เจ็บเต้านม (Breast Pain) : อาการ สาเหตุเเละการรักษา
เจ็บเต้านมคืออะไร
อาการเจ็บเต้านม (Breast Pain) เกิดขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนเอสโทรเจนเพิ่มมากขึ้นในช่วงวัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิง ช่วงที่มีประจำเดือนมีฮอร์โมนหลายชนิดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมเกิดอาการเจ็บปวดหรือคัดหน้าอก ดังนั้นอาการคัดหน้าอกของผู้หญิงจึงเป็นอาการที่เกิดขึ้นเป็นปกติ
อาการเจ็บเต้านมภาษาอังกฤษเรียกว่า mastalgia เป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง โดยปกติอาการเจ็บปวดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่อาการเจ็บหน้าที่สัมพันธ์กับประจำเดือนหรือไม่เกี่ยวกับรอบประจำเดือน
อาการเจ็บเต้านมที่สัมพันธ์กับประจําเดือนหมายถึงอาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีประจำเดือนโดยอาการเจ็บเต้านมจะค่อยๆหายไปในระหว่างหรือหลังเป็นประจำเดือน
สาเหตุของอาการเจ็บเต้านม
อาการเจ็บเต้านมเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่ได้แก่การผันผวนของฮอร์โมนและถุงน้ำชนิดไฟโบรซีสติคในเต้านม
การผันผวนของฮอร์โมน
ในช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือนทำให้เกิดการผันผวนของฮอร์โมน ซึ่งได้แก่ฮอร์โมนเอสโทรเจนเเละโพรเจสเทอโรน โดยฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้เป็นสาเหตุทำให้เต้านมคัดตึงและเกิดอาการเจ็บปวด
พบว่าผู้หญิงมีอาการเจ็บเต้านมมากขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากร่างกายมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของฮอร์โมนเมื่อผู้หญิงมีอายุเพิ่มมากขึ้น ในบางกรณีผู้หญิงที่เคยอาการปวดเต้านมระหว่างมีประจำเดือนจะไม่มีอาการเจ็บเต้านมในวัยหมดประจำเดือน
ถ้าหากอาการเจ็บเต้านมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยปกติเเล้วคุณสามารถสังเกตุมีอาการเจ็บเต้านมเกิดขึ้นอย่างรุนเเรงในช่วงระหว่าง 2-3 วันก่อนมีประจำเดือนและบางครั้งอาจรู้สึกเจ็บปวดต่อเนื่องไปจนถึงมีรอบเดือน
สำหรับการระบุอาการเจ็บเต้านมว่ามีความเกี่ยวข้องกับรอบประเดือนหรือไม่ ควรจดบันทึกอาการในช่วงก่อนมีประจำเดือนและในระหว่างมีประจำเดือนมาและควรสังเกตุว่าคุณมีอาการเจ็บเต้านมตลอดทั้งเดือนหรือไม่
การเกิดประจำเดือนส่งผลต่อการมีรอบเดือนของผู้หญิงและสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านมได้ โดยผู้หญิงมักมีอาการเจ็บเต้านมระหว่างช่วง
- วัยเจริญพันธุ์
- การตั้งครรภ์
- วัยหมดประจำเดือน
ก้อนซีสต์ในเต้านม
เมื่อผู้หญิงมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาการเจ็บเต้านมมักเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง เนื้อเยื่อบริเวณหน้าอกถูกแทนที่ด้วยไขมัน จากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดก้อนซีสต์และมีเนื้อเยื่อไฟบรัสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงของก้อนซีสต์ชนิดไฟโบรซีสติคในเต้านมหรือมีเนื้อเยื่อชนิดไฟโบรซีสติคในเต้านมเพิ่มมากขึ้น
เมื่อมีเนื้อเยื่อชนิดไฟโบรซีสติคเกิดขึ้นไม่ได้ทำให้เจ็บเต้านมเสมอไป โดยปกติการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อในเต้านมดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดความกังวลแต่อย่างใด
เนื้อเยื่อชนิดไฟโบรซีสติคในเต้านมมีลักษณะเป็นก้อนเมื่อคลำบริเวณเต้านมและอาจทำให้เกิดจุดกดเจ็บได้ โดยปกติมักเกิดขึ้นที่บริเวณเนินอกหรือส่วนนอกของเต้านม นอกจากนี้ก้อนที่เต้านมอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นในช่วงมีประจำเดือน
การให้นมบุตรเเละอาการเจ็บเต้านม
การให้น้ำบุตรเป็นการให้อาหารโดยธรรมชาติแก่เด็กทารก แต่บางครั้งการให้นมบุตรทำให้เกิดความลำบากได้ คุณผู้หญิงอาจมีอาการเจ็บเต้านมในขณะให้นมบุตรได้นอกจากนี้อาการเจ็บอกยังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุได้แก่
ภาวะเต้านมอักเสบ
ภาวะเต้านมอักเสบเป็นการติดเชื้อที่ท่อน้ำนม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านมอย่างรุนเเรง รวมถึงทำให้มีอาการคัน ปวดเเสบปวดร้อนหรือเป็นแผลพุพองที่หัวนม นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆได้แก่รอยแดงบนเต้านมและมีไข้ขึ้น สำหรับภาวะเต้าอักเสบนี้ โดยแพทย์จะทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
ภาวะเต้านมคัดตึง
ภาวะเต้านมคัดตึงเกิดขึ้นเมื่อเต้านมตึงมากเกินไป จนทำให้เต้านมของคุณมีขนานใหญ่ขึ้นและทำให้ผิวหนังบริเวณหน้าอกรู้สึกแน่นตึง จนเกิดความรู้สึกเจ็บปวด ถ้าหากคุณไม่สามารถให้นมบุตรได้ ควรปั๊มน้ำนมออกหรือปล่อยให้น้ำนมไหลออกมาเอง
โดยสามารถทำด้วยการใช้นิ้วหัวเเม่มือกดบนหน้าอกและใช้นิ้วมือที่เหลือไว้กดที่ใต้เต้านม ค่อยบีบเต้านมและคลายออกจนกระทั่งรู้สึกคัดเต้านมน้อยลง
การดูดนมผิดปกติ
ถ้าหากเด็กทารกดูดนมจากหัวนมอย่างไม่เหมาะสม มีแนวโน้มทำให้คุณเกิดอาการเจ็บเต้านมได้ สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกของคุณดูดนมจากเต้านมไม่ถูกต้องได้แก่มีอาการเจ็บปวดหัวนมและหัวนมแตกเป็นแผล
การปรึกษาและการศึกษาวิธีให้นมบุตรหลังคลอดบุตรโดยผู้เชี่ยวชาญ ช่วยทำให้คุณรู้จักวิธีให้นมบุตรได้อย่างเหมาะสม
โปรดจำไว้ว่า : การให้นมบุตรไม่ได้ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ควรไปพบเเพทย์ถ้าหากหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงเด็กทารก ถ้าหากคุณมีอาการเจ็บปวดระหว่างให้นมบุตร
สาเหตุอื่นๆ
อาการเจ็บเต้านมที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆได้แก่
การทานอาหาร
การทานอาหารของผู้หญิงสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ ถ้าหากผู้หญิงทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นอาหารที่มีไขมันสูงและคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสีสามารถเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้เช่นกัน
อาการบาดเจ็บบริเวณส่วนอื่นๆของร่างกาย
บางครั้งอาการเจ็บเต้านมไม่ได้เกิดจากเต้านม แต่อาจเกิดจากการระคายเคืองที่บริเวณทรวงอกและแขนหรือกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งโดยปกติอาการบาดเจ็บเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อคุณทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการม้วนตัวและการวิ่ง รวมถึงการขุดดินหรือเล่นสกี
ขนาดของหน้าอก
ผู้หญิงที่มีหน้าอกขนาดใหญ่เกิดปกติหรือขนาดใหญ่เกิดสัดส่วนของร่างกายเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่คอหรือหัวไหล่ได้
การผ่าตัดศัลยกรรมทรวงอก
ถ้าหากคุณเคยผ่าตัดหน้าอก อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดจากบาดแผลผ่าตัดที่กำลังหายดีขึ้น
การใช้ยา
การใช้ยาต้านโรคซึมเศร้า การทำฮอร์โมนบำบัด การใช้ยาปฏิชีวนะและการใช้ยารักษาโรคหัวใจสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเต้านมได้ ดังนั้นคุณควรหยุดทานยาเหล่านี้ ถ้าหากเกิดอาการเจ็บเต้านม และควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาอื่นๆ
การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอพิเนฟรีนในเนื้อเยื่อเต้านมเพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านม
วิธีช่วยบรรเทาอาการเจ็บเต้านมมีอะไรบ้าง
วิธีการรักษามีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอาการเจ็บหน้าเต้านมว่ามีสาเหตุเกิดจากรอบประจำเดือนหรือไม่ โดยก่อนเข้ารับการรักษา แพทย์จะพิจารณาอายุ ประวัติทางการเเพทย์และความรุนเเรงของอาการเจ็บหน้าอก
วิธีรักษาอาการเจ็บเต้านมที่เกิดจากการมีประจำเดือนได้แก่
- ควรสวมใส่ชุดชั้นในเพื่อพยุงหน้าอก 24 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอกมากขึ้น
- ลดการบริโภคโซเดียม
- ทานอาหารเสริมแคลเซียม
- ทานยาคุมเพื่อช่วยปรับระดับฮอร์โมน
- ทานยาที่ออกฤทธิ์ควรคุมระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนเช่นยา tamoxifen
- ทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ได้แก่ กลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น ยา ibuprofen หรือ ยา acetaminophen
สำหรับการรักษาอาการเจ็บเต้านมที่ไม่เกี่ยวข้องกับรอบประจำเดือนขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก เมื่อค้นพบสาเหตุเเล้ว แพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีเฉพาะ
ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนเริ่มทานอาหารเสริมเพื่อมั่นใจว่าการทานอาหารเสริมไม่ได้ทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือรบกวนการออกฤทธิ์ของยาที่คุณต้องทานเป็นประจำ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/breast-pain/symptoms-causes/syc-20350423
- https://www.nhs.uk/conditions/breast-pain/
- https://www.webmd.com/women/guide/why-do-my-breasts-hurt
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team