หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) คือการที่หลอดลมซึ่งหน้าที่ส่งลมไปยังปอด เมื่อหลอดลมเกิดอาการอักเสบ จะทำให้เกิดเสมหะในหลอดลม ทำให้เกิดอาการไอ หายใจสั้นๆ และมีไข้ต่ำๆ หลอดลมอักเสบสามารถเป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง :
  • หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน โดยทั่วไปแล้วอาการหลอดลมอักเสบจะเกิดขึ้นน้อยกว่า 10 วัน แต่อาการไอสามารถเกิดขึ้นได้ต่อเนื่องหลังจากนั้นอีกเป็นสัปดาห์
  • หลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง อาการนี้จะคงอยู่นานหลายสัปดาห์ และสามารถกลับมาเป็นได้อีก พบในผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือถุงลมโป่งพอง

อาการหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน

อาการหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันในระยะแรก จะมีอาการคล้ายกับไข้หวัด

อาการทั่วไป

ประกอบไปด้วย: ภายหลังการติดเชื้อระยะแยก อาจจะเริ่มมีออาการไอแห้งๆ หลังจากนั้นจะเริ่มมีเสมหะ การไอแบบมีเสมหะนั้นแสดงถึงว่าหลอดลมอักเสบแล้ว และจะเป็นไปต่อเนื่อง 10 วัน หรืออาจจะนานถึง 3 สัปดาห์ อาการอื่นๆที่สำคัญคือสีของเสมหะจะเปลี่ยนจากขาวใสไปเป็นเขียวหรือเหลือง อาการนี้ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่เป็นการบอกว่าระบบภูมิคุ้มกันนั้นกำลังทำงาน

อาการที่ต้องได้รับการรักษาโดยทันที

ผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้ ต้องเข้ารับการรักษาโดยทันที:
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไออย่างรุนแรง
  • หายใจติดขัด
  • เจ็บหน้าอก
  • มีไข้สูงกว่า 38°C
  • ไอยาวนานกว่า 10 วัน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

สาเหตุของหลอดลมอักเสบ

สาเหตุของหลอดลมอักเสบประกอบไปด้วย การติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม รวมถึงสุขภาพของปอด ไวรัสเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อ 85 – 95 เปอร์เซ็นต์ของหลอดลมอักเสบในผู้ใหญ่ และสามารถทำให้เกิดอาการไข้หวัดร่วมด้วยกับหลอดลมอักเสบ การติดเชื้อจากแบคทีเรียพบได้ค่อนข้างน้อยมาก การติดเชื้อจากแบคทีเรียสามารถพัฒนาจากการติดเชื้อจากไวรัสได้ แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในหลอดลมได้แก่ Mycoplasma pneumoniae, Chlamydia pneumoniae, และ Bordetella pertussis หลอดลมอักเสบจากสารระคายเคือง เกิดจากการหายใจนำสารระคายเคือง เช่ นควันหมอก หรือควันสารเคมี เข้าไป ทำให้เกิดการอักเสบในหลอดลมและอาจนำไปสู่อาการหลอดลมอักเสบโดยเฉียบพลัน ผู้ที่มีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือโรคหอบหืด สามารถนำไปสู่อาการหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบจากกรณีนี้ไม่ใช่โรคติดต่อเพราะไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

ปัจจัยเสี่ยงของหลอดลมอักเสบ

ประกอบไปด้วย:
  • สูดดมควันบุหรี่
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • กรดไหลย้อนในกระเพาะอาหาร
  • การสัมผัสกับสารระคายเคืองบ่อยครั้ง อาจจะเป็นควัน ฝุ่น หรือไอสารเคมี
  • ไม่ได้รับการฉีดวัคซี สำหรับไข้หวัด ปอดบวมและไอ
  • อายุมากกว่า 50 ปี

การวินิจฉัยหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน

หลายครั้งที่อาการหลอดลมอักเสบสามารถหายได้โดยไม่ต้องได้รับการรักษา แต่หากคุณเข้ารับการรักษาแพทย์จะเริ่มการตรวจร่างกายโดยทั่วไป การตรวจร่างกายโดยทั่วไปได้แก่ การฟังเสียงปอดขณะที่ผู้ป่วยหายใจ เพื่อฟังว่ามีเสียงหายใจดังหรือไม่ แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการไอว่ามีความรุนแรง หรือความถี่อย่างไรบ้าง รวมถึงถามเกี่ยวข้องกับสุขภาพก่อนหน้า เช่น เป็นไข้หวัดมาก่อนหรือไม่ มีปัญหาเกี่ยวกับหายใจหรือไม่ เป็นต้น หากแพทย์ไม่แน่ใจเกี่ยวกับวินิจฉัย อาจจะใช้การเอ็กซเรย์ปอดร่วมด้วยเพื่อตรวจสอบว่า ผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบหรือไม่ และอาจจะตรวจสอบเลือดเพื่อทดสอบการติดเชื้ออื่นๆ

วิธีรักษาหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน

หากหลอดลมอักเสบอาการไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำวีธีการรักษาด้วยตนเอง

การดูแลรักษาด้วยตนเอง

ขั้นตอนดังต่อไปนี้จะช่วยให้อาการหลอดลมอักเสบของคุณดีขึ้น
  • ทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน Ibuprofen (Advil) และ นาพร็อกเซน (Aleve, Naprosyn) ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอของคุณ
  • สร้างความชื้นในบรรยากาศรอบๆ วิธีนี้จะช่วยคลายเมือกในจมูกและอกของผู้ป่วย ทำให้หายใจง่ายขึ้น
  • ดื่มของเหลวมาก ๆ เช่น น้ำหรือน้ำชา เพื่อทำให้เสมหะลดลง 
  • ใส่ขิงลงในชาหรือน้ำร้อน ขิงเป็นสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติที่สามารถลดอาการหลอดลมอักเสบและอาการระคายเคือง
  • กินน้ำผึ้ง เพื่อบรรเทาอาการไอ ทั้งยังมีคุณสมบัติต้านไวรัสและแบคทีเรีย
หากกำลังมองหาที่จะลองวิธีการรักษา การดื่มชาผสมขิง หรือกินน้ำผึ้ง จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น เคล็ดลับเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการส่วนใหญ่ได้ แต่ถ้าผู้ป่วยหายใจดังเสียงฮืด ๆ หรือมีปัญหาในการหายใจให้พบแพทย์โดยทันที แพทย์อาจจะให้ยาสูดดมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น

การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญ ยาปฏิชีวนะนั้นไม่แนะนำใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากการอักเสบส่วนใหญ่ เกิดจากไวรัสและยาปฏิชีวนะไม่ออกฤทธิ์กับไวรัสดังนั้นยาปฎิชีวนะจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการหลอดลมอักเสบ มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นโรคปอดอักเสบ แพทย์อาจจะให้ยาปฏิชีวนะเมื่อคุณมีอาการไข้ร่วมด้วย อาการหลอดลมอักเสบสามารถพัฒนาไปเป็นปอดอักเสบได้ และยาปฏิชีวนะสามารถช่วยป้องกันการเกิดขึ้นได้

หลอดลมอักเสบเป็นโรคติดต่อหรือไม่

โรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันถือว่าเป็นโรคติดต่อ เนื่องจากมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ โดยผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้ ผ่านละอองสารคัดหลั่งจากการจามและไอขณะที่กำลังพูดคุยกัน หลอดลมอักเสบแบบเรื้อรังนั้นไม่ถือเป็นโรคติดต่อ เนื่องจากไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ แต่การอักเสบเกิดจากการสัมผัสสารระคายเคืองในระยะยาว เช่น ควันบุหรี่  ดังนั้นจะไม่สามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้

ภาพรวมและการป้องกันหลอดลมอักเสบ

อาการหลอดลมอักเสบนั้นสามารถหายเองได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยได้รับการติดเชื้อจะทำให้ยืดเวลาอาการหลอดลมอักเสบต่อไป  โรคหลอดลมอักเสบนั้นไม่มีวิธีการป้องกันที่ทำให้ 100% เพราะสาเหตุของอาการอักเสบนั้นมีหลากหลาย อย่างไรก็ตามคุณสามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสปาก จมูกหรือตากับผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แว่นตาหรือช้อนส้อม
  • ล้างมือให้สะอาดและสม่ำเสมอ
  • เลิกสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการสูดดม
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
  • รับวัคซีนสำหรับไข้หวัด(common cold) ปอดบวม(pnuemania)และไอ(cough)
  • งดการสัมผัสกับสารระคายเคืองในอากาศ เช่น ฝุ่น ควันสารเคมีและมลพิษอื่น โดยใช้การสวมหน้ากากป้องกัน
หาผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอจากปัญหาด้านสุขภาพ หรืออายุที่มากขึ้น ควรจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อหลีกเลี่ยงอาการหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน เนื่องจากสามารถพัฒนาเป็นระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลันหรือปอดอักเสบ การทำตามคำแนะนำด้านบนสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นหลอดลมอักเสบได้

อาหารสำหรับโรคหลอดลมอักเสบ

การอักเสบของหลอดลมทำให้เกิดไอมีเสมหะ มีไข้ต่ำๆ หายใจถี่ หายใจมีเสียงหวีด การสูบบุหรี่มากเกินไปเป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดลมอักเสบ การสัมผัสมลพิษทางอากาศ การสูดดมฝุ่นเป็นระยะเวลานานก็นำไปสู่โรคนี้ได้เช่นกัน ในกรณีของโรคหลอดลมอักเสบ การป้องกันการติดเชื้อและรักษาปอดให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญมาก อาหารที่สมดุลซึ่งอุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยให้คุณหายใจได้สะดวกและสบาย
อาหารที่ต้องบริโภค อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
ผลไม้ ทับทิม อะโวคาโด มะละกอ แอปเปิ้ล ลูกแพร์ อ้อย แตงไทย แอปริคอต ส้ม กล้วย ลูกพีช องุ่น ผลไม้ตระกูลส้ม เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่
ผัก ดอกกะหล่ำ พริกหยวก ฟักทอง น้ำเต้า แครอท บรอกโคลี ผักชี กระเทียม ขิง มะระ ฟักทอง หัวผักกาด หัวหอม บีทรูท กะหล่ำปลี บรอกโคลี ถั่วลันเตา บวบ มะเขือ ถั่ว มันฝรั่ง มะพร้าว กระเจี๊ยบเขียว
ธัญพืช ข้าวกล้อง, ธัญพืชถั่วเหลือง, ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต, ข้าวเกล็ด, ข้าวพอง, เซโมลินา ข้าว, ขัดขาว, ข้าวโพด.
พืชตระกูลถั่ว ถั่วเลนทิลสีเหลือง, กรัมสีเขียว, ถั่วลันเตาแตก, กรัมม้า, ถั่วชิกพีแตก กรัมดำ, ถั่วไต, พัลส์แช่แข็งแห้ง, ถั่วชิกพี
เครื่องเทศ ผักชี, เฟนูกรีก, สะระแหน่, พริกไทยดำ, เกลือสินเธาว์, ยี่หร่า, โหระพา, ขมิ้น, ยี่หร่า พริกแดงและเขียว, เกลือแกง.
น้ำมัน เนยใสวัว น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันเติมไฮโดรเจน
ถั่ว อัลมอนด์ เมล็ดแฟลกซ์ ลูกเกด เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์, พิสตาชิโอ.
ผลิตภัณฑ์นม นมไขมันต่ำผสมขมิ้น นมสด โยเกิร์ตไขมันเต็ม นมข้น นมเปรี้ยว ชีส ครีม
เครื่องดื่ม น้ำมะพร้าว ซุป ชาสมุนไพร น้ำผลไม้สด แอลกอฮอล์ ซุปแบบซอง  เครื่องดื่มอัดลม เครื่องดื่มรสหวาน

นี่คือลิงค์แหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bronchitis/symptoms-causes/syc-20355566
  • https://www.webmd.com/lung/understanding-bronchitis-basics
  • https://www.nhs.uk/conditions/bronchitis/
  • https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/bronchitis

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด