ปากเบี้ยว (Bell’s Palsy) :อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ปากเบี้ยว
ปากเบี้ยว (Bell’s Palsy)  หรือ ใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรงหรือขยับไม่ได้ชั่วคราว เกิดขึ้นจากการที่เส้นประสาทที่ใบหน้าอักเสบ บวม หรือถูกกดทับ อาการของโรคจะทำให้ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งเบี้ยว แข็งทื่อ ทำให้ยากต่อการยิ้มหรือหลับตาในซีกที่เกิดอาการ โดยปกติอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและจะหายได้เองภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ภาวะปากเบี้ยวสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย แต่มักจะพบในกลุ่มผู้มีอายุระหว่าง 16-60 ปี ภาวะปากเบี้ยว (Bell’s Palsy) ตั้งชื่อตาม นักกายวิภาคศาสตร์ ชาวสก๊อตแลนด์ ชื่อ ชาร์ลส์ เบลล์ ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้เปิดเผยอาการนี้ให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป  Bell’s Palsy

อาการของภาวะปากเบี้ยว

ภาวะปากเบี้ยวจะเกิดขึ้นหลังจากเป็นไข้หูอักเสบหรือตาอักเสบแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจจะสังเกตเห็นเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าหรือในขณะที่พยายามกินอาหารหรือดื่มน้ำ ภาวะปากเบี้ยวจะสังเกตเห็นได้โดยใบหน้าซีกที่มีอาการจะเบี้ยวลง ไม่สามารถหลับตาหรือลืมตาในซีกที่มีอาการได้ บางครั้งอาจมีอาการทั้งสองข้าง แต่พบน้อยมาก  สัญญาณและอาการอื่นๆ ของภาวะปากเบี้ยว มีดังนี้
  • น้ำลายไหลยืด
  • กินอาหารหรือดื่มน้ำลำบาก
  • ไม่สามารถแสดงอารมณ์ทางใบหน้า เช่น ยิ้ม หรือขมวดคิ้ว
  • ใบหน้าเบี้ยว (กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง)
  • กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก
  • ปากและตาแห้ง
  • ปวดศีรษะ 
  • ตอบสนองไวต่อเสียง
  • ระคายเคืองดวงตาในซีกที่มีอาการ
หากมีอาการดังกล่าวมานี้ ควรปรึกษาแพทย์โดยทันที ไม่ควรวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง เพราะอาการเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคที่มีความร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นต้น 

ภาวะปากเบี้ยวเกิดจากอะไร

ภาวะปากเบี้ยวเกิดจากเส้นประสาทคู่ที่ 7 บวมหรือถูกกดทับ ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงหรือขยับไม่ได้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่า เส้นประสาทคู่ที่ 7 บวม หรือถูกกดทับเพราะเหตุใด นักวิจัยทางการแพทย์หลายคนเชื่อว่าน่าจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ไวรัส หรือ แบคทีเรีย ที่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับภาวะปากเบี้ยว ได้แก่:
  • โรคเริม (herpes simplex) โรคเริมที่ทำให้เกิดแผลพุพอง และโรคเริมที่อวัยวะเพศ
  • เอช ไอ วี (HIV) จะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน
  • โรคซาร์คอยด์ (sarcoidosis) ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะต่างๆ
  • ไวรัสงูสวัด (herpes zoster virus) สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอี และงูสวัด
  • ไวรัส EBV (Epstein-Barr virus), สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค MI (mononucleosis) หรือต่อมน้ำเหลืองโต
  • โรคลายม์ (Lyme disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียด้วยการถูกเห็บที่มีเชื้อนี้กัด

อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะปากเบี้ยว?

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปที่จะมีภาวะปากเบี้ยว   มีดังนี้:
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์
  • คนที่ป่วยเป็นเบาหวาน
  • ปอดติดเชื้อ
  • มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้

การรักษาโรคปากเบี้ยว

ส่วนใหญ่แล้ว ภาวะปากเบี้ยวสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนกว่าที่กล้ามเนื้อใบหน้าจะฟื้นตัวกลับมาแข็งแรงได้อย่างเดิม วิธีการรักษาดังต่อไปนี้ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อใบหน้ากลับมาฟื้นตัวได้:

รักษาด้วยยา

  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid drugs) ช่วยลดอาการอักเสบ
  • ยาต้านไวรัส หรือ ยาต้านแบคทีเรีย แพทย์จะใช้ยาเหล่านี้หากมีสาเหตุมาจากไวรัส หรือแบคทีเรีย
  • ยาแก้ปวดตามร้านขายยาทั่วไป (ยาที่ไม่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์) เช่น ไอบูโพรเฟน หรือ อะเซตามีนโนเฟน ซึ่งยาเหล่านี้จะสามารถบรรเทาปวดได้  ในภาวะที่มีอาการปวดไม่รุนแรงนัก
  • ยาหยอดตา

รักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

  • ใช้ผ้าปิดตา ในกรณีที่ตาแห้ง
  • ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นคลุมใบหน้า เพื่อลดอาการปวด
  • นวดหน้า
  • ทำกายภาพบำบัด เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อใบหน้า

การป้องกันโรคปากเบี้ยว

ขั้นตอนทั่วไปบางประการที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงของโรคปากเบี้ยวคือ :
  • รักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง: ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงสามารถช่วยให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัสที่อาจทำให้เกิดอาการอัมพาตได้ คุณสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณแข็งแรงด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งอุดมด้วยผักและผลไม้ รักษาร่างกายให้ขาดน้ำ และจัดการกับความเครียด
  • ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี: เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาจนำไปสู่โรคปากเบี้ยว ให้ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัส
  • จัดการความเครียด:ความเครียดและความเหนื่อยล้าอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ฝึกเทคนิคการลดความเครียด เช่น การทำสมาธิ การหายใจลึกๆ โยคะ และการนอนหลับให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสภาพอากาศหนาวเย็นมากเกินไป: การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าการสัมผัสกับสภาพอากาศหนาวเย็นและลมหนาวอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคปากเบี้ยวในบางคน ปกป้องใบหน้าของคุณจากลมหนาวด้วยการสวมผ้าพันคอหรือชุดป้องกันอื่น ๆ ในช่วงอากาศหนาวเย็น
  • รักษาการติดเชื้อไวรัสทันที:หากคุณมีอาการของการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเริม ให้ไปพบแพทย์ทันที การรักษาการติดเชื้อไวรัสตั้งแต่เนิ่นๆ อาจลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้
  • การฉีดวัคซีน:วัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีนวาริเซลลา-ซอสเตอร์ (วัคซีนอีสุกอีใส) และวัคซีนงูสวัด (วัคซีนงูสวัด) สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสบางชนิดที่อาจเชื่อมโยงกับโรคอัมพาตเบลล์ได้ ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อพิจารณาว่าวัคซีนเหล่านี้เหมาะสมกับคุณหรือไม่
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป:การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและส่งผลต่อปัญหาสุขภาพโดยรวมได้ การเลิกสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะสามารถช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้
โปรดจำไว้ว่าแม้ว่าขั้นตอนเหล่านี้อาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะโรคปากเบี้ยวได้ แต่ก็ไม่สามารถรับประกันการป้องกันได้ เนื่องจากยังไม่เป็นที่เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการดังกล่าวอย่างถ่องแท้ หากคุณมีอาการใบหน้าอ่อนแออย่างกะทันหัน ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bells-palsy/symptoms-causes/syc-20370028
  • https://www.nhs.uk/conditions/bells-palsy/
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/158863

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด