โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) : ประเภท อาการ สาเหตุ

 
พญ.พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจเรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือที่เรียกว่า Atopic dermatitis (AD) คือโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้ผิวแห้งและคัน มีผื่นแดง  เป็นโรคที่เกิดจากอาการแพ้ และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังนี้ได้ถูกจัดให้อยู่ประเภทเดียวกับโรคหอบหืด และไข้ละอองฟาง

สาเหตุของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังคืออะไร 

ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง นี้ได้อย่างแน่ชัด แต่อาการส่งผลมาจากการอักเสบของผิวหนัง ที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้ผิวหนังมีความระคายเคืองได้ง่าย  หรือในบางคนผิวไม่กักเก็บน้ำได้ดีก็จะส่งผลให้ผิวแห้งและเกิดผื่นแดงระคายเคืองได้ ในบางคนอาจจะมีผลมาจากทางด้านพันธุกรรม รวมถึงปัจจัยเร้าอื่น ๆ ที่จะทำให้อาการเกิด การกำเริบได้ เช่น:
  • อากาศ ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อากาศแห้ง
  • การแพ้ฝุ่นละออง
  • การอาบน้ำที่มีอุณภูมิสูงเกินไป
  • แพ้สบู่ น้ำหอม หรือผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม
  • แพ้ขนสัตว์ หรือใยสังเคราะห์อื่น ๆ 
  • การออกกำลังกายมากเกินไป
  • ความเครียด 

ประเภทของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

โรคผิวหนังอักเสบทุกประเภท จะมีอาการคันและแดงมีผื่น แต่ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังนี้จะส่งผลรุนแรงและเรื้อรังที่สุด กับผิว และมักแยกย่อยได้ดังนี้:
  • โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่มือ
  • ผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผิวสัมผัสกับสารบางตัวที่ผิวมีความไวต่อสิ่งนั้น
  • dyshidrotic eczema หรือโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ บริเวณผิวจะมีตุ่มน้ำใส ๆ ตามนิ้วมือ ฝ่ามือและฝ่าเท้า
Dermatitis Atopic

อาการภูมิแพ้ผิวหนังมีอะไรบ้าง

อาการหลัก ๆ ของโรคผื่นภูมิแพ้ คือผิวหนังจะแห้งและคัน เป็นผื่นแดง แต่ถ้ามีอาการกำเริบอย่างรุนแรง จะทำให้ผิวมีอาการแดงคันมาก และสามารถทำให้ผิวเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้เนื่องจากการเกา  ทั้งนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย

อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ในเด็กทารก:

  • ผิวคัน ลอก
  • ผื่นอาจจะมีตุ่มน้ำใส ๆ 
  • หนังศีรษะและแก้มมีผื่นแดง
ในเด็กทารกที่มีผื่นภูมิแพ้อาจจะส่งผลต่อการนอนหลับเนื่องจากผิวหนังมีอาการคัน บางครั้งอาจจะเกิดบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อมที่เรียกว่าผื่นผ้าอ้อมได้ เนื่องจากการสะสมของแบคทีเรีย  นอกจากนี้การแพ้อากาศอาจจะทำให้เกิดผื่นคันในเด็กได้ด้วย 

อาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก:

  • ผิวแห้งตกสะเก็ด
  • มีผื่นขึ้นบริเวณข้อศอกและหัวเข่า
  • ผิวเป็นด่าง ๆ 
  • มีผื่นขึ้นหน้าและลำคอ รอบดวงตา
  • ผื่นแดงเป็นหย่อม ๆ ที่ผิว

อาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในผู้ใหญ่:

อาการโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังผู้ใหญ่จะพบอาการเช่นเดียวกันกับเด็ก และจะมีสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ

วิธีรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้อย่างเป็นทางการ แพทย์มักจะควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ การการรักษาที่ถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดอาการคันและผื่นแดง การบรรเทาอาการจะช่วยลดความเครียด และช่วยป้องไม่ให้เกิดการเกามากเกิน เพราะอาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ วิธีการรักษามีหลากหลายวิธี รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวัน  

วิธีที่ดีที่สุดคือการทำให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อจะช่วยสร้างเซลล์ผิวหนังให้แข็งแรง ทำให้ผิวที่มีสุขภาพดี เมื่อผิวสุขภาพดีแล้วสามารถช่วยลดการอักเสบให้น้อยลงได้ และเป็นเกราะป้องกันสารก่อภูมิแพ้และระคายเคือง การใช้มอยเจอร์ไรเซอร์เป็นสิ่งสำคัญและสามารถทำได้ง่าย หรือใช้ยาทาแก้แพ้ ยาทาแก้คัน  ยาทาแก้ผื่นคันนั้นมีทั้งแบบที่เป็นโลชั่นและครีม ซึ่งแบ่งเป็น  2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้ ยาทาชนิดที่ผสมสเตียรอยด์  เป็นยาที่ใช้รักษาอาการคันของผิวหนัง เช่น ยาไฮโดรคอร์ติโซน ยาไตรแอมซิโนโลน ยาเบต้าเมทาโซน  ยาทาชนิดที่ไม่ผสมสเตียรอยด์ เป็นยาในกลุ่มต้านแคลซินูริน มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการคัน เช่น ยาทาโครลิมัส ยาพิเมโครลิมัส ยาแคปไซซิน 

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังบ้าง

จากข้อมูลสถิติจาก National Eczema Association (NEA) พบว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบมักเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กไทยพบว่าเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 10.7% และ 1 ใน 3 ของเด็กมักมีอาการรุนแรง โรคผิวหนังในเด็กอาจจะมีอาการเรื้อรังได้เนื่องจากเด็กยังไม่รู้จักดูแลตัวเอง ผู้ปกครองควรหมั่นเอาใจใส่ ส่วนในผู้ใหญ่มีเปอร์เซนต์ 10.2 % ที่จะเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังนี้ ร้อยละ 90% ของผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักจะเป็นก่อนอายุ 5 ขวบ และองค์ประกอบทางพันธุกรรมมักมีส่วนเกี่ยวข้อง หากสมาชิกในครอบครัวเป็น ภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการเป็นภูมิแพ้ผื่นคันนี้ด้วย ผู้ป่วยควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อรักษาที่มีประสิทธิภาพและช่วยให้ถึงสาเหตุ และปัจจัยกระตุ้นอาการเพื่อการหลีกเลี่ยง และหากมีอาการเหมือนผิวหนังติดเชื้อควรเร่งพบแพทย์โดยด่วน โดยอาการของผิวหนังติดเชื้อมีดังนี้: 
  • มีไข้
  • ผื่นแดงเป็นแถบยาว
  • อาการปวดบวม บริเวณผื่นมีอุณหภูมิสูง
การหมั่นดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและจิต จะช่วยลดปัจจัยการกระตุ้นโรคต่าง ๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี เราทุกคนจึงควรหันมาใส่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ให้มากขึ้น หากผู้ป่วยเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังควรมียาทาผื่นคันเพื่อรักษาภูมิแพ้ผิวหนังเป็นยาสามัญประจำบ้าน

คำถามที่พบบ่อย

โรคผิวหนังภูมิแพ้มีลักษณะอย่างไร โรคผิวหนังภูมิแพ้มีแนวโน้มที่จะเป็นผื่นแดงหยาบกร้าน คัน เป็นขุย เช่น บริเวณรูปวงรีหรือวงกลมบนผิวหนัง ผิวเราเหมือนกำแพงอิฐ และเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเราอายุมากขึ้น หรือโดยพันธุกรรม   โรคผิวหนังภูมิแพ้สามารถหายได้หรือไม่ โรคผิวหนังภูมิแพ้มักอยู่กับคุณเป็นเวลานาน คุณสามารถควบคุมโรคนี้ได้โดยการรักษา หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และทำให้ผิวของคุณชุ่มชื้นอยู่เสมอ ในเด็ก ภาวะนี้มักเริ่มหายไปเมื่ออายุได้ประมาณ 5 ถึง 6 ขวบแต่มักจะมีอาการกำเริบเกิดขึ้น ในผู้ใหญ่ ปัญหามักเป็นอาการระยะยาวหรือกลับมาเป็นซ้ำ โรคผิวหนังภูมิแพ้จะหายไปนานแค่ไหน ในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสให้ประสบความสำเร็จ คุณต้องระบุและหลีกเลี่ยงสาเหตุของปฏิกิริยาของคุณ หากคุณหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา ผื่นมักจะหายไปใน2 ถึง 4 สัปดาห์ คุณสามารถลองประโลมผิวด้วยผ้าเปียกเย็นและขั้นตอนการดูแลตนเองอื่นๆ โรคผิวหนังภูมิแพ้และโรคเรื้อนกวางแตกต่างกันอย่างไร  กลากและโรคผิวหนังภูมิแพ้คืออะไร  กลากเป็นคำทั่วไปสำหรับสภาพผิวที่มีลักษณะเป็นผื่น กลากชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดเรียกว่า atopic dermatitis กลากมักมีอาการคันมาก จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รักษาโรคผิวหนังภูมิแพ้ เนื่องจากโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอาจทำให้ผิวหนังของคุณแตก จึงมีความเสี่ยงที่ผิวหนังจะติดเชื้อแบคทีเรีย ความเสี่ยงจะสูงขึ้นหากคุณเกากลากหรือไม่ใช้การรักษาอย่างถูกต้อง สัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรียอาจรวมถึง: มีของเหลวไหลออกมาจากผิวหนัง โรคผิวหนังภูมิแพ้สามารถเป็นมะเร็งได้หรือไม่  โรคผิวหนังภูมิแพ้ เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งผิวหนัง ได้เรียนรู้อะไรจากการศึกษา  โรคผิวหนังภูมิแพ้มีศักยภาพในการทำนายความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งเซลล์ต้นกำเนิด (BCC) มะเร็งเซลล์สความัส (SCC) และมะเร็งผิวหนังที่ไม่ใช่มะเร็งผิวหนัง (NMSC)

ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/atopic-dermatitis-eczema/symptoms-causes/syc-20353273
  • https://www.aaaai.org/conditions-and-treatments/library/allergy-library/eczema-atopic-dermatitis
  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/eczema/eczema-basics
  • https://nationaleczema.org/research/eczema-facts/
  • https://www.aad.org/public/diseases/eczema/atopic-dermatitis
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด