• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

ข้ออักเสบ (Arthritis) : อาการ สาเหตุ การวินิจฉัยโรค การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
06/01/2021
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
ข้ออักเสบ
0
SHARES
28
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการข้ออักเสบ
  • สาเหตุของข้ออักเสบ
  • การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบ
  • การรักษาข้ออักเสบ
  • การป้องกันข้อต่ออักเสบ
  • ภาพรวมระยะยาว
Rate this post

โรคข้ออักเสบ (Arthritis) คือ การที่ข้อต่อนั้นมีการติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นกับข้อต่อใดข้อต่อหนึ่ง หรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆข้อต่อ โดยโรคข้ออักเสบนั้นมีอยู่นับร้อยชนิด มีสาเหตุ และวิธการรักษาแตกต่างกัน แต่ะมีสองประเภทที่พบมากที่สุดคือ โรคข้อเข่าเสื่อม (OA) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA)

อาการของโรคข้ออักเสบจะค่อยๆ ปรากฎช้าๆ แต่ในบางกรณีสามารถเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน โรคข้ออักเสบพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ในวัยอื่นๆ โรคข้ออักพบในเพศหญิงมากว่าชาย และมักพบในผู้ที่น้ำหนักตัวเยอะ

Arthritis

อาการข้ออักเสบ

อาการข้ออักเสบ ได้แก่ ปวดข้อ ข้อตึง และบวม ความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อต่อจะลดลง อาจจะพบรอยบวมแดงที่ข้อต่อ และอาการจะยิ่งแย่ลงในช่วงเช้า

สาเหตุของข้ออักเสบ

กระดูกอ่อนนั้นเป็นเนื้อเยื้อเกี่ยวพันที่ยืดหยุ่นในข้อต่อ ทำหน้าที่ปกป้องข้อต่อโดยการดูดซับแรงกด และแรงกระแทกที่เกิดขึ้น เมื่อเคลื่อนไหว และทำให้เกิดความเครียด การลดลงของปริมาณกระดูกอ่อนนั้นสามารถทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้

การสึกหรอสามารถทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม (OA) ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อ หรือการได้รับบาดเจ็บที่ข้อต่อจะทำให้การสลายตัวของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนนี้รุนแรงขึ้น และความเสี่ยงในการเป็นโรคจะเพิ่มมากขึ้นในผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้

โรคข้ออักเสบอีกชนิดที่พบบ่อยคือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ RA เกิดจากการต้านทานภูมิตัวเอง เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเนื้อเยื่อของร่างกาย เกิดผลกระทบด้านลบต่อกระดูกอ่อนในส่วนของการผลิตของเหลวหล่อเลี้ยงกระดูกอ่อน และหล่อลื่นข้อต่อ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบที่สามารถทำลายกระดูกได้ทั้งหมด รวมถึงกระดูกอ่อนด้วย แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่รับรองสาเหตุที่แท้จริงของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่พบว่าหากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ แสดงว่าบุคคลนั้นมีความเสี่ยงในการเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ 5 เท่า เมื่อเทียบกับคนธรรมดา

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบ

การพบแพทย์ที่วินิจฉัยและคัดกรองโรคทั่วไป เป็นขั้นตอนแรกที่ดีที่สุด จากนั้นจะถูกส่งไปยังแพทย์เฉพาะทาง เพื่อที่จะทำการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจหาของเหลวรอบ ๆ ข้อต่อข้อต่อ หรือรอยแดง และดูช่วงการเคลื่อนไหวที่จำกัด ในข้อต่อ 

ในกรณีที่มีอาการรุนแรงสามารถเลือกพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การวินิจฉัย และการรักษาที่รวดเร็วขึ้น

การทดสอบที่สามารถระบุว่าเป็นโรคข้ออักเสบหรือไม่ การวิเคราะห์ระดับการอักเสบในเลือด และของเหลวในข้อสามารถช่วยให้แพทย์ระบุได้ว่า เป็นโรคข้ออักเสบชนิดใด การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาแอนติบอดี้เฉพาะ เช่น Anti-CCP (Anti-cyclic citrullinated peptide), RF (Rheumatoid factor) และ ANA (Antinuclear antibody) ก็เป็นการตรวจวินิจฉัยสำหรับข้ออักเสบเช่นกัน

อาจจะมีการสแกนภาพร่วมด้วย เช่น X-ray MRI และ CT scan เพื่อตรวจภาพกระดูกและกระดูกอ่อนให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น เดือยกระดูก เป็นต้น

การรักษาข้ออักเสบ

เป้าหมายหลักของการรักษา คือ การลดความเจ็บปวดจากข้ออักเสบ และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดเพิ่มเติม โดยจะเป็นแง่ของการควบคุมความเจ็บปวดได้แก่ วิธีการ หรืออุปกรณ์ต่างๆ การร่วมวางแผนการรักษากับแพทย์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด

การใช้ยารักษาข้ออักเสบ

กลุ่มยาต่างๆ ที่ใช้ในการรักษาข้ออักเสบ ได้แก่

  • ยาแก้ปวด เช่น ไฮโดรโคโดน (Vicodin) หรืออะเซตามิโนเฟน (Tylinol) มีประสิทธิภาพในการจัดการความเจ็บปวด แต่ไม่ได้ช่วยลดการอักเสบ
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (Advil) และซาลิไซเลท ช่วยควบคุมความเจ็บปวด และการอักเสบ ซาลิไซเลทสามารถทำให้เลือดจางลงจึงควรใช้อย่างระมัดระวัง
  • ครีมเมนทอล หรือแคปไซซิ ช่วยระงับการส่งสัญญาณความเจ็บปวดของข้อต่อ
  • สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น เพรดนิโซน หรือคอร์ติโซน ช่วยลดการอักเสบ

แต่หากเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ แพทย์จะจ่ายยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยาลดน้ำหนัก (DMARDs) ซึ่งจะไปกดภูมิคุ้มกันของของผู้ป่วย

การผ่าตัด

การผ่าตัด เพื่อเปลี่ยนข้อต่อด้วยข้อเทียม เป็นทางเลือกเมื่อเกิดผลกระทบในข้อเข่าหรือสะโพก

หากข้ออักเสบรุนแรงในบริเวณที่เป็นข้อมือ หรือข้อนิ้ว แพทย์จะใช้วิธีการหลอมรวมข้อต่อในการรักษา

กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัดนั้นเป็นจะเป็นการออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อรอบๆ บริเวณที่มีปัญหาการอักเสบ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญในการรักษาอาการข้ออักเสบ

การป้องกันข้อต่ออักเสบ

ปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค สิ่งที่ทำได้คือเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีที่รู้สึกปวดข้อผิดปกติ แล้วรักษาเพื่อหยุดยั้งการอักเสบและถูกทำลายของข้อให้เร็วที่สุด ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่มจะมีโอกาสหยุดยั้งโรคได้ง่ายกว่าและมีโอกาสที่ข้อจะพิการน้อยกว่า สำหรับการดูแลตัวเองของผู้ป่วย ได้แก่

  • พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามผลการรักษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยา 
  • ออกกำลังกายข้อเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อและร่างกาย โดยควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายข้อ เช่น ยกของหนัก กระโดด นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ พับเพียบ หรือนั่งกับพื้น
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน เพื่อลดการรับน้ำหนักของข้อเข่า ข้อเท้า
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี และวิตามินซีอย่างเพียงพอเพื่อบำรุงเนื้อเยื่อและกระดูก
  • เมื่อมีอาการปวด นอกจากรับประทานยาบรรเทาปวดแล้ว อาจใช้วิธีประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 20 นาทีร่วมด้วย

ภาพรวมระยะยาว

ตอนนี้แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาโรคข้ออักเสบได้โดยตรง แต่การรักษาที่ถูกต้องสามารถลดอาการและความเจ็บปวดได้มาก

นอกเหนือจากการรักษาที่แพทย์แนะนำแล้ว ผู้ป่วยยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหลายอย่างเพื่อให้อาการข้ออักเสบดีขึ้นได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/arthritis/symptoms-causes/syc-20350772
  • https://www.arthritis.org/
  • https://www.nhs.uk/conditions/arthritis/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ไวรัส
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
จมูกไม่ได้กลิ่น

จมูกไม่ได้กลิ่น (Anosmia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.