โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) คือโรคที่เกิดจากเซลล์บนผิวของต่อมเต้านมได้รับผลกระทบจากสารก่อมะเร็ง ทำให้ยีนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จนทำให้เซลล์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่สามารถควบคุมได้ หากเกินขีดจำกัดภาวะของร่างกายรับไหว จนกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมจะอยู่ในช่วงระหว่างอายุ 40-60 ปี ซึ่งอยู่ในวัยก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน  โดยปกติแล้วเซลล์ของมะเร็งเต้านมที่กลายพันธ์ จะก่อตัวขึ้นจากท่อเล็กๆ ในเต้านม บริเวณต่อมที่ผลิตน้ำนมไปจนถึงหัวนม เซลล์มะเร็งจะเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อไขมันหรือเนื้อเยื้อที่อยู่ภายในเต้านมของผู้ป่วย  หากเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถควบคุมได้และเซลล์มะเร็งจะเดินทางไปยังต่อมต่อมน้ำเหลืองใต้แขน ซึ่งต่อมน้ำเหลืองเป็นเส้นทางหลักที่ทำให้เซลล์มะเร็งเดินทางไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย

ภาพรวมของโรคมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมสามารถทำให้เกิดอาการได้หลายอย่างและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน หากกังวลเกี่ยวกับจุดหรือการเปลี่ยนแปลงบริเวณเต้านม ลักษณะเหล่านี้อาจเป็นสัญญาบอกว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมในระยะใด ควรรีบพบแพทย์โดยทันที

อาการของโรคมะเร็งเต้านม

อาการในช่วงแรกๆ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมมักจะไม่แสดงอาการใดๆ ในหลายๆผู้ป่วยก้อนเนื้อที่เต้านมอาจจะมีขนาดเล็กจนไม่สามารถทำให้รู้สึกได้ แต่หากมีอาการไม่ปกติจะสามารถมองเห็นผ่านเมมโมแกรมได้ หากรู้สึกว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นบริเวณเต้านมแล้วจากที่ไม่เคยมีมาก่อน อย่างไรก็ตามอาจจะไม่ได้หมายถึงอาการของโรคมะเร็งเต้านมก็ได้  มะเร็งเต้านมในแต่ละชนิด มีอาการที่แตกต่างกันออกไป หลายๆอาการอาจเหมือนกัน แต่บางอาการอาจแตกต่างกัน วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของมะเร็งเต้านม อาการเริ่มแรกของมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ที่พบได้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ดังนี้: 

มะเร็งเต้านมมีอาการอย่างไร

  • เกิดเป็นก้อนหรือรู้สึกมีก้อนเนื้อเยื่อภายในเต้านม จากที่ไม่เคยมีมาก่อน 
  • ปวดเต้านม
  • ผิวบริเวณหน้าอกมีสีแดงและบุ๋มลงไป 
  • มีอาการบวมบริเวณเต้านมอาจจะทั่วบริเวณเต้านม หรือแค่บางส่วน
  • มีหัวนมในลักษณะผิดปกติออกไป หัวนมเน่าหรือย่น
  • มีเลือดไหลออกมาจากหัวนม
  • ผิวบริเวณหัวนมหรือเต้านมหลุดลอก ตกสะเก็ด 
  • ลักษณะของเต้านมและรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
  • หัวนมบอด 
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวบริเวณหน้าอก
  • มีก้อนบวมเกิดขึ้นใต้วงแขน

ประเภทของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมมีหลายชนิด ในช่วงอาการแรกเริ่มแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ แบบลุกลาม และแบบไม่ลุกลามใน มะเร็งเต้านมชนิดลุกลามเซลล์มะเร็งจากแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังต่อมผลิตน้ำนมหรือท่อน้ำนม หรือส่วนต่างๆบริเวณเต้านม ส่วนชนิดไม่ลุกลาม เซลล์มะเร็งจะยังไม่แพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นที่ก่อเป็นเซลล์มะเร็ง 

มะเร็งเต้านม 2 ประเภทนี้ มีรายละเอียดดังนี้ 

  • Ductal carcinoma in situ (DCIS) หมายถึงมะเร็งที่เกิดในท่อน้ำนมและไม่แพร่กระจายการรักษามะเร็งชนิดนี้ได้ผลดีมากโดยการผ่าตัดและหรือฉายรังสี
  • Lobular carcinoma in situ (LCIS) หมายถึงมะเร็งที่เกิดในต่อมน้ำนมและมะเร็งอยู่ในต่อมไม่แพร่กระจายไปที่อื่น 
  • Invasive ductal carcinoma เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งชนิดนี้เริ่มต้นในท่อน้ำนม แต่อาจจะแพร่กระจายสู่ต่อมหรือไขมันในเต้านม และสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ 
  • Invasive lobular carcinoma มะเร็งเริ่มต้นในต่อมน้ำนมและแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียงหรือวัยวะอื่นๆ

มะเร็งเต้านมอื่นๆ ที่พบได้น้อย  มีดังนี้ : 

  • Paget disease of the nipple มะเร็งที่หัวนม (มะเร็งหัวนม) คือมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดกับผิวหนังบริเวณหัวนม
  • (Phyllodes tumor คือก้อนเนื้องอกชนิดกึ่งมะเร็ง มะเร็งชนิดนี้ค่อนข้างพบได้ยาก และไม่เป็นอันตรายมาก
  • Angiosarcoma เป็นก้อนมะเร็งเต้านมที่มีจุดกำเนิดจากเส้นเลือด (hemangiosarcoma) หรือจากระบบน้ำเหลือง (lymphangiosarcoma) ก้อนเนื้อเหล่านี้สัมพันธ์กับประวัติการได้รับรังสีมาก่อน เช่น พบที่เต้านมหลังจากฉายแสงรักษามะเร็งเต้านมหรือบริเวณหนังศีรษะ

มะเร็งเต้านมอักเสบ

มะเร็งเต้านมอักเสบเป็นมะเร็งเต้านมชนิดที่พบได้ยาก  เซลล์มะเร็งที่ก่อให้เป็นมะเร็งเต้านมอักเสบ จะปิดกั้นการไหลผ่านของต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณใกล้เต้านม จึงทำให้ต่อมน้ำเหลืองไม่สามารถระบายออกได้ ทำให้เกิดการอับสวบ บวม แดง และรู้สึกปวดร้อน ลักษณะผิวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอักเสบผิวจะเป็นเหมือนเปลือกส้ม และเกิดเป็นหลุม

มะเร็งเต้านมชนิด Triple negative Cancer

เป็นมะเร็งที่รุนแรงกว่ามะเร็งเต้านมทั่วไป ซึ่งมะเร็งกลุ่มนี้พบได้ประมาณ 10-20%ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด และมักพบในคนเป็นมะเร็งเต้านมที่อายุยังน้อย(มักอายุต่ำกว่า 50 ปี) และยังมีประจำเดือนอยู่ มักพบโรคในระยะลุกลามแพร่กระจายสูงกว่าชนิดทั่วไป มะเร็งชนิดนี้ มักมีโรคย้อนกลับเป็นซ้ำสูงกว่า มีการแพร่กระจายสูงกว่า  หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมชนิด Triple Negative จะมีลักษณะดังนี้  
  • Estrogen receptor ย่อว่า ER ถ้าเซลล์มะเร็งจับ/มีตัวรับ เอสโตรเจน เรียกว่า ER+ แต่ถ้าไม่จับก็เรียกว่า ER- การที่มะเร็งมีตัวรับนี้ โรคจะรุนแรงน้อยกว่า และสามารถรักษาได้ผลดีจากยาในกลุ่มฮอร์โมนต่างๆ
  • (Progesterone receptor ย่อว่า PR  ถ้าเซลล์มะเร็งมีตัวรับ โปรเจสเตอโรน เรียกว่า PR+ ถ้าไม่มี ก็เรียกว่า PR- การที่มะเร็งมีตัวรับนี้ โรคจะรุนแรงน้อยกว่า และสามารถรักษาได้ผลดีจากยาในกลุ่มฮอร์โมนต่างๆเช่นเดียวกับ ER+
  • Human epidermal growth factor receptor 2 ย่อว่า HER2  เซลล์มะเร็งมีตัวรับ โปรเจสเตอโรน เรียกว่า PR+ ถ้าไม่มี ก็เรียกว่า PR- การที่มะเร็งมีตัวรับนี้ โรคจะรุนแรงน้อยกว่า และสามารถรักษาได้ผลดีจากยาในกลุ่มฮอร์โมนต่างๆเช่นเดียวกับ ER+

มะเร็งเต้านมในเพศชาย

ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่น้อยกว่าก็ตาม แต่ผู้ชายก็มีก้อนเนื้อเต้านมเหมือนผู้หญิง ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน แต่ก็อาจจะพบเจอได้ยากกว่า ที่กล่าวมามะเร็งเต้านมที่พบในผู้ชายนั้นรุนแรงพอ ๆ กับมะเร็งเต้านมในผู้หญิงเช่นกัน และมีอาการเดียวกัน  

มะเร็งเต้านมแต่ละระยะ

มะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกเป็นระยะตามขนาดเนื้องอกหรือก้อนเนื้อและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง  เซลล์มะเร็งที่แผ่ขนาดใหญ่ / หรือมีการกัดกินเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใกล้เคียง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที : 
  • เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจาย ชนิดลุกลาม หรือไม่ลุกลาม
  • ขนาดของก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่แค่ไหน
  • มีอาการของต่อมน้ำเหลืองร่วมด้วยหรือไม่
  • ถ้ามะเร็งแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใกล้เคียง

มะเร็งเต้านมมีห้าระยะหลัก: ระยะ 0 ถึง 5

มะเร็งเต้านมระยะที่ 0 ระยะ 0 คือ DCIS เซลล์มะเร็งใน DCIS ยังคงกักอยู่ในท่อเต้านมและไม่ได้แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง มะเร็งเต้านมระยะที่ 1 ระยะที่ 1A: สังเกตว่าก้อนมะเร็งกว้างไม่เกิน 2 เซนติเมตรและต่อมน้ำเหลืองไม่ได้รับผลกระทบ ระยะที่ 1B: พบมะเร็งในต่อมน้ำเหลือบริเวณข้างเคียงและไม่มีก้อนมะเร็งในเต้านมหรือก้อนเนื้อมีขนาดเล็กกว่า 2 ซม. มะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ระยะที่ 2A: ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 ซม. และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง 1-3 ต่อม หรือก้อนมะเร็งมีขนาดประมาณ 2 -5 ซม. และไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ ระยะที่ 2B: ก้อนมะเร็งมีขนาดประมาณ 2 – 5 ซม. และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองรักแร้ (รักแร้) มีขนาดประมาณ 1-3 ซม. หรือมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. และไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ระยะ 3A:
  • เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้  ก้อนมะเร็งมีขนาดประมาณ 4–9 ซม. และขยายไปยังหลอดเลือดต่อมน้ำเหลืองในเต้านมและก้อนเนื้ออาจจะมีขนาดบ่งบอกไม่แน่ชัด 
  • ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. และเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ขนาดประมาณ 1–3 ซม. หรือบริเวณกระดูกหน้าอก
ระยะที่ 3B: ก้อนมะเร็งลุกลามไปที่ผนังหน้าอก หรือผิวหนังบริเวณรอบๆ หรืออาจไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองมาก 9 ตำแหน่ง ระยะที่ 3: เซลล์มะเร็งพบได้ในต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หรือต่อมน้ำเหลืองใกล้กระดูกไหปลาร้าหรือต่อมน้ำนมจำนวน 10 ตำแหน่งขึ้นไป มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 มะเร็งเต้านมระยะที่ 4: เซลล์มะเร็งก่อเป็นก้อนเนื้อได้ขนาดใดก็ได้ และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงและอวัยวะอื่นๆในระยะไกล   การทดสอบโดยแพทย์จะเป็นตัวกำหนดระยะของมะเร็งเต้านมซึ่งจะส่งผลต่อการรักษา

การวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม

การทดสอบเพื่อตรวจว่าอาการเกิดมะเร็งเต้านมหรือภาวะมะเร็งเต้านมในช่วงเริ่มต้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด แพทย์อาจให้ทำการทดสอบวินิจฉัยอย่างน้อยหนึ่งรายการเพื่อช่วยให้เข้าใจสาเหตุของภาวะมะเร็งเต้านม วิธีการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ได้แก่ :
  • การตรวจมะเร็งเต้านมแบบแมมโมแกรม เป็นวิธีที่พบได้บ่อยที่สุดในการดูใต้พื้นผิวของเต้านมคือการทดสอบการถ่ายภาพที่เรียกว่าแมมโมแกรม ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่จะได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมตรวจมะเร็งเต้านมด้วย mammograms  ซึ่งแมมโมแกรมเป็นการตรวจทางรังสีที่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป แต่ได้ภาพที่มีความละเอียดสูงและคมชัดมากกว่า ทำให้สามารถค้นหาความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถเห็นจุดหินปูนในเต้านม ซึ่งบางครั้งมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถคลำหรือตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์พบ 
  • การตรวจเต้านมด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์    โดยใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพของเนื้อเยื่อที่ลึกลงไปในเต้านม อัลตร้าซาวด์สามารถช่วยแพทย์แยกแยะระหว่างมวลแข็ง เช่นก้อนเนื้อและซีส การใช้วิธีอัลตร้าซาวน์เป็นการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับขึ้นมาที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถตรวจจับความแตกต่างของเนื้อเยื่อปกติกับก้อนในเต้านมได้ และยังสามารถตรวจสอบได้ว่าก้อนในเต้านมนั้นมีองค์ประกอบเป็นน้ำ หรือเป็นก้อนเนื้อ

การตรวจชิ้นเนื้อเต้านม

หากแพทย์สงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมอาจให้ผู้ป่วยทำการตรวจด้วยแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ หากการทดสอบทั้งสองนี้ไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แพทย์อาจทำการทดสอบที่เรียกว่าการตรวจชิ้นเนื้อเต้านม ในระหว่างการทดสอบนี้แพทย์จะทำการเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อออกจากบริเวณผิวเต้านมที่น่าสงสัยว่าอยู่ในภาวะมะเร็งเต้านมเพื่อทำการทดสอบ การตรวจชิ้นเนื้อเต้านมมีหลายประเภท การทดสอบเหล่านี้แพทย์ใช้เข็มเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ ในอีกทางหนึ่งแพทย์อาจทำการผ่าตัดเล็กโดยการผ่าตัดเนื้องอกที่เต้านมและเก็บชิ้นเนื้อตัวอย่าง  แพทย์จะทำการส่งตัวอย่างชิ้นเนื้อไปยังห้องปฏิบัติการ หากตัวอย่างชิ้นเนื้อทดสอบแล้วว่ามีผลเป็นบวกสำหรับโรคมะเร็งเต้านม แพทย์จะสามารถแจ้งได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดไหน และอยู่ในระยะใด 

การรักษามะเร็งเต้านม

ระยะของโรคมะเร็งเต้านม ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อมะเร็งเต้านมลุกลามแค่ไหน และขนาดก้อนเนื้อที่เจริญเติบโตขึ้นจะสามารถบอกได้ว่าควรได้รับการรักษาแบบใด การเริ่มต้นรักษาแพทย์จะแจ้งขนาดก้อนมะเร็ง และระยะมะเร็งของผู้ป่วย ว่ามีโอกาสเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้มากน้อยเพียงใด หลังจากนั้นแพทย์ทำการพูดคุย แนะนำและบอกวิธีการรักษาให้ผู้ป่วย การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านมที่พบบ่อยที่สุด ผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่อาจมีการรักษาเพิ่มเติม เช่น การทำเคมีบำบัด การรักษาด้วยการฉายรังสีหรือการบำบัดด้วยฮอร์โมน

การผ่าตัด 

การผ่าตัดมีเพื่อกำจัดก้อนมะเร็งเต้านม มีหลายประเภทดังนี้:
  • Lumpectomy: วิธีนี้จะกำจัดก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ออกจากเต้านม
  • Mastectomy: วิธีนี้ศัลยแพทย์จะทำการการผ่าตัดเอา เต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และกล้ามเนื้อที่หน้อกออก
  • Sentinel node biopsy: ผ่าตัดนี้จะกำจัดต่อมน้ำเหลืองบางส่วนที่ได้รับผลกระทบจากเซลล์มะเร็งออก การ หากไม่พบมะเร็งบริเวณต่อมน้ำเหลืองนี้ อาจจะไม่ต้องผ่าตัดเพื่อเอาต่อมน้ำเหลืองเพิ่มเติมออก 
  • Axillary lymph node dissection ตัดเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออกทั้งหมด
  • Contralateral prophylactic mastectomy  คือการผ่าตัดเต้านม แม้ว่ามะเร็งเต้านมอาจมีอยู่ในเต้านมเดียว แต่ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมอาจเลือกที่จะผ่าตัดเต้านมออก การผ่าตัดนี้จะช่วยให้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมอีกครั้ง

รังสีบำบัด

ผู้ป่วยจะได้รับรังสีจากภายนอกคือเครื่องฉายรังสี แล้วผ่านร่างกายตรงเข้าไปยังบริเวณที่เป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถฉายไปยังบริเวณเต้านมหลังการผ่าตัดแบบสงวนเต้า หรือฉายไปที่ผนังทรวงอกหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านมออกไป นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการฉายรังสีที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า หรือรักแร้ด้วย แพทย์สามารถฉายรังสีมะเร็งจากภายในร่างกาย การฉายรังสีชนิดนี้เรียกว่า brachytherapy ศัลยแพทย์จะยิงกัมมันตภาพรังสีที่พบใกล้กับบริเวณเนื้องอก และทำลายเซลล์มะเร็ง

เคมีบำบัด

เคมีบำบัดเป็นการใช้ยาในการทำลายเซลล์มะเร็ง แต่การรักษาประเภทนี้มักจะใช้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด ในบางกรณีแพทย์ต้องการให้การรักษาแบบเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด เพื่อต้องการที่จะรักษาให้ก้อนมะเร็งหดตัวและจากนั้นจะทำการผ่าตัด เคมีบำบัดมีผลข้างเคียงมากมายดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มการรักษา

การรักษาด้วยฮอร์โมน

หากมะเร็งเต้านมของมีความไวต่อฮอร์โมน แพทย์อาจเริ่มจากให้การรักษาด้วยฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนสองตัวนี้จะสามารถกระตุ้นการเติบโตของก้อนมะเร็งเต้านม การบำบัดด้วยฮอร์โมนทำงานโดยการลดการผลิตฮอร์โมนในร่างกายหรือโดยการปิดกั้นตัวรับฮอร์โมนในเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยชะลอและยับยั้งการเติบโตของมะเร็งได้

การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาเพื่อทำลายความผิดปกติหรือการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็ง ตัวอย่างเช่น Herceptin (trastuzumab) สามารถป้องกันการผลิต HER2 หรือโปรตีนในร่างกาย ซึ่ง HER2 ช่วยให้เซลล์มะเร็งเต้านมเจริญเติบโตดังนั้นการทานยาเพื่อชะลอการผลิตโปรตีนนี้เพื่อช่วยยับยั้งการเติบโตของมะเร็ง

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีธรรมชาติ

  • การบำบัดด้วยสมุนไพร เป็นประโยชน์ในการลดอาการบวมที่เต้านมและความรู้สึกที่ไม่สบายต่ออาการที่เกิดขึ้น ด้วยสมุนไพรเช่น ใบดอกแดนดิไลอัน ยาร์โรว และ clever
  • ขมิ้น เมีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกในเต้านมได้ดี
  • กระเทียมและหอม มีคุณสมบัติชั้นเยี่ยมที่มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะในกระเทียมที่สามารถต่อต้านมะเร็งได้สูง ต่อต้านการนำพาสารมะเร็งที่เกิดจากสารเคมีต่างๆ ได้ ช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง 
  • สมุนไพรตระกูลขิงบ้าง ขิงก็มีสาร 6-จินเจอรอลที่ออกฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและทำหน้าที่ป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดีเช่นเดียวกัน

การดูแลมะเร็งเต้านม

หากคุณตรวจพบก้อนเนื้อหรือจุดที่ผิดปกติในเต้านมหรือมีอาการอื่น ๆ ของโรคมะเร็งเต้านมให้พบแพทย์โดยทันที ซึ่งบางทีอาจจะไม่ใช่มะเร็งเต้านม อาจมีสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ อีกมากมายสำหรับก้อนเนื้องอก  แต่หากพบว่ากลายเป็นมะเร็งโปรดทราบว่าการรักษาในระยะแรกเป็นกุญแจสำคัญ มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกสามารถรักษาและหายขาดได้หากพบเร็วพอ มะเร็งเต้านมที่เติบโตขึ้นก็จะต้องใช้วิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไป

การป้องกันในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง

ในผู้หญิงบางรายอาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมที่มาจากพันธุกรรม ตัวอย่างเช่นหากแม่หรือพ่อของผู้ป่วยมีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2   หากมีความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของยีนส์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อปรึกษาอาการและวิธีการตรวจมะเร็งเต้านม และการป้องกัน  หากรู้ว่าอยู่ในระยะใดอาจทำให้ลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมระยะต่อไป ซึ่งอาจรวมไปถึงการผ่าตัดเต้านมออก

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม 

มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยมีอาการเหล่าอาจเป็นสัญญาณของการเป็นมะเร็งเต้านม ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านม หรือผู้ป่วยอาจอยู่ในปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่  

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ได้แก่:

  • อายุ:  ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมอาจเพิ่มขึ้นตามอายุ  มะเร็งเต้านมชนิดลุกลามส่วนใหญ่จะพบได้ผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
  • การดื่มสุรา: การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม
  • เต้านมมีเนื้อเยื่อแน่น: เนื้อเยื่อเต้านมที่แน่นจนเกินไป อาจะทำให้แมมโมแกรมอ่านยาก ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม
  • เพศ :ผู้ชายอาจเป็นมะเร็งเต้านมได้แต่น้อยกว่าผู้หญิงมาก ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า
  • ยีน: ผู้หญิงที่มีการกลายพันธ์ของยีน BRCA1 และ BRCA2 มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้เป็น การกลายพันธุ์ของยีนอื่นอาจส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม 
  • ประจำเดือนครั้งแรกมาเร็ว : ผู้หญิงที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นมะเร็งเต้านม 
  • ผู้หญิงที่คลอดบุตรในช่วงอายุเยอะ : ผู้หญิงที่มีการคลอดบุตรครั้งแรกเมื่อมีอายุมากกว่า35 ปีขึ้นไป
  • การรับประทานยาที่มีฮอร์โมน :  ผู้หญิงที่รับประทานยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนในช่วงวัยหมดประจำเดือนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อลดอาการในช่วงวัยทอง จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้า
  • พันธุกรรม: หากมีประวัติคนในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง เช่น แม่ พี่ น้องยาย น้องสาว หรือลูกสาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคมะเร็งเต้านมสามารถเป็นได้ ถึงแม้ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม 
  • ผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือนช่วงแรก หากประจำเดือนเริ่มหมดหลังจากอายุ 55 ปีขึ้นไป 
  • ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการคลอดบุตร มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน ในบางรายอาจเคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างใดข้างหนึ่งมาก่อน อาจส่งผลนำไปสู่การมะเร็งเต้านมอีกข้าง หรือเซลล์มะเร็งอาจนำไปสู่บริเวณใกล้เคียงของเต้านม 

การป้องกันโรคมะเร็งเต้านม 

หากอยู่ในภาวะเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้  ดูแลการใช้ชีวิตประจำวัน และควรได้รับการตรวจคัดกรองการมะเร็งอย่างเป็นประจำและควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับมาตรการการดูแลและป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม   นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถทำการตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองเช่นกัน เมื่อพบความผิดปกติควรไปพบแพทย์ทันที

ปัจจัยเสี่ยงที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน 

ปัจจัยด้านการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน อาจส่งผลต่อความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านม การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกายให้มากขึ้นจะช่วยให้คุณลดน้ำหนักและลดความเสี่ยงได้ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินสามารถเพิ่มความเสี่ยง หากดื่มวันละ 2 แก้ว หรือมากกว่า หรือดื่มมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ วันละ 1 อย่าง ก็อาจทำให้เพิ่มความต่อการเป็นมะเร็งเต้านม  

การตรวจมะเร็งเต้านม 

ในบางครั้งการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเมมโมแกรมไม่สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้เสมอไป การตรวผู้หญิงมีความเสี่ยงโดยเฉลี่ยสำหรับมะเร็งเต้านม มีรายละเอียดดังนี้
  • ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 49: ไม่แนะนำให้ใช้การตรวจประจำปีด้วยแมมโมแกรม หากต้องการตรวจควรรีบปรึกษาแพททย์
  • ผู้หญิงอายุ 50 ถึง 74: แนะนำให้ใช้แมมโมแกรมตรวจมะเร็งเต้านมทุกปี
  •  ผู้หญิงอายุ 75 ปีขึ้นไป: ไม่แนะนำให้ใช้แมมแกรมตรวจมะเร็งเต้านม
ควรหลีกเลี่ยงการตรวจด้วยแมมโมแกรมต่อผู้หญิงช่วงอายุที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 10 ปี การตรวจด้วยแมมโมแกรมนั้นผลจะแตกต่างกันไป ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจัยว่าผู้ป่วยควรได้รับการตรวจแบบเมมโมแกรมหรือไม่ ตรวจเช็คเต้านม  นอกจากการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมแล้วการตรวจเช็คเต้านมก็เป็นอีกวิธีในการดูสัญญาณการเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง  ผู้หญิงหลายคนสามารถทำการตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง และควรตรวจเดือนละครั้งในเวลาเดียวกันในแต่ละเดือน การตรวจสอบด้วยตัวเองจะช่วยให้เราดูลักษณะของเต้านมและคุ้นเคยกับลักษณะเต้านมของตัวเอง หากตรวจพบว่ามีลักษณะผิดปกติ จะทำให้ทราบถึงระยะการเปลี่ยนแปลงของเต้านมได้ทันเวลา  วิธีคลำเต้านมด้วยตัวเองเพื่อตรวจหามะเร็ง
  • นอนราบยกมือข้างหนึ่งไว้ใต้ศีรษะ ใช้มืออีกข้างตรวจคลำทุกส่วนของเต้านมทีละข้าง
  • เริ่มคลำจากส่วนนอกและเหนือสุดของเต้านม เวียนไปรอบเต้านม ค่อย ๆ เคลื่อนมือเข้ามาเป็นวงแคบ ๆ จนถึงบริเวณเต้านมให้ทั่วทุกส่วน
  • บีบหัวนมเบา ๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้สังเกตว่ามีสิ่งผิดปกติไหลออกมาหรือไม่
ตรวจเต้านมโดยแพทย์  การตรวจเต้านมโดยแพทย์ อาจทำวิธีเดียวกันกับการตรวจด้วยตัวเอง แต่จะทำการตรวจโดยแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม หรืออาจให้แพทย์ตรวจให้ประจำปีในขณะที่เข้ารับการตรวจร่างกายประจำปี หากมีอาการที่พิจารณาแล้วว่าอาจจะเข้าสู่ภาวการณ์เป็นโรคมะเร็งเต้านม เป็นการดีที่เข้ารับการตรวจโดยแพทย์ได้ทันเวลา ในระหว่างการตรวจ หมอจะเช็คเต้านมตั้งสองข้างและตรวจดูลักษณะของเต้านมว่ามีผิวที่เป็นปกติหรือไม่ หากพบว่าผู้ป่วยเป็นก้อนที่เต้านมที่อาจะเป็นสัญญาณของการเป็นโรคมะเร็งเต้านม แพทย์จะเช็คส่วนต่างๆของร่างกายอีกด้วย ว่ามีอาการที่เป็นอาการที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่  ข้อควรตระหนักของโรคมะเร็งเต้านม  ในปัจจุบัน ผู้หญิงและผู้ชายส่วนใหญ่หันมาตรวจสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่ง 1 โรคที่ต้องตระหนักคือปัญหาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง.เต้านม เนื่องจากหากสนใจศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็ง. อาจทำให้ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งได้มากขึ้น แม้กระทั่งการศึกษาวิธิการตรวจด้วยตัวเอง หรือการปรึกษาอาการ รวมทั้งการตรวจคัดกรองระยะของโรคมะเร็งเต้านม  อัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมอาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยที่สำคัญที่สุด 2 ประการคือชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และช่วงเวลาที่ได้รับการวินิจฉัย ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีบทบาท ได้แก่ อายุ เพศ และเชื้อชาติ และการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอย่างเคร่งครัดภายหลังการรักษานับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก

คำถามที่พบบ่อย

มะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่  เซลล์มะเร็งยังไม่แพร่กระจายผ่านผนังท่อเข้าไปในเนื้อเยื่อเต้านมที่อยู่ใกล้เคียง ผู้หญิงเกือบทั้งหมดที่มี DCIS สามารถรักษาให้หายได้ มะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายโดยไม่ต้องผ่าตัดได้หรือไม่  ถ้าไม่สามารถผ่าตัดเอามะเร็งออกได้ เรียกว่า ผ่าตัดไม่ได้ แพทย์จะแนะนำให้รักษามะเร็งด้วยวิธีอื่นต่อไป อาจให้เคมีบำบัด ภูมิคุ้มกันบำบัด การรักษาแบบมุ่งเป้า การฉายรังสี และ/หรือการรักษาด้วยฮอร์โมนเพื่อลดขนาดของมะเร็ง มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 รักษาได้ไหม  ด้วยการรักษาที่เข้มข้น มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 สามารถรักษาให้หายได้ ; อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่มะเร็งจะกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาก็มีสูง มะเร็งเต้านมควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง 
  • คาเฟอีน
  • แอลกอฮอล์
  • เนื้อปลาหรือสัตว์ปีกดิบหรือยังไม่สุก
  • ไข่ดิบหรือไข่สุก.
  • ผลิตภัณฑ์นมหรือน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
  • ผักและผลไม้ที่ไม่ได้ล้าง
  • ของเหลือที่มีอายุมากกว่าสามถึงสี่วัน
อะไรหยุดเซลล์มะเร็งไม่ให้เติบโตทำได้อย่างไร สารยับยั้งไทโรซีนไคเนส (TKIs)ปิดกั้นสารเคมี (เอนไซม์) ที่เรียกว่าไทโรซีนไคเนส ไทโรซีนไคเนสช่วยส่งสัญญาณการเติบโตในเซลล์ ดังนั้นการปิดกั้นพวกมันจึงหยุดการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ ตัวบล็อกการเติบโตของมะเร็งสามารถบล็อกไทโรซีนไคเนสหนึ่งชนิดหรือมากกว่าหนึ่งชนิด อะโวคาโดดีต่อมะเร็งเต้านมหรือไม่  ใน NHSII การบริโภคอะโวคาโดไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านม (HR, 0.93; 95% CI, 0.76–1.13) โดยรวมแล้ว การบริโภคอะโวคาโดอาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของมะเร็งทั้งหมดและมะเร็งเฉพาะที่ในผู้ชาย ไม่พบความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมใน NHS ใน NHSII ที่อายุน้อยกว่า

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา

  • https://www.nur.psu.ac.th/journal/file/126file%20%203436.pdf
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/breast-cancer/symptoms-causes/syc-20352470
  • https://www.cdc.gov/cancer/breast/basic_info/what-is-breast-cancer.htm
  • https://www.webmd.com/breast-cancer/understanding-breast-cancer-basics
  • https://www.cancercenter.com/cancer-types/breast-cancer/about

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด