• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home บทความสุขภาพ

โรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
22/01/2021
in บทความสุขภาพ
0
โรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา
0
SHARES
193
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาพรวม
  • สาเหตุของโรคเบอร์เกอร์
  • อาการของโรคเบอร์เกอร์
  • การตรวจและวินิจฉัย
  • ทางเลือกในการรักษาโรคเบอร์เกอร์
  • การป้องกันโรคเบอร์เกอร์
  • แนวโน้มในระยะยาว
5 / 5 ( 1 vote )

ภาพรวม

โรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s disease) คือการอักเสบของหลอดเลือดขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมักเกิดกับหลอดเลือดแดง โดยจะไปทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมือและเท้าอุดตัน นำไปสู่อาการปวดและเนื้อเยื่อถูกทำลาย

โรคดังกล่าวถูกพบไปทั่วโลก และเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แม้ว่าส่วนใหญ่มักจะเกิดในชายชาวเอเชีย และตะวันออกกลาง อายุระหว่าง 40-45 ปี ที่สูบบุหรี่จัด 

สาเหตุของโรคเบอร์เกอร์

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคเบอร์เกอร์ แต่การสูบบุหรี่จัดจะเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาโรคเบอร์เกอร์ได้

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่าทำไมควันบุหรี่ถึงเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยง แต่พบความเกี่ยวพันระหว่างข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ ในคลินิกเมโย ผู้ป่วยโรคเบอร์เกอร์ทุกรายมีประวัติสูบบุหรี่ 

อาการของโรคเบอร์เกอร์

อาการของโรคเบอร์เกอร์จะเริ่มจากการที่หลอดเลือดแดงบวม และเกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือด ทำให้กระแสเลือดถูกขัดขวาง และเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้น้อยลง ผลที่ตามมาคือ เนื้อเยื่อตาย เนื่องจากขาดสารอาหารและออกซิเจน

อาการของโรคเบอร์เกอร์มักเริ่มจากอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค ตามด้วยการอ่อนแรง อาการของโรคมีดังนี้:

  • รู้สึกปวดภายในมือและเท้า หรือบริเวณแขนและขา ซึ่งอาการปวดจะเป็นๆหายๆ
  • เกิดบาดแผลภายในนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า
  • หลอดเลือดดำอักเสบ
  • นิ้วมือ หรือนิ้วเท้าซีด เมื่ออยู่ในที่ที่อุณหภูมิเย็น

การตรวจและวินิจฉัย


โรคเบอร์เกอร์จะถูกวินิจฉัยจากอาการทางคลินิก หมายความว่า ไม่มีการตรวจที่จำเพาะสำหรับโรคดังกล่าว แม้ว่าจะมีหลายอาการที่มีลักษณะคล้ายกับอาการของโรคเบอร์เกอร์ ซึ่งแพทย์จะต้องใช้ความสามารถในการส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยแยกโรค

เมื่อเริ่มมีอาการเกิดขึ้น แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อส่งตรวจวินิจฉัยแยกจากโรคลูปัส โรคเบาหวาน หรือความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หากผลเป็นลบ แพทย์จะเพิ่มการสั่งตรวจอัลตราซาวน์หลอดเลือด หรือการฉีดสีเข้าไปดูภายในหลอดเลือด (Angiogram)

การวินิจฉัยหลอดเลือดด้วยการฉีดสี (Angiogram) เป็นการ X-ray พิเศษชนิดหนึ่งที่เพิ่มการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดแดง ขณะเดียวกันก็ทำการ X-ray การตรวจนี้จำเป็นต้องสอดเข็มเข้าไปในหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหรือแขน และบางครั้งจำเป็นต้องทำการสวนหลอดเลือดในคราวเดียวกัน

การตรวจอื่นๆที่แพทย์อาจจะทดสอบ คือการทำ Allen test เป็นการทดสอบการไหลเวียนของเลือดที่มาเลื้ยงที่มือ ถ้าผลทดสอบเป็นบวกจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเบอร์เกอร์ได้ แต่ก็ยังสามารถบ่งบอกถึงสภาวะอื่นๆได้อีกมากมาย

ทางเลือกในการรักษาโรคเบอร์เกอร์

ยังไม่มีทางรักษาโรคเบอร์เกอร์ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวที่จะสามารถบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้โรคดำเนินไปเร็ว คือการเลิกสูบบุหรี่

นอกจากนี้ ในบางรายสามารถควบคุมความปวดได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศหนาว

ในบางกรณี ความปวดที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงมากจนต้องพึ่งการผ่าตัดที่เรียกว่า Sympathectomy เพื่อขจัดความเจ็บปวด

ในทางกลับกัน มีคนรายงานว่ามีอาการดีขึ้นด้วยการดื่มของเหลวมากๆ และใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดได้

การป้องกันโรคเบอร์เกอร์

โรคดังกล่าวยังไม่มีวัคซีน การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตสามารถป้องกันบุคคลไม่ให้เกิดโรคเบอร์เกอร์ได้ แม้ว่าการเลิกสูบบุหรี่จะสามารถป้องกันการลุกลามของโรค

แนวโน้มในระยะยาว

หากคุณสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ อาการที่เกี่ยวพันกับโรคเบอร์เกอร์ จะไม่เกิดขึ้น และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา

หากคุณมีอาการรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน เช่น การมีเนื้อตาย หรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหาการไหลเวียนของเลือด อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การเกิดเนื้อตายที่รุนแรงจำเป็นต้องตัดแขนขาส่วนนั้นออก การไปพบแพทย์เมื่อคุณเริ่มรู้สึกไม่สบายขะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/tobacco/campaign/tips/diseases/buergers-disease.html
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/buergers-disease/symptoms-causes/syc-20350658
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-buergers-disease

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
กระดูกสะโพกหัก

กระดูกสะโพกหัก (Broken Hip) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.