ปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) คือโรคที่เกิดแผลบริเวณมุมปาก แผลจะเกิดขึ้นได้ทั้งด้านใดด้านหนึ่ง หรืออาจจะทั้งสองด้านในบริเวณมุมปาก บริเวณแผลมีรอยแดง ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ปากนกกระจอกมีระยะเวลาการอักเสบเพียงไม่กี่วัน ปากนกกระจอกพบได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่

อาการของปากนกกระจอก 

อาการปากนกกระจอก จะสังเกตได้จากมุมปากเป็นแผล บริเวณที่เป็นแผลจะมีลักษณะสีแดง และมีอาการอักเสบ 
  • มีอาการปวด อักเสบ  
  • บริเวณแผลมีเลือดออก 
  • ขณะพูดจะรู้สึกเจ็บมุมปากและตึง บริเวณมุมปาก
  • บางรายหากแผลใหญ่มากแผลอาจบวม  พอง หรือเปื่อย ทำให้ปากฉีก
อาการอื่นๆที่ร่วมด้วย
  • จะทำให้เกิดรสชาติภายในปากเฝื่อนๆ
  • รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่เป็นแผล
  • ริมฝีปากแห้งแตก 
  • ทำให้ไม่อยากทานอาหารเนื่องจากอาหารจะไปกระทบกับบาดแผล ทำให้รู้สึกเจ็บปวดยิ่งขึ้น 

การวินิจฉัยปากนกกระจอก 

หากคุณรู้สึกว่ามุมปากมีอาการติดเชื้อ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการ ดูระดับของอาการและเริ่มรักษาตามระดับของอาการ แพทย์จะตรวจสภาพผิวบริเวณมุมปากและสอบถามอาการ อาจมีอาการระคายเคืองบริเวณรอบแผลร่วมด้วย แพทย์จะสอบถามประวัติส่วนตัว และคนในครอบครัวว่ามีประวัติการรักษาการติดเชื้อในช่องปากหรือไม่ แพทย์จะใช้ผ้าเช็ดบริเวณมุมปากของผู้ป่วยและนำเนื้อเยื่อบริเวณมุมปากส่งไปยังห้องแลป เพื่อช่วยตรวจสอบวินิจัยสาเหตุการติดเชื้อ 

สาเหตุของการเกิดปากนกกระจอก

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดปากนกกระจอก ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บริเวณมุมปาก  หรือเกิดจากเชื้อรา เชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียจากน้ำลาย น้ำลายที่ร่างกายสร้างขึ้นมามากเกินไปจะส่งผลให้น้ำลายติดอยู่บริเวณมุมปากแห้ง และหากติดอยู่นานไปจะทำก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อจะเจริญเติบโตและทำให้เกิดแผลอักเสบบริเวณมุมปากตามมา บางครั้งปากนกกระจอกจากการขาดวิตามินบี2 ก็เป็นได้

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงของการติดเชื้อบริเวณมุมปาก จะมีลักษณะดังนี้
  • ผู้ที่มีริมฝีปากยื่นออกมาทำให้ปากเกิดมุมลึก
  • ผู้ที่ใช้คอร์ติโคสตีรอยด์ (Corticosteroids ) หรือยาปฎิชีวนะเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย
  • ผู้ที่เป็นโรคโครห์น
  • ผู้ที่ใช้ยาเรตินอย์รักษาช่องปาก
  • ผู้ที่สวมใส่เครื่องมือจัดฟัน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง โรคเบาหวานหรือโรคมะเร็ง
  • ผู้ที่ขาดวิตามิน B-9, B-6, B-2 หรือ B-3 หรือ Zinc
  • ผู้ที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome

การวินิจฉัยของปากนกกระจอก

หากแพทย์ระบุสาเหตุการเป็นปากนกกระจอกขั้นเบื้องต้นแล้ว ว่าปากนกกระจอกเกิดจากอะไร ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องการรักษาอาการปากนกกระจอกด้วยตัวเองที่บ้าน แต่หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นหลังจาก 2 สัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที 

อาการของปากนกกระจอก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือไม่

ปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) การรักษาอาการของผู้ที่มีปากนกกระจอก สามารถรักษาได้ง่าย และสามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง หากผู้เป็นปากนกกระจอกที่มีสาเหตุมาจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อที่สามารถแพร่กระจายไปยังผิวหนังสู่ผิวหนัง และเข้าสู่บริเวณภายในปาก  มีคำถามเกิดขึ้นบ่อย ๆ ว่าปากนกกระจอกติดต่อไหม ปากนกกระจอกไม่ใช่โรคติดต่อแต่อย่างใด 

วิธีการรักษาปากนกกระจอก 

การรักษาปากนกกระจอก ควรตรวจสอบว่าผู้ป่วยปากนกกระจอกขาดวิตามินอะไรบ้าง  หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยปากนกกระจอกขาดวิตามินอะไรแพทย์จะแนะนำให้ทานอาหารที่มีวิตามินเพื่อเสริมสารอาหารในร่างกายและเพิ่มอาหารเสริม หรืออาจจะเลือกใช้สมุนไพรรักษาปากนกกระจอก แพทย์อาจให้ยาต้านเชื้อรา ที่เป็นยารักษาปากนกกระจอก เพื่อทาเฉพาะที่ บริเวณผิวหนังของคุณ และอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดเป็นปากนกกระจอกต่อไปตามลำดับ ปากนกกระจอกรักษาหายได้ง่ายดังนั้นผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีความกังวลในการรักษา วิธีการรักษาอื่นๆ เช่น
  • ใช้ลิปบาล์มเป็นประจำเพื่อป้องกันริมฝีปากแตกและแผลที่มุมปาก
  • ใช้ปิโตรเลียมเจลหรือน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณที่มุมปากเพื่อป้องกันสิ่งตกค้างจากน้ำลาย

    คำถามที่พบบ่อย

    ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นโรคปากนกกระจอกได้อีก สุขอนามัยที่ดีและการดูแลผิวอย่างเข้มงวด  การรักษาผิวหนังรอบปากให้ชุ่มชื้นและปราศจากการระคายเคือง จะช่วยลดโอกาสที่แบคทีเรียหรือยีสต์จะสะสมตัวได้ ครีมต้านเชื้อราชนิดใดดีที่สุดสำหรับโรคปากนกกระจอก Nystatin, Lotrimin AF (Clotimazole) หรือ Monistat 2% Topical Cream (Miconazole) หลังจากทำความสะอาดบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ทาครีมนี้ด้วยสำลี 4-5 ครั้งต่อวันที่มุมปาก วาสลีนสามารถทาปากนกกระจอกได้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ริมฝีปากแตกและแตกเป็นขุย การทาวาสลีนหรืออควาฟอร์เพื่อให้ริมฝีปากชุ่มชื้น เพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นของผิวและสร้างเกราะป้องกัน   เมื่อเป็นปากนกกระจอกสามารถจูบกับผู้อื่นได้หรือไม่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบไม่ได้เกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัสที่เฉพาะเจาะจงเสมอไป เช่น เริม นี่คือสาเหตุที่โรคปากนกกระจอกไม่ติดต่อจากการสัมผัสเช่น การจูบหรือการดื่มร่วมกัน เช่น เริม ปากนกกระจอกสามารถเป็นได้นานแค่ไหน ปากนกกระจอก สามารถทำให้เกิดเจ็บปวดมากและเช่นเดียวกับเริม มันสามารถก่อตัวขึ้นที่มุมปาก อาจส่งผลต่อปากของคุณข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง และอาจใช้เวลาสองถึงสามสัปดาห์หรือนานกว่านั้นในการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรักษา การขาดวิตามินอะไรทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะธาตุเหล็กและวิตามินบีมีความสำคัญต่อการเกิดโรคปากนกกระจอก

ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา 

  • https://dermnetnz.org/topics/angular-cheilitis/
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1949217/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด