ประจำเดือนไม่มา (Amenorrhea) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาพรวมของประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา (Amenorrhea) เกิดขึ้นเมื่อรอบเดือนที่ปกติของคุณนั้นขาดหายไป เป็นเรื่องปกติที่จะไม่มีประจำเดือนในช่วงเวลาระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังวัยหมดประจำเดือน แต่ถ้าประจำเดือนขาดในช่วงเวลาที่ปกติของชีวิต โดยที่ประจำเดือนไม่มาแต่ไม่ท้อง คุณควรปรึกษาแพทย์  หากประจำเดือนขาดไปติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน หลังจากมีรอบปกติในช่วง 9 เดือนก่อนหน้านี้คุณอาจมีภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ ภาวะขาดประจำเดือนประเภทนี้พบได้บ่อย  Amenorrhea

สาเหตุของการขาดประจำเดือน

สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาดมีหลายประการด้วยกัน ตัวอย่างเช่นภาวะขาดประจำเดือน สาเหตุหลัก ๆ อาจเป็นผลมาจากปัญหาโครงสร้างของอวัยวะเพศซึ่งเป็นสัญญาณของรังไข่ที่ทำงานผิดปกติ ปัญหาเกี่ยวกับต่อมใต้สมองหรือต่อมไทรอยด์ อาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ เนื่องจากต่อมเหล่านี้จะผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการมีประจำเดือน สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ของภาวะขาดประจำเดือนมาไม่ปกติได้แก่ :
  • โรคอ้วน
  • การขาดสารอาหาร
  • น้ำหนักลดลงเกินไป
  • ออกกำลังกายมากเกินไป
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับรังไข่
  • มะเร็งรังไข่
  • ซีสต์ในรังไข่
  • มดลูกเป็นแผล
  • การตัดมดลูก
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบต่อมไทรอยด์
  • ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
  • ความเครียด
  • การใช้ยาบางประเภท เช่น ยารักษาโรคจิต 
สาเหตุตามธรรมชาติของการขาดประจำเดือน คือ:
  • ตั้งครรภ์
  • ให้นมบุตร
  • เข้าสู่วัยทอง
การเริ่มใช้ หรือหยุดใช้ หรือเปลี่ยนยาคุมกำเนิดอาจส่งผลทำให้รอบเดือนผิดปกติได้เช่นกัน  

การรักษาประจำเดือนขาด

 ประจำเดือนขาดนั้น แพทย์จะทำการรักษาจากสาเหตุที่แท้จริง
  • หากอาการประจำเดือนขาดนั้นเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน แพทย์ของคุณอาจแนะนำโปรแกรมลดน้ำหนัก หากน้ำหนักลดมากเกินไปแพทย์อาจแนะนำให้มีการเพิ่มน้ำหนักหรือออกกำลังกายมากเกินไป การออกกำลังกายที่พอเหมาะอาจจะช่วยให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ
  • หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับความเครียดแพทย์อาจจะแนะนำให้ไปพูดคุยกับนักบำบัด หรือให้ยาบรรเทาความเครียด
  • ในการรักษาปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์แพทย์อาจสั่งจ่ายยา ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน หรือแนะนำการผ่าตัด
  • สำหรับมะเร็งรังไข่แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ใช้ยาร่วมกันการฉายรังสีและเคมีบำบัดร่วมกัน

ภาพรวมของผู้ที่ขาดประจำเดือน

บางครั้งการขาดประจำเดือนอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นกังวลหรือปัญหาต่อสุขภาพมากนัก แต่หากเป็นในช่วงระยะเวลาที่นานเกินไป และบ่อยเกินอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ หากมีการเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจส่งผลต่อความหนาแน่นของกระดูกลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อ กระดูกหักและโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ยังอาจทำให้ท้องยากขึ้นหากคุณต้องการมีบุตร แต่โดยส่วนใหญ่แล้วอาการขาดประจำเดือนสามารถรักษาได้โดยดูจากปัจจัยและสาเหตุที่เกี่ยวข้อง 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด