ภาวะสมองขาดออกซิเจน (Brain Hypoxia) : สาเหตุ อาการ การรักษา

ภาวะสมองขาดออกซิเจน (Brain Hypoxia) คืออาการที่สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเกิดขึ้นเมื่อจมน้ำ สำลัก โดนบีบรัดบริเวณคอ หรือมีภาวะหัวใจหยุดเต้น การบาดเจ็บที่สมอง ชักและมีภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สมองขาดออกซิเจนได้ด้วยเช่นกัน ภาวะดังกล่าวจัดว่าเป็นภาวะที่ร้ายแรงเพราะเซลสมองจำต้องมีการไหลเวียนของออกซิเจนอย่างต่อเนื่องเพื่อทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Brain Hypoxia

อะไรคือสาเหตุของภาวะสมองขาดออกซิเจน

การมีโรคประจำตัวและเหตุการณ์บางอย่างที่อาจไปขัดขวางการไหลเวียนของออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองนั้นมีมากมาย เช่นภาวะชัก ภาวะหัวใจหยุดเต้น และอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ อาการต่างๆเหล่านี้ล้วนไปกีดขวางออกซิเจนและสารอาหารไม่ให้เดินทางไปยังสมองได้ทั้งสิ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดการพร่องของออกซิเจน เช่น:
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ 
  • ภาวะแทรกซ้อนของยาสลบระหว่างการผ่าตัด
  • อาการสำลัก
  • ภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์
  • การจมน้ำ
  • การหายใจเอาคาร์บอนมอนอกไซด์หรือควันเข้าไป
  • มีการเดินทางไปที่ระดับความสูงระดับน้ำทะเลที่สูงมาก(มากกว่า8000ฟุต)
  • การบาดเจ็บที่สมอง
  • โดนบีบรัดบริเวณคอ
  • โรคประจำบางอย่างที่ทำให้หายใจลำบาก เช่นโรคหอบหืดรุนแรง

อาการสมองขาดออกซิเจนคืออะไร?

อาการสมองขาดออกซิเจนคลอบคลุมตั้งแต่น้อยจนไปถึงขั้นรุนแรง  อาการน้อยๆอย่างเช่น:
  • สูญเสียความทรงจำชั่วคราว
  • ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง
  • ไม่มีสมาธิ
  • การตัดสินใจแย่ลง
อาการขั้นรุนแรง เช่น:
  • ชัก
  • หมดสติ
  • สมองตาย

ใครบ้างที่เสี่ยงจะเกิดภาวะสมองขาดเลือด

ทุกคนที่เคยประสบกับภาวะที่ออกซิเจนไม่เพียงพอจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคสมองขาดออกซิเจนทั้งสิ้น โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานหรือทำกิจกรรมใดๆที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีโอกาสได้รับออกซิเจนน้อยยิ่งเสี่ยงมากขึ้นกว่าคนทั่วไป

การเล่นกีฬาและงานอดิเรก

กีฬาบางชนิดที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หัวบ่อยๆ เช่นนักมวยและนักฟุตบอลมีความเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดออกซิเจนได้มากกว่าคนอื่นๆ นักว่ายน้ำและนักดำน้ำที่ต้องกลั้นหายใจเป็นเวลานานๆเองก็จัดเป็นกลุ่มเสี่ยง ยังรวมไปถึงนักปีนเขาก็มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน

โรคประจำตัว

คุณจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นหากคุณมีโรคประจำตัวบางชนิดที่ไปขัดขวางออกซิเจนไม่ให้ไปเลี้ยงสมองได้อย่างพอเพียง เช่นโรคดังต่อไปนี้:
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (ALS)  เป็นโรคที่เซลล์ประสาทในสมองไขสันหลังเสื่อมสภาพ โรคเอแอลเอสส่งผลให้กล้ามเนื้อในการหายใจอ่อนแรง
  • ภาวะความต่ำเลือดต่ำ
  • โรคหอบหืด

วินิจฉัยสมองขาดออกซิเจนได้อย่างไร?

แพทย์จะทำการวินิจฉัยภาวะสมองขาดออกซิเจนโดยการตรวจดูอาการที่เกิดขึ้น ย้อนดูกิจกรรมล่าสุดและประวัติการใช้ยา แพทย์จะตรวจร่างกายและทดสอบการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกายว่าปกติไหม เช่น:
  • ตรวจเลือดเพื่อตรวจดูระดับออกซิเจนในเลือด
  • การตรวจด้วย MRI เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูง ที่จะแสดงภาพถ่ายในส่วนของสมองได้อย่างละเอียด
  • การตรวจด้วยเครื่องCT scan ที่จะแสดงภาพสมองได้แบบสามมิติ
  • การตรวจด้วยเครื่องechocardiogram (Echo) เครื่องจะจำลองภาพการทำงานของหัวใจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(ECG) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจปล่อยออกมาทุกจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง(EEG) เป็นการตรวจการทำงานของเซลล์ประสาทสมองโดยดูจากการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าและดูเพื่อระบุการชัก

การรักษาสมองขาดเลือด 

ภาวะสมองขาดออกซิเจนจำเป็นต้องรีบรักษาเพื่อให้ออกซิเจนสามาถไหลเวียนไปยังสมองได้ตามปกติ การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ยกตัวอย่างในรายที่มีอาการไม่มากเช่นคนที่ปีนเขาในที่สูง สิ่งที่ต้องทำก็คือรีบกลับลงมาในที่ระดับความสูงที่น้อยลง แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องรีบไปโรงพยาบาลทันทีและใช้เครื่องventilator(เครื่องช่วยหายใจ) ในส่วนของหัวใจจะต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด อาจต้องให้เลือด ยา หรือสารเหลวอื่นๆผ่านทางหลอดเลือดดำ ยิ่งมาพบแพทย์เร็วมากเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสลดความเสี่ยงหายของสมองได้มากเท่านั้น ผู้ป่วยอาจได้รับยาเพื่อรักษาความดันในเลือดหรือเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ยาระงับการชักหรือยาสลบอาจถูกนำมาใช้ในการรักษาด้วยเช่นกัน

การฟื้นฟูและการติดตามในระยะยาว

ระยะเวลาในการฟื้นฟูอาการสมองขาดออกซิเจนขึ้นอยู่กับว่าสมองขาดออกซิเจนไปนานมากน้อยแค่ไหน และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งคุณอาจต้องพบเจอกับอาการแทรกซ้อนอื่นๆในระหว่างการฟิ้นฟู เช่น: ผู้ป่วยที่มีระดับออกซิเจนต่ำเป็นเวลานานเกินกว่า8ชั่วโมงจะจัดว่าเป็นผู้ป่วยที่ถูกพยากรณ์โรคไม่ดี มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่ศีรษะ ซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาลทันทีหลังเกิดการบาดเจ็บเพื่อให้แน่ใจว่าสมองของผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ

สมองขาดออกซิเจนสามารถป้องกันได้ไหม

เราสามารถป้องกันภาวะสมองขาดออกซิเจนได้หากมีการเฝ้าสังเกตสุขภาพร่างกาายของเราเอง การไปพบแพทย์เมื่อพบว่ามีระดับความดันเลือดต่ำเกินไป และต้องพยายามหายใจเข้าอย่างสม่ำเสมอหากคุณเป็นโรคหอบหืด พยายามหลีกเลี่ยงการขึ้นไปยังพื้นที่สูงหากคุณเสี่ยงกับโรคแพ้ที่สูง สำหรับคนที่ต้องเผชิญกับภาวะขาดออกซิเจนแบบไม่ได้ตั้งตัว เข่นไฟไหม้ ควรรีบช่วยชีวิตด้วยการเป่าลมหายใจเข้าออกทางปากทันทีหรือที่เรียกว่า CPR เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง

ภาวะแทรกซ้อนของสมองขาดออกซิเจน

ภาวะขาดออกซิเจนในสมองหมายถึงภาวะที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงสมองลดลง สิ่งนี้สามารถนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่สำคัญและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมอง เนื่องจากสมองมีความไวสูงต่อการขาดออกซิเจน ภาวะขาดออกซิเจนในสมองอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่:
  • ภาวะขาดออกซิเจนในเลือด : เป็นภาวะที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ โรคปอด หรือสภาวะอื่นที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้น : เมื่อหัวใจหยุดสูบฉีดเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะหัวใจหยุดเต้น อาจทำให้เลือดขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาวะต่างๆ เช่น หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอื่นๆ
  • โรคหลอดเลือดสมอง : โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือขาดเลือดเกิดขึ้นเมื่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองส่วนใดส่วนหนึ่งถูกปิดกั้น ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนลดลง ภาวะเลือดออกในสมองตีบเกี่ยวข้องกับการมีเลือดออกในสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้การส่งออกซิเจนลดลงด้วย
  • พิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ : คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นก๊าซไม่มีสีไม่มีกลิ่นซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้ออกซิเจนจับกับฮีโมโกลบินในเลือด สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ระบบทำความร้อนทำงานผิดปกติหรือสัมผัสกับควันไอเสีย
  • ความเสียหายของสมอง : เซลล์สมองไวต่อการขาดออกซิเจนอย่างมาก ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานหรือรุนแรงสามารถนำไปสู่ความเสียหายที่รักษาไม่ได้หรือการตายของเซลล์ในพื้นที่ของสมอง อาจทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญา การเคลื่อนไหวบกพร่อง สูญเสียความจำ และอื่นๆ
  • โคม่า : ภาวะขาดออกซิเจนในสมองอย่างรุนแรงและเป็นเวลานานสามารถนำไปสู่ภาวะหมดสติที่เรียกว่าโคม่าได้ ในอาการโคม่า การทำงานของสมองลดลงอย่างมาก และบุคคลนั้นไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
  • อาการชัก : ภาวะขาดออกซิเจนในสมองสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการชัก ซึ่งอาการชักอาจทำให้ความเสียหายของสมองรุนแรงขึ้นและทำให้การฟื้นตัวซับซ้อนขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม : แม้ว่าภาวะขาดออกซิเจนในสมองไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองอย่างรุนแรง แต่ก็ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมได้ สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงปัญหาด้านความจำ ความสนใจ สมาธิ การแก้ปัญหา และการควบคุมอารมณ์
  • ความบกพร่องของการควบคุมร่างกาย : การขาดออกซิเจนอาจส่งผลต่อบริเวณสมองที่รับผิดชอบในการควบคุมมอเตอร์ นำไปสู่ความอ่อนแอ อาการสั่น ปัญหาในการประสานงาน และความยากลำบากในการเคลื่อนไหว
การรักษาและการวินิจฉัยของภาวะขาดสมองออกซิเจนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงสาเหตุที่แท้จริง ขอบเขตของความเสียหายของสมอง และความทันท่วงทีของการแทรกแซงทางการแพทย์ การรักษาพยาบาลทันทีและเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการลดภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบระยะยาวของภาวะขาดออกซิเจนในสมอง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/ency/article/001435.htm
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/322803
  • https://www.ninds.nih.gov/disorders/all-disorders/cerebral-hypoxia-information-page

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด