ลิปสติกมีอันตรายหรือไม่ (Are Lipsticks Dangerous)

ทุกวันนี้มีผู้หญิงเป็นล้านคนที่ใช้ลิปสติกโดยไม่ได้คำนึงถึงว่ามีอันตรายใด ๆ หรือไม่ หลายคนไม่เคยรู้ว่าด้วยซ้ำว่าส่วนผสมลิปสติกมีตะกั่วเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าเป็นโลหะที่ไม่ดี ที่ส่งผลให้มีปัญหาด้านการเรียนรู้  มีปัญหาด้านพฤติกรรมและภาษา ตะกั่วคือสารพิษต่อระบบประสาทและเป็นสารที่มีอันตรายมากแม้จะใช้ในปริมากน้อยก็ตาม 

ตะกั่วในลิปสติกทำอะไรบ้าง 

ไม่ใช่ลิปสติกทุกตัวจะมีตะกั่วเป็นส่วนผสม แต่จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่ามีลิปสติกที่มีสารตะกั่วนั้นแพร่หลายมากกว่าที่เราเคยคิด  ในปี 2007 มีการรณรงค์ในโครงการเครื่องสำอางค์ที่มีความปลอดภัยขึ้นมา เพื่อชักนำให้เกิดการเรียนรู้ “จูบเป็นพิษ” -ได้พบว่าพบสารตะกั่วถึง 61% จากลิปสติกที่นำมาทดสอบ 33 ชิ้น ซึ่งมีระดับตั้งแต่ 0.03 ppm ถึง0.65 ppm หนึ่งส่วนในล้านส่วน (ppm) คือหน่วยวัดสารตะกั่วที่มีในสิ่งแวดล้อม   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่า ไม่มีตะกั่วในเลือดในระดับใดๆที่ชึ้นชื่อว่าปลอดภัย ทาง FDA กล่าวไว้ว่าจะไม่ยอมรับระดับของสารตะกั่วที่พบในลิปสติกไม่ว่าจะปริมาณเท่าไรก็ตามว่ามีความปลอดภัย ไม่มีรายชื่อลิปสติกเจ้าไหนมีระบุว่ามีตะกั่วเป็นส่วนประกอบ เพราะด้วยปริมาณที่มีน้อยมากแต่ก็คือการมีตะกั่วอยู่ดี ซึ่งตะกั่วนี้จะเข้าสู่ร่างกายและถูกดูดซึมผ่านทางผิวหนัง ผู้หญิงหลายคนจึงเริ่มมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยจากเครื่องสำอางค์กันมากขึ้น และตะกั่วไม่ใช่โลหะพิษชนิดเดียวที่เราพบจากสิ่งที่ป้ายลงบนริมฝีปากเราเท่านั้น จากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้จากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลลิฟอเนียที่ได้ตรวจวอบลิปสติก 8 ตัวและลิปมันอีก 24 ตัว สามารถตรวจพบโลหะหนักถึง 9 ชนิด ซึ่งรวมไปถึง โครเมียม  แคดเมียม แมงกานีส  อลูมินั่มและตะกั่วA ทาง FDA กล่าวไว้ว่า “เราได้ประเมินแล้วว่ามีแนวโน้มที่เราอาจได้รับอันตรายจากลิปสติกที่มีตะกั่วเป็นส่วนผสมจากการตรวจสอบทั้งสองรอบ ลิปสติกถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกที่ต้องมีการจำกัดการดูดซับ คือต้องเข้าสู่ร่างกายได้ในปริมาณที่น้อยมากๆเท่านั้น เราจะไม่ยอมรับระดับตะกั่วที่เราพบในลิปสติกว่ามีความปลอดภัยอย่างเด็ดขาด”  และดูเหมือนว่าทางโรงงานเครื่องสำอางค์เองยังไม่เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว ถึงได้ออกมาพูดในทำนองที่ว่าจำนวนโลหะหนักในลิปสติกนั้นไม่มีอันตรายใดๆ แต่ทาง FDA ย้ำไว้ว่า “ถึงกระนั้นเราก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่าตะกั่วที่เราพบในลิปสติกจะมีความปลอดภัย เรากำลังประเมินสิ่งที่อาจมีความจำเป็นต้องแนะนำถึงปริมาณตะกั่วในลิปสติกสูงสุดเพื่อป้องกันดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพของผู้บริโภค”  Are lipsticks dangerous ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ทาง FDA ทำและการเมินเฉยของโรงงานผลิตเครื่องสำอางคือการสัมผัสรับสารสะสมและมีแนวโน้มที่อาจส่งผลได้ในระยะยาว เป็นเรื่องจริงที่ว่าการทาลิปสติกเพียงแค่ครั้งเดียวสารตะกั่วจะไม่สามารถทำอันตรายเราได้ และข่าวดีก็คือไม่ใช่ลิปสติกทุกแท่งที่จะตรวจพบตะกั่วหรือโลหะหนักอื่นๆ (และอีกอย่างคือเรื่องของราคาไม่ได้เป็นตัวกำหนด ราคาถูกหรือแพงไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีตะกั่วหรือไม่อย่างไร) ปัญหาทีมีก็คือในเวลาที่ผู้หญิงใช้ลิปสติกนั้น ผู้หญิงมักจะทาซ้ำ 2-14 ครั้งต่อวัน ทำให้มีสารจะเข้าสู่ร่างกายและถูกดูดซึมผ่านทางริมฝีปากได้มากถึง 87 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้หญิงไม่เพียงแค่เติมลิปสติกหลายครั้งต่อวันเท่านั้นแต่พวกเธอยังคงทำสิ่งนี้ตลอดทั้งชีวิตอีกด้วย ซึ่งนั้นหมายความว่าได้มีการรับเอาตะกั่วและโลหะหนักอื่นๆเข้าไปทุกๆวันด้วยและสิ่งนี้เองอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ หนึ่งในเรื่องท้าทายสำหรับคนที่ต้องการหลีกเลี่ยงการรับสารโลหะเข้าสู่ร่างกายทุกชนิด  ยกเว้นอลูมินั่มที่ตั้งใจเติมลงไปในลิปสติกและลิปมัน โลหะเหล่านี้คือสารปนเปื้อนที่มีในเม็ดสี และวัตถุดิบพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตเครื่องสำอางค์ และเพราะว่าโลหะดังกล่าวไม่ใช่ส่วนผสม บริษัทที่ผลิตยาจึงไม่มีความจำเป็นต้องลงรายละเอียดในฉลากของผลิตภัณฑ์  กฎหมายควบคุมเครื่องสำอางค์ที่เคยผ่านสภามาตั้งแต่ปี 1938 และยังไม่เคยมีการอัพเดทอีกเลย ทาง FDA นั้นไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆมีความปลอดภัยก่อนจะถูกนำออกมาจำหน่าย รวมไปถึงไม่มีอำนาจมากพอในการดึงเอาผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายออกจากชั้นวางสินค้าได้  เราจึงต้องการให้ทาง FDA มีอำนาจโดยสภาและสามารถเข้ามาจัดการเพื่อไม่ให้บรรดาผู้หญิงทั้งหลายต้องมารับความเสี่ยงเมื่อต้องแต่งหน้า บริษัทที่ผลิตเครื่องสำอางค์ควรตั้งมั่นในมารตราฐานในการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ในปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคเองก็ควรต้องเพิ่มความระมัดระวังในการปกป้องตัวเองจากการได้รับโลหะหนักจากผลิตภัณฑ์ริมฝีปาก ในขั้นแรกที่ควรทำคือพยายามใช้ให้น้อยที่สุด หากพบว่าตัวคุณเองมีการทาลิปสติกมากกว่า 14 ครั้งต่อวัน ควรลดลง และขั้นตอนที่สองคือไม่ควรปล่อยให้เด็กใช้ลิปสติก เพราะร่างกายของเด็กมีความเสี่ยงในการรับสารพิษจากโลหะได้มากเป็นพิเศษ จากนั้นไปทำให้มั่นใจวาสในเวลาที่พวกเขาโตขึ้นมา เราจะสามารถแก้ปัญหาสารเคมีเป็นพิษในเครื่องสำอางได้แล้ว

อาการแพ้ลิปสติก

ปฏิกิริยาการแพ้ต่อลิปสติกหรือผลิตภัณฑ์สำหรับริมฝีปากอาจแตกต่างกันไปในระดับความรุนแรงและอาจแสดงอาการได้หลายอย่าง หากคุณสงสัยว่าคุณแพ้ลิปสติก จำเป็นต้องหยุดใช้ผลิตภัณฑ์และปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการประเมินและวินิจฉัยที่เหมาะสม อาการทั่วไปของการแพ้ลิปสติกอาจรวมถึง:
  • อาการคัน:อาการคันที่ริมฝีปากเป็นอาการเริ่มแรกของการแพ้ลิปสติก คุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและคันอย่างต่อเนื่องบนริมฝีปากหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์
  • เป็นรอยแดง:ปฏิกิริยาการแพ้อาจทำให้เกิดรอยแดงและอักเสบที่ริมฝีปาก รอยแดงนี้อาจแปลเฉพาะบริเวณที่ทาลิปสติก
  • อาการบวม:อาจเกิดอาการบวมที่ริมฝีปากโดยเฉพาะในบริเวณที่ลิปสติกสัมผัสกัน อาการบวมนี้อาจเล็กน้อยถึงรุนแรง และบางครั้งอาจทำให้ริมฝีปากดูใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
  • ความรู้สึกแสบร้อนหรือแสบ:คนที่แพ้ลิปสติกบางคนจะรู้สึกแสบร้อนหรือแสบร้อนบนริมฝีปาก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้
  • ความแห้งกร้านและการลอก:ปฏิกิริยาการแพ้อาจทำให้ริมฝีปากแห้งแตกหรือลอกเป็นขุย เนื่องจากผิวหนังเกิดการระคายเคืองและเสียหาย
  • ผื่น:ในกรณีที่รุนแรงกว่านั้น ปฏิกิริยาการแพ้อาจทำให้เกิดผื่นหรือลมพิษบนหรือรอบริมฝีปากได้
  • แผลพุพอง:ในบางกรณีซึ่งพบไม่บ่อย การแพ้ลิปสติกอาจส่งผลให้เกิดตุ่มเล็กๆ บนริมฝีปาก เป็นแผลพุพอง
  • ความเจ็บปวดหรือไม่สบายตัว:อาการไม่สบายที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ลิปสติกอาจมีตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อยไปจนถึงปวดมาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปฏิกิริยา
  • กลากหรือโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส:โรคผิวหนังอักเสบจากการแพ้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อสัมผัสกับส่วนผสมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์ริมฝีปากซ้ำ ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการแห้งเรื้อรัง ตกสะเก็ด และการเปลี่ยนแปลงคล้ายกลากบนริมฝีปาก
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าปฏิกิริยาการแพ้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน และไม่ใช่ทุกคนจะมีอาการหรือความรุนแรงของอาการเหมือนกัน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์สำหรับริมฝีปากบางชนิดอาจมีสารก่อภูมิแพ้ทั่วไป เช่น น้ำหอม สารกันบูด หรือสีย้อมเฉพาะที่สามารถกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาในบุคคลที่แพ้ง่าย หากคุณสงสัยว่าจะแพ้ลิปสติก ให้หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ทันทีและหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารอื่นใดอีก คุณอาจต้องการปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการทดสอบภูมิแพ้เพื่อระบุสารก่อภูมิแพ้เฉพาะที่รับผิดชอบต่ออาการของคุณ พวกเขาสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับอาการแพ้และแนะนำผลิตภัณฑ์สำหรับริมฝีปากที่ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้หากจำเป็น ในกรณีที่รุนแรง อาจต้องใช้ยาตามใบสั่งแพทย์หรือการรักษาเฉพาะที่เพื่อบรรเทาอาการ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoralderm.com/enhancing-lips-with-cosmetics-may-be-dangerous-to-your-health/#:~:text=Recently%2C%20however%2C%20research%20performed%20by,toxic%20to%20the%20human%20body.
  • https://edition.cnn.com/2014/04/04/opinion/rasanayagam-lipstick-lead/index.html
  • https://blackpaint.sg/lipsticks-harmful-ingredients/
  • https://www.femina.in/beauty/make-up/is-your-lipstick-killing-you-83613.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด