติของหัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจที่เกิดตั้งแต่แรกเกิด ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติเหล่านี้ และอาจแตกต่างกันอย่างมากขึ้นอยู่กับข้อบกพร่องเฉพาะ ความรุนแรง และประสิทธิภาพในการจัดการ ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของหัวใจพิการแต่กำเนิด:
  • หัวใจล้มเหลว : ในบางกรณี ความสามารถของหัวใจในการสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจลดลงเนื่องจากความผิดปกติของโครงสร้าง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถตอบสนองความต้องการของร่างกายสำหรับเลือดและออกซิเจนได้ อาการอาจรวมถึงเหนื่อยล้า หายใจไม่อิ่ม และของเหลวคั่ง
  • อาการตัวเขียว : ภาวะหัวใจบกพร่องแต่กำเนิดบางชนิดอาจทำให้เกิดการผสมระหว่างเลือดที่มีออกซิเจนและออกซิเจนในเลือด ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในร่างกายลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้ผิวหนังและเยื่อเมือกเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่าตัวเขียว
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ : จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากความผิดปกติของหัวใจที่มีมา แต่กำเนิด แรงกระตุ้นทางไฟฟ้าที่ผิดปกติในหัวใจอาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นช้า ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลม หรือใจสั่นได้
  • ภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ : บุคคลที่มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เยื่อบุชั้นในของหัวใจหรือลิ้นหัวใจ แบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและเกาะติดกับเนื้อเยื่อหัวใจที่เสียหาย นำไปสู่ภาวะร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ความดันโลหิตสูงในปอด : ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิดอาจทำให้ความดันในหลอดเลือดในปอดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่าความดันโลหิตสูงในปอด สิ่งนี้อาจทำให้หัวใจตึงและนำไปสู่โรคแทรกซ้อน เช่น หัวใจล้มเหลว
  • โรคหลอดเลือดสมอง : ในกรณีที่ลิ่มเลือดก่อตัวขึ้นภายในหัวใจเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ มีความเสี่ยงที่ลิ่มเลือดเหล่านี้จะหลุดออกและเดินทางไปที่สมองทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • พัฒนาการล่าช้า : ในทารกและเด็กที่มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงกว่านั้น มีความเสี่ยงที่เลือดไหลเวียนไปยังสมองลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในพัฒนาการและความบกพร่องทางสติปัญญา
  • ไม่สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ : เด็กและผู้ใหญ่ที่มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจมีข้อจำกัดในความสามารถในการออกกำลังกายเนื่องจากการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดบกพร่อง
  • ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ : ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดบางอย่างเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ลิ้นหัวใจไหลรั่ว หรือการตีบ ภาวะเหล่านี้อาจทำให้หัวใจเครียดมากขึ้น
  • ผลกระทบทางอารมณ์และจิตวิทยา : การมีชีวิตอยู่กับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจเป็นเรื่องท้าทายทั้งทางอารมณ์และจิตใจสำหรับทั้งบุคคลและครอบครัว การรับมือกับขั้นตอนทางการแพทย์ ข้อจำกัด และความไม่แน่นอนอาจทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้าได้
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ การจัดการและวินิจฉัยของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้รับการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีความก้าวหน้าในเทคนิคทางการแพทย์และศัลยกรรม ผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถมีชีวิตที่สมบูรณ์ได้ด้วยการดูแลทางการแพทย์ที่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และการติดตามผลอย่างต่อเนื่องกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่บุคคลอาจเผชิญจะขึ้นอยู่กับสภาพเฉพาะและความรุนแรง

นี่คือที่มาของแหล่งบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/congenital-heart-disease/types/
  • https://medlineplus.gov/congenitalheartdefects.html
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adult-congenital-heart-disease/symptoms-causes/syc-20355456

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด