ปวดข้อเท้า (Ankle Pain) อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ปวดข้อเท้า
อาการปวดข้อเท้า (Ankle Pain) หมายถึงอาการเจ็บปวดทุกประเภทหรือความรู้สึกไม่สบายที่เกิดขึ้นบริเวณข้อเท้าของคุณ อาการปวดข้อเท้าทำให้เจ็บข้อเท้าเช่นอาการข้อเท้าเคล็ดหรืออาการเจ็บปวดเหมือนเป็นโรคข้อเท้าอักเสบ   ข้อมูลจากสถาบันวิทยาศาสตร์และสุขภาพแห่งชาติ (NUHS) กล่าวว่าอาการข้อเท้าเคล็ดเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้า โดยคิดเป็น 85 เปอร์เซนต์ของอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับข้อเท้า ซึ่งอาการปวดข้อเท้าเคล็ดเกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นที่ยึดติดกับกระดูกข้อเท้าถูกยืดออกหรือดึงออกมากเกินไป  อาการข้อเท้าเคล็ดส่วนใหญ่เป็นอาการเจ็บข้อเท้าด้านนอกที่เกิดขึ้นเมื่อเท้าของคุณบิดงอเข้าด้านใน เป็นสาเหตุทำให้ข้อเท้าบิดลงสู่พื้นและทำให้เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด โดยปกติอาการข้อเท้าพลิกทำให้ข้อเท้าบวมและฟกช้ำเป็นเวลาประมาณ 7-14 วัน อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อทำให้อาการเจ็บปวดข้อเท้าอย่างรุนเเรงหายเป็นปกติ อ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุของอาการข้อเท้าพลิกและวิธีรักษา Ankle Pain

ลักษณะของอาการปวดข้อเท้า

ข้อเท้าเคล็ดเป็นสาเหตุทั่วไปของอาการเจ็บปวดในข้อเท้า โดยปกติข้อเท้าเคล็ดเกิดขึ้นเมื่อหมุนข้อเท้าหรือข้อเท้าเกิดการบิดงอเป็นสาเหตุทำให้ข้อเท้าด้านนอกพลิกลงสู่พื้นส่งผลทำให้เส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ยึดกระดูกเข้าด้วยกันในข้อเท้าฉีกขาด นอกจากนี้การหมุนของเท้าที่ผิดปกติเป็นสาเหตุทำให้กระดูกอ่อนเเละเส้นเอ็นกล้ามเนื้อในข้อเท้าของคุณเสียหาย นอกอาการปวดข้อเท้าสามารถเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้: 
  • ข้อต่ออักเสบ โดยเฉพาะโรคข้อกระดูกอักเสบ
  • โรคเก๊าต์
  • เส้นประสาทเสียหายหรือบาดเจ็บเช่นโรคปวดร้าวลงขา
  • เส้นเลือดอุดตัน
  • เกิดการติดเชื้อในข้อต่อ
โรคเก๊าต์เกิดขึ้นเมื่อมีการสร้างกรดยูริกขึ้นภายในร่างกาย ซึ่งกรดยูริกที่เกิดขึ้นมีความเข้มข้นสูงโดยกรดยูริกเกิดการสะสมและตกผลึกผู้ในข้อต่อทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในข้อต่ออย่างรุนเเรง โรคเก๊าต์เทียมทำให้เกิดอาการปวดข้อเช่นกัน ซึ่งเก๊าต์เทียมเกิดจากการสะสมของแคลเซียมภายในข้อต่อ โดยลักษณะของโรคเก๊าต์ทั้งชนิดแท้เเละเทียม ได้แก่อาการเจ็บปวด ข้อเท้าบวมและผิวหนังแดง นอกจากนี้โรคข้อต่ออักเสบสามารถทำให้ปวดข้อเท้าได้เช่นกัน ซึ่งภาวะข้อต่ออักเสบเกิดขึ้นเมื่อมีข้อต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดการติดเชื้อ โรคข้อต่ออักเสบหลายชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่เเล้วเกิดจากโรคข้อต่อกระดูกอักเสบ โดยโรคนี้เกิดจากข้อต่อชำรุดหรือสึกหรอ ดังนั้นผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคนี้ได้มากที่สุด โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อเป็นโรคข้อต่ออักเสบชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อจากแบคทีเรียและเชื้อรา ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในข้อเท้า ถ้าหากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในข้อเท้าข้างใดข้างหนึ่ง

การดูเเลอาการปวดข้อเท้าที่บ้าน

สำหรับการดูเเลรักษาอาการปวดข้อเท้าที่บ้าน แพทย์แนะนำให้ใช้วิธี RICE ซึ่งได้แก่
  • พักผ่อน  หมายถึงการหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักที่ข้อเท้าที่บาดเจ็บ โดยวันเเรกควรค่อยๆขยับข้อเท้าก่อนและควรใช้ไม้เท้าหรือไม้ค้ำยันเมื่อต้องเดินหรือเคลื่อนไหว
  • น้ำแข็ง (Ice) คุณสามารถใช้น้ำเเข็งประคบบนข้อเท้าที่เกิดอาการบาดเจ็บได้เป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาทีและเว้นระยะเวลาห่างของการประคบ 90 นาที ทำแบบนี้เป็นประจำ 5 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 3 วันหลังจากได้รับบาดเจ็บ เพื่อช่วยทำบรรเทาอาการบวมเเละกดเจ็บ
  • การพันผ้า (Compression) พันข้อเท้าที่เกิดอาการเจ็บปวดด้วยผ้าพันแผลชนิดยืนหยุ่นเช่นผ้าพันแผล ACE โปรดระวังและไม่ควรพันผ้าให้แน่นจนทำให้นิ้วหัวเเม่เท้ากลายเป็นสีน้ำเงิน
  • ยก (Elevation) เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณสามารถยกหรือรักษาระดับของข้อเท้าให้อยู่สูงกว่าหัวใจ ด้วยการใช้หมอนหรืออุปกรณ์อื่นๆรองข้อเท้าให้ยกสูงขึ้น
เมื่อมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นคุณสามารถหาซื้อตามร้านขายยาใช้เองได้เช่นยาพาราเซตามอลหรือยาไอบลูโพรเฟนเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและข้อเท้าบวม เมื่ออาการเจ็บปวดลดลงคุณสามารถออกกำลังกายข้อเท้าได้ด้วยการหมุนข้อเท้าเบาๆเป็นวงกลม โดยหมุนข้อเท้าไปทั้งด้านซ้ายเเละขวา ควรหยุดเมื่อเริ่มมีอาการเจ็บปวด นอกจากนี้คุณสามารถใช้มือข้อค่อยยืดเท้าไปขึ้นลงเบาๆ การออกกำลังกายจะช่วยทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเท้ากลับมาเป็นปกติและช่วยบรรเทาอาการข้อเท้าบวมรวมถึงทำให้อาการปวดในข้อเท้าหายเร็วขึ้น ถ้าหากคุณมีอาการปวดข้อเท้าที่เกิดขึ้นจากโรคข้อต่ออักเสบ คุณไม่สามารถรักษาอาการที่เกิดขึ้นให้หายด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามมีวิธีรักษาที่สามารถช่วยได้ดังต่อไปนี้ 
  • การใช้ยาทาเเก้ปวดเฉพาะจุด
  • การทานยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อบรรเทาอาการปวด บวมและการติดเชื้อ
  • พยายามไปออกกำลังกายและเข้าฟิตเนสเพื่อช่วยรักษาการออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ฝึกฝนพฤติกรรมการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • ยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อเท้า
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีสุขภาพดีเเละไม่ควรลงน้ำหนักที่ข้อเท้าข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป 

ทางเลือกในการรักษาอาการปวดข้อเท้าอื่นๆ

ถ้าหากการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตเเละซื้อยาจากร้านขายยาไม่สามารถรักษาอาการปวดข้อเท้าได้ จำเป็นต้องหาทางเลือกในการรักษาด้วยวิธีอื่น แผ่นกายอุปกรณ์รองเท้าใช้สำหรับสอดเข้าไปในรองเท้าหรือการใส่เฝือกที่ข้อเท้าเป็นวิธีรักษาอาการปวดข้อเท้าที่ไม่ต้องผ่าตัดเพื่อช่วยจัดตำแหน่งของข้อเท้าและบรรเทาอาการเจ็บปวด ซึ่งกายอุปกรณ์มีหลายขนาดและระดับเพื่อช่วยรักษาและเเบ่งเบาการลงน้ำหนักของร่างกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด การใส่เฝือกที่ข้อเท้าใช้หลักการทำงานเดียวกัน ซึ่งเฝือกที่ใช้มีหลายขนาดแตกต่างกัน โดยเฝือกบางประเภทสามารถสวมใส่กับรองเท้าได้ตามปกติ ในขณะที่เฝือกบางประเภทมีขนาดใหญ่เกินไปจนทำให้ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าได้  ในขณะที่มียารักษาอาการปวดข้อต่อมีไม่กี่ประเภท ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนเลือกใช้ยารักษาอาการเจ็บข้อเท้าของคุณอย่างเหมาะสม การฉีดยาสเตียรอยด์สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและการติดเชื้อในข้อเท้าได้ การรักษาด้วยการฉีดยาประกอบด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการข้อเท้าบวมเเละติดขัด การฉีดยาส่วนใหญ่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีซึ่งสามารถลดอาการเจ็บปวดได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ในขณะที่การออกฤทธิ์ของยาสามารถอยู่ได้ยาวนาน 3-6 เดือน การรักษาที่ดีที่สุดคือวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัดศัลยกรรมและคุณสามารถพักผ่อนเองที่บ้านได้

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อมีอาการปวดข้อเท้า

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อมีอาการปวดข้อเท้า แนวทางทั่วไปบางประการในการจัดการกับอาการปวดข้อเท้าได้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคลตามเงื่อนไขเฉพาะของคุณ นี่คือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำโดยทั่วไป: สิ่งที่ควรทำ: พักผ่อน: ให้เวลาข้อเท้าของคุณรักษาอย่างเพียงพอโดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ความเจ็บปวดรุนแรงขึ้น น้ำแข็งประคบ: ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีอาการประมาณ 15-20 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมง สามารถช่วยลดการอักเสบและความเจ็บปวดได้ การบีบรัด: ใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นหรือผ้าพันรัดเพื่อรองรับข้อเท้าและลดอาการบวม ระดับความสูง: ให้ข้อเท้าของคุณสูงกว่าระดับหัวใจทุกครั้งที่ทำได้เพื่อลดอาการบวม ออกกำลังกายเบาๆ: ออกกำลังกายช่วงการเคลื่อนไหวเบาๆ หรือทำตามกิจวัตรกายภาพบำบัดที่กำหนดเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ข้อเท้าและส่งเสริมการรักษา สวมรองเท้าที่เหมาะสม: เลือกรองเท้าที่ให้การรองรับและการรองรับแรงกระแทกอย่างเพียงพอสำหรับเท้าและข้อเท้าของคุณ ใช้อุปกรณ์ช่วย: พิจารณาใช้ไม้ค้ำหรือไม้ค้ำยันเพื่อถ่ายน้ำหนักออกจากข้อเท้าที่บาดเจ็บขณะเดิน ใช้ยาบรรเทาอาการปวด: ยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ เช่น ไอบูโพรเฟนหรืออะเซตามิโนเฟน อาจช่วยจัดการความเจ็บปวดและลดการอักเสบได้ (ทำตามปริมาณที่แนะนำและปรึกษาแพทย์หากคุณมีอาการป่วย) สิ่งที่ไม่ควรทำ: หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกสูง: หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อเท้าของคุณมีแรงกดมากเกินไป เช่น การวิ่งหรือกระโดด อย่าเพิกเฉยต่อความเจ็บปวด: ฟังร่างกายของคุณและหลีกเลี่ยงการฝืนความเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่สบายอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้อาการบาดเจ็บแย่ลง หลีกเลี่ยงความร้อน: ความร้อนอาจเพิ่มการอักเสบ ดังนั้นจึงควรใช้น้ำแข็งในระยะเริ่มต้นของอาการปวดข้อเท้า อย่าวินิจฉัยหรือรักษาด้วยตนเอง: หากอาการปวดยังคงอยู่หรือแย่ลง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงรองเท้าคับ: รองเท้าที่คับเกินไปหรือขาดการรองรับอาจทำให้อาการปวดข้อเท้ารุนแรงขึ้น อย่ากลับมาทำกิจกรรมตามปกติเร็วเกินไป: ให้เวลาข้อเท้าของคุณรักษาให้เพียงพอก่อนที่จะทำกิจกรรมที่หนักหน่วง โปรดจำไว้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางทั่วไป และการรักษาเฉพาะสำหรับอาการปวดข้อเท้าจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขอคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเสมอเพื่อการดูแลเฉพาะบุคคลแนวทางทั่วไปบางประการในการจัดการกับอาการปวดข้อเท้าได้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคลตามเงื่อนไขเฉพาะของคุณ นี่คือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำโดยทั่วไป:

สิ่งที่ควรทำ:

  • พักผ่อน: ให้เวลาข้อเท้าของคุณรักษาอย่างเพียงพอโดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ความเจ็บปวดรุนแรงขึ้น
  • น้ำแข็งประคบ: ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีอาการประมาณ 15-20 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมง สามารถช่วยลดการอักเสบและความเจ็บปวดได้
  • การบีบรัด: ใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นหรือผ้าพันรัดเพื่อรองรับข้อเท้าและลดอาการบวม
  • ระดับความสูง: ให้ข้อเท้าของคุณสูงกว่าระดับหัวใจทุกครั้งที่ทำได้เพื่อลดอาการบวม
  • ออกกำลังกายเบาๆ: ออกกำลังกายช่วงการเคลื่อนไหวเบาๆ หรือทำตามกิจวัตรกายภาพบำบัดที่กำหนดเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ข้อเท้าและส่งเสริมการรักษา
  • สวมรองเท้าที่เหมาะสม: เลือกรองเท้าที่ให้การรองรับและการรองรับแรงกระแทกอย่างเพียงพอสำหรับเท้าและข้อเท้าของคุณ
  • ใช้อุปกรณ์ช่วย: พิจารณาใช้ไม้ค้ำหรือไม้ค้ำยันเพื่อถ่ายน้ำหนักออกจากข้อเท้าที่บาดเจ็บขณะเดิน
  • ใช้ยาบรรเทาอาการปวด: ยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ เช่น ไอบูโพรเฟนหรืออะเซตามิโนเฟน อาจช่วยจัดการความเจ็บปวดและลดการอักเสบได้ (ทำตามปริมาณที่แนะนำและปรึกษาแพทย์หากคุณมีอาการป่วย)

สิ่งที่ไม่ควรทำ:

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกสูง: หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อเท้าของคุณมีแรงกดมากเกินไป เช่น การวิ่งหรือกระโดด
  • อย่าเพิกเฉยต่อความเจ็บปวด: ฟังร่างกายของคุณและหลีกเลี่ยงการฝืนความเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่สบายอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้อาการบาดเจ็บแย่ลง
  • หลีกเลี่ยงความร้อน: ความร้อนอาจเพิ่มการอักเสบ ดังนั้นจึงควรใช้น้ำแข็งในระยะเริ่มต้นของอาการปวดข้อเท้า
  • อย่าวินิจฉัยหรือรักษาด้วยตนเอง: หากอาการปวดยังคงอยู่หรือแย่ลง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงรองเท้าคับ: รองเท้าที่คับเกินไปหรือขาดการรองรับอาจทำให้อาการปวดข้อเท้ารุนแรงขึ้น
  • อย่ากลับมาทำกิจกรรมตามปกติเร็วเกินไป: ให้เวลาข้อเท้าของคุณรักษาให้เพียงพอก่อนที่จะทำกิจกรรมที่หนักหน่วง
โปรดจำไว้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางทั่วไป และการรักษาเฉพาะสำหรับอาการปวดข้อเท้าจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขอคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเสมอเพื่อการดูแลเฉพาะบุคคล

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/symptoms/ankle-pain/basics/causes/sym-20050796
  • https://www.webmd.com/pain-management/ss/slideshow-ankle-problems-pain
  • https://www.arthritis.org/health-wellness/about-arthritis/where-it-hurts/when-ankle-pain-may-mean-arthritis
  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15295-ankle-pain

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด