แมวข่วน (Cat Scratch Fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แมวข่วน (Cat Scratch Fever) คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้ได้รับชื่อนี้เนื่องจากผู้ป่วยจะติดเชื้อจากแมวที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Bartonella henselae

อาการของไข้แมวข่วน

แมวเป็นพาหะของ B. henselae ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วแมวจะไม่ป่วยจากแบคทีเรียชนิดนี้ ทำให้เราไม่สามารถแยกแยะได้ว่าแมวตัวไหนเป็นพาหะนำเชื้อโรคนี้ แมวนั้นได้รับแบคทีเรียจากหมัดที่ติดเชื้อ การที่คนจะได้รับแบคทีเรียโดยตรงนั้นเป็นไปได้น้อยมาก อาการของไข้แมวข่วนได้แก่
  • ตุ่มพุพองบริเวณที่โดนแมวข่วนหรือกัด
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่ถูกกัดหรือข่วนบวม
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • ไข้ต่ำๆ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
อาการอื่นๆ ของไข้แมวข่วนที่พบได้น้อย อาการรุนแรงที่พบในแมวข่วน ผู้ป่วยจะมีตุ่มขึ้นที่ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ 3-10 วันหลังสัมผัสกับการโดนแมวกัดหรือข่วน อาการอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองบวมอาจไม่เกิดขึ้นทันที อาจจะเกิดในสัปดาห์ที่ 3 ของการติดเชื้อ โรคอื่นๆ ที่มีอาการใกล้เคียงกับไข้แมวข่วน คือ
  • Lymphadenitis ต่อมน้ำเหลือมอักเสบและบวม
  • Brucellosis เป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และต่อมน้ำเหลืองบวม
  • Lymphogranuloma venereum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่ส่งผลให้เกิดแผลที่ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ รอบๆแผลจะมีลักษณะเป็นตุ่มและต่อมน้ำเหลืองบวม
  • Lyme เป็นผื่นและอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่

สาเหตุของไข้แมวข่วน

ผู้ป่วยได้รับเชื้อจากการโดนกัดหรือข่วนจากแมวที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถติดโรคได้จากการที่น้ำลายจากแมวที่ติดเชื้อเข้าไปในแผลเปิด หรือสัมผัสกับตา แต่โรคนี้จะไม่แพร่จากคนสู่คน

ใครมีความเสี่ยงเป็นโรคแมวข่วนบ้าง

Cat Scratch Fever ทุกคนที่สัมผัสกับแมวล้วนแต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นไข้แมวข่วนได้ อาการไข้แมวข่วนจะรุนแรงขึ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้

การวินิจฉัยแมวข่วน

การวินิจฉัยไข้แมวข่วนแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย แมวข่วนนั้นยากที่จะวินิจฉัยจากอาการเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องโดยทำการตรวจเลือด Polymerase chain reaction (PCR) เพื่อดูว่ามีแบคทีเรีย B. henselae อยู่ในร่างกายหรือไม่

ภาวะแทรกซ้อนของไข้แมวข่วน

ภาวะแทรกซ้อนของไข้แมวข่วนพบได้ยาก แต่ก็สามารถพบได้ มีดังต่อไปนี้

โรคไข้สมองอักเสบ

Encephalopathy เป็นโรคทางสมองที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเชื้อแพร่กระจายไปที่สมอง สามารถทำลายสมองได้ และรักษาไม่ทันเวลาอาจสร้างความเสียหายอย่างถาวร

โรคประสาทอักเสบ

Neuroretinitis คือ อาการเส้นประสาทตาและจอประสาทตาอักเสบ ทำให้สายตาพร่ามัว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

กระดูกอักเสบ

Osteomyelitis คือ อาการที่กระดูกติดเชื้อแบคทีเรีย สร้างความเสียหายของกระดูก และอาจรุนแรงจนถึงขั้นต้องสูญเสียอวัยวะ

Parinaud oculoglandular syndrome

Parinaud oculoglandular syndrome คือ เป็นอาการติดเชื้อที่ตา มีลักษณะคลายตาแดง ไข้แมวข่วนเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการนี้ อาจเป็นผลมาจากเชื้อ B. henselae เข้าตาโดยตรง หรือจากเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด 

วิธีการรักษาไข้แมวข่วน

ไข้แมวข่วนไม่ใช่โรคร้ายแรง และไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา กรณีที่ได้รับการรักษา จะทำการรักษาโดยยาปฏิชีวนะสามารถบรรเทาอาการได้ Azithromycin (Zithromax) ใช้เพื่อลดอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองอย่างรวดเร็ว และยาอื่นๆ ที่ใช้ในการรักษาได้แก่
  • Ciprofloxacin (Cipro)
  • Rifampin (Rifadin)
  • Tetracycline (Sumycin)
  • Trimethoprim-sulfamethoxazole (Bactrim, Septra)
เวลาที่ใช้ในการรักษา และปริมาณยาปฏิชีวนะที่ได้รับจะแตกต่างกันไปตามแต่อาการและความรุนแรง หากพบผลข้างเคียงจากการใช้ยาโปรดปรึกษาแพทย์ ตุ่มจากแมวข่วนสามารถอยู่ได้นาน 1-3 สัปดาห์ โดยต่อมน้ำเหลืองที่บวมจะหายภายใน 2-4 เดือน แต่ในบางกรณีสามารถเป็นได้นานกว่า 1 ปี

การป้องกันไข้แมวข่วน

ไข้แมวข่วนสามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแมว ระวังการถูกกัดหรือข่วนจากแมว อาจจะตัดเล็บของแมว เพื่อลดรอยขีดข่วน ควรล้างมือหลังเล่นกับแมวเพื่อป้องกันโรค รวมถึงระวังอย่าให้แมวเลียที่แผลเปิดหรือดวงตา เลี้ยงแมวของภายในบ้าน และป้องกันยุงกัดแมว เพื่อลดความเสี่ยงที่แมวจะติดเชื้อ B. henselae กำจัดหมัดให้แมว และทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อไรที่ควรพบแพทย์

แมวข่วนสามารถดูแลด้วยตนเองได้ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมดัวยควรพบแพทย์
  • ต่อมน้ำเหลืองอักเสบและบวม
  • มีบาดแผลที่รักษาไม่หายภายใน 2-3 วัน
  • มีแผลที่แดงอักเสบรอบๆ แผล
  • มีไข้ต่ำๆ หลังจากถูกแมวกัดหรือข่วน
หากได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นไข้แมวข่วน โปรดพบแพทย์อีกครั้งหากมีอาการดังต่อไปนี้
  • อาการเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง
  • มีไข้สูง
  • ไม่สบายตัว
  • มีอาการใหม่ๆ เพิ่ม

ภาพรวมของไข้แมวข่วนในระยะยาว

ผู้ป่วยไข้แมวข่วนโดยทั่วไปจะอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องรักษา และผู้ที่ต้องการการรักษามักยาปฏิชีวนะจะช่วยบรรเทาอาการ และภาวะแทรกซ้อนจะเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอเท่านั้น

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/healthypets/diseases/cat-scratch.html
  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/cat-scratch-fever
  • https://kidshealth.org/en/parents/cat-scratch.html
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/311685
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด