ข้อเท้าพลิก (Ankle Sprain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ข้อเท้าพลิก (Ankle Sprain) อาการ หรือข้อเท้าพลิกเป็นอาการเจ็บปวดของเส้นเอ็นยึดที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้า โดยส่วนใหญ่อาการบาดเจ็บมักเป็นจากอุบัติเหตุเมื่อข้อเท้าของคุณถูกบิดหรือหมุนในทางที่ผิดปกติ การทำแบบนี้ทำให้เส้นเอ็นยึดระหว่างข้อต่อเเละกระดูกถูกดึงหรือฉีกออก เส้นเอ็นยึดที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อทั้งหมดมีการเคลื่อนที่จำกัดเพื่อเป็นการรักษาควรสมดุลของข้อต่อ เมื่อเส้นเอ็นยึดรอบๆข้อเท้าถูกผลักหรือได้รับแรงกดดันผิดทางจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการข้อเท้าเเพลง โดยส่วนใหญ่เเล้วข้อเท้าแพลงหมายถึงอาการบาดเจ็บภายในเส้นเอ็นยึดของข้อเท้า  คุณควรไปพบแพทย์เมื่อเกิดอาการข้อเท้าเเพลง จากนั้นแพทย์จะประเมินความรุนเเรงของอาการบาดเจ็บและทำการรักาาต่อไป โดยการรักษาข้อเท้าพลิกหรือแลพงอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนเพื่อรักษาอาการข้อเท้าอักเสบให้หายเป็นปกติ Ankle Sprain

สาเหตุของข้อเท้าแพลงเกิดจากอะไร?

โดยส่วนใหญ่เเล้วอาการข้อเท้าพลิกหรือแพลงมักเกิดขึ้นเมื่อข้อเท้าเกิดการหมุนหรือบิดรวมถึงถูกแรงกดบังคับทำให้ข้อเท้าอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติ ในระหว่างออกกำลังกายข้อเท้าของเราอาจถูกบิดและพับงอจึงเป็นผลทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเป็นสาเหตุทำให้เส้นเอ็นยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆข้อเท้าถูกดึงจนตึงหรือฉีกออก ดังนั้นอาการบวมที่ข้อเท้าจึงเกิดจากการฉีกขาดของเส้นเอ็ดนี้ คุณจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่คุณลงน้ำหนักไปที่ข้อเท้าที่เกิดการอักเสบหรือบวมด้วยเช่นกัน นอกจากเส้นเอ็นยึดกระดูกที่เกิดความเสียหายเเล้ว เส้นเอ็นกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อนและเส้นเลือดอาจเกิดความเสียหายได้เนื่องจากข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลง  

ลองดู Movinix capsules และ Flexadel gel ช่วยบรรเทาอาการข้อเท้าพลิก


  อาการข้อเท้าเเพลงสามารถเกิดได้กับทุกคนและทุกวัยที่เป็นผู้เล่นกีฬาหรือนักกีฬา การเดินบนพื้นที่ไม่ส่ำเสมอกันหรือแม้แต่การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ทั้งหมดนี้สามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าได้ 

อาการข้อเท้าพลิกหรือแพลงมีอะไรบ้าง?

เมื่อคุณมีอาการข้อเท้าพลิกหรือเเพลง คุณสามารถสังเกตุอาการได้ดังต่อไปนี้:
  • ข้อเท้าบวม
  • อาการกดเจ็บ
  • มีรอยเขียวช้ำ
  • อาการเจ็บปวด
  • ไม่สามารถลงน้ำหนักที่ข้อเท้าที่พลิกได้ 
  • ผิวหนังเปลี่ยนสี 
  • ข้อเท้าอ่อนเเรง 
อาการเจ็บปวดที่ข้อเท้ามีหลายประเภทแตกต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรไปพบแพทย์เมื่อคุณเคยมีอาการบาดเจ็บหรือมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้า จากนั้นแพทย์จะทำการประเมินเพื่อระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากอาการบาดเจ็บ ข้อเท้าแพลงหรือสาเหตุอื่นๆที่ร้ายเเรงกว่า 

วิธีรักษาข้อเท้าพลิกทำได้อย่างไรบ้าง ?

การรักษาอาการข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเเละป้องกันอาการต่างๆ ดังนั้นสิ่งสำคัฯคือไม่ควรลงน้ำหนักไปที่ข้อเท้าข้างที่เคยเกิดอาการบาดเจ็บจากข้อเท้าพลิก เมื่อข้อเท้าหายพลิกหรือแพลงเเล้ว 

การรักษาที่บ้าน 

คุณสามารถรักษาอาการข้อเท้าเเพลงที่ไม่รุนเเรงเองที่บ้านด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ :
  • ใช้ผ้าพันแผลที่มีความยืดหยุ่นพันที่ข้อเท้าแต่ไม่ควรพันเเน่นเกินไป
  • ควรสวมใส่เกราะเพื่อพยุงข้อเท้าของคุณ
  • ใช้ไม้เท้าเมื่อจำเป็น 
  • ยกเท้าสูงขึ้นด้วยหมอนหนุนเพื่อลดอาการบวมของข้อเท้า 
  • สามารถทาน Flexadel, Movinix ยากลุ่มไอบลูโพรเฟน (เช่น Advil) หรือยาอะเซตามีโนเฟน ( เช่น ไทลินอล) เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
  • พักผ่อนให้เพียงพอและไม่ควรลงน้ำหนักไปที่ข้อเท้าข้างที่เกิดอาการเจ็บปวด
การประคบเย็นด้วยน้ำเเข็งสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและลดอาการบวมได้ โดยวันเเรกคุณควรประคบน้ำแข็งทุกๆ 20-30 นาที 3-4 ครั้งต่อวัน หลังจากนั้นให้ประคบน้ำแข็งทุกๆ 3-4 ชั่วโมงเเล้วอีก 2 วัน แพทย์อาจเเนะนำให้คุณพักผ่อนและไม่ควรใช้งานข้อเท้าข้างที่บวมจนกว่าข้อเท้าจะหายดีขึ้น สำหรับข้อเท้าแพลงที่ไม่รุนเเรงใช้เวลารักษา 10 วัน ในขณะที่ข้อเท้าแพลงที่มีอาการบาดเจ็บรุนเเรงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษา

การผ่าตัด

การผ่าตัดรักษาอาการข้อเท้าพลิกเกิดขึ้นได้ในกรณีที่น้อยมาก โดยการผ่าตัดจะทำเมื่อเกิดความเสียหายที่เส้นเอ็นยึดกระดูกับกล้ามเนื้ออย่างรุนเเรงและส่งผมทำให้เกิดการพิการได้หรืออาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าไม่สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ทางเลือกของวิธีผ่าตัดได้แก่ 
  • การผ่าตัดกระดูกด้วยวิธีส่องกล้อง : ระหว่างการผ่าตัดกระดูกแบบส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อตรวจหาความเสียหายภายในข้อต่อว่ามีกระดูกแตกหักหรือไม่ 
  • การผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูโครงสร้าง: สำหรับการผ่าตัดประเภทนี้ศัลยเเพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขเส้นเอ็นที่ถูกฉีกออกกด้วยการเย็บเข้าด้วยกัน โดยแพทย์อาจจะนำเส้นเอ็นยึดกระดูกหรือเส้นเอ็นกล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้ามาซ่อมเเซมเส้นเอ็นที่เกิดความเสียหาย
อย่างไรก็ตามการผ่าตัดเพื่อรักษาขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงและความสามารถในการเคลื่อนไหวของคุณ หลังจากการผ่าตัดการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นสิ่งสำคัญของกระบวนการรักษาข้อเท้าเพื่อทำให้สามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้อีกครั้ง  คุณจำเป็นต้องไปพบเเพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการและเข้ารับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและทำให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้าของคุณแข็งเเรงมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของข้อเท้าพลิกของแต่ละคนและวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดดังนั้นการทำกายภาพบำบัดจึงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

ภาพรวมของอาการข้อเท้าแพลงเรื้อรังเป็นอย่างไร ?

ในกรณีส่วนใหญ่ของอาการข้อเท้าพลิกหรือแพลงเกิดขึ้นแบบไม่ร้ายเเรงและสามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม โดยระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาข้อเท้าแพลงให้หายดีขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของอาการข้อเท้าแพลง ซึ่งอาการข้อเท้าแพลงทั่วไปจะใช้เวลารักษาเพียง 1 อาทิตย์ และอาการที่รุนเเรงกว่านั้นต้องใช้เวลารักษาหลายเดือน แม้ว่าอาการเจ็บปวดและบวมของข้อเท้าจะหายไป ข้อเท้าข้างที่พลิกหรือแพลงยังคงใช้งานไม่ได้ตามปกติ แพทย์จะเเนะนำให้คุณค่อยขยับหรือทำกายบริหารข้อเท้าข้างที่แพลงเพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวแข็งเเรงขึ้น อย่างไรก็ตามคุณไม่ควรทำการบริหารเองโดยที่แพทย์ไม่ได้บอกให้ทำเพราะอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนเเรงมากขึ้นได้  

ลองดู Movinix และ Flexadel ช่วยบรรเทาอาการข้อเท้าพลิก


 

การป้องกันข้อเท้าพลิก

คุณสามารถป้องกันการเกิดข้อเท้าพลิกหรือแพลงในอนาคตได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ :
  • ผันข้อเท้าข้างที่เกิดข้อเท้าแพลงด้วยผ้าพันแผลแบบยืดหยุ่น
  • สวมใส่เฝือกข้อเท้าเมื่อจำเป็น
  • ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย
  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง
  • อบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย
  • สวมใส่รองเท้าที่มีคุณภาพสูง
  • ใช้ความระมัดระวังเมื่อคุณเดินอยู่บนทางเท้าที่ไม่สม่ำเสมอกัน
  • เคลื่อนไหวร่างกายให้ช้าลงหรือหยุดทำกิจกรรมเมื่อคุณรู้สึกอ่อนเเรง 
คุณสามารถไปพบเเพทย์ได้ถ้าหากคุณเกิดอาการข้อเท้าพลิกอีกครั้งเพราะถ้าหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเกิดอาการข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าพลิกเรื้อรังที่ทำให้พิการได้ 

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเท้าแพลง ได้แก่:
  • การมีส่วนร่วมกีฬา ข้อเท้าแพลงเป็นการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในกีฬาที่ต้องมีการกระโดด การตัด หรือการกลิ้งหรือบิดเท้า เช่น บาสเก็ตบอล เทนนิส ฟุตบอล ฟุตบอล และการวิ่งเทรล
  • พื้นผิวไม่เรียบ การเดินหรือวิ่งบนพื้นผิวที่ไม่เรียบหรือสภาพสนามที่ไม่ดีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเท้าแพลงได้
  • อาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าก่อนหน้านี้ เมื่อคุณเคยข้อเท้าแพลงหรือมีอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าแบบอื่น คุณก็มีโอกาสที่ข้อเท้าจะแพลงอีกครั้ง
  • สภาพร่างกายไม่ดี ความแข็งแรงหรือความยืดหยุ่นของข้อเท้าต่ำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพลงเมื่อเข้าร่วมกีฬา
  • รองเท้าที่ไม่เหมาะสม รองเท้าที่ไม่พอดีหรือไม่เหมาะสมกับกิจกรรม เช่นเดียวกับรองเท้าส้นสูงโดยทั่วไป ทำให้ข้อเท้าเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ

ภาวะแทรกซ้อน

การไม่รักษาข้อเท้าแพลงอย่างเหมาะสม การทำกิจกรรมต่างๆ เร็วเกินไปหลังจากข้อเท้าแพลงหรือข้อเท้าแพลงซ้ำๆ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้:
  • ปวดข้อเท้าเรื้อรัง
  • ความไม่มั่นคงของข้อต่อข้อเท้าเรื้อรัง
  • โรคข้ออักเสบในข้อต่อข้อเท้า

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/pain-management/ankle-sprain
  • https://www.health.harvard.edu/pain/recovering_from_an_ankle_sprain
  • https://www.physio-pedia.com/Ankle_Sprain

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด