• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

กระแดด (Actinic Keratosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
23/01/2021
in หาโรค
0
0
SHARES
23
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • กระแดดหรือผื่นแอกทินิกเคอราโทซิส คืออะไร
  • สาเหตุของการเกิดกระแดด
  • อาการและอาการแสดงของกระแดด
  • แพทย์วินิจฉัยการเกิดกระแดด
  • การรักษากระแดด
  • เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดกระแดดได้อย่างไร
Rate this post

กระแดดหรือผื่นแอกทินิกเคอราโทซิส คืออะไร

กระแดด หรือ ผื่นแอกทินิกเคอราโทซิส Keratoses Actinic คือ กระแดด หรือ  กระบอกอายุ นั่นเอง โดยเมื่อมีอายุมากขึ้นเราอาจเริ่มสังเกตเห็นจุดขรุขระและเกล็ดปรากฏบนมือ แขน หรือใบหน้า

ผื่นแอกทินิกเคอราโทซิส หรือกระแดด นั้น มักเกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณที่ได้รับความเสียหายจากการได้รับแสงแดดมานานหลายปี โดยบริเวณผิวที่เสียนี้เกิดขึ้นเมื่อมีผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสหรือกระแดดซึ่งเป็นสภาพผิวที่พบบ่อยมาก

ผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผิวที่เรียกว่า เคอราโทซิสเริ่มเติบโตผิดปกติ สร้างเกล็ดและจุดที่เปลี่ยนสี จนทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีอื่น เช่น:

  • สีน้ำตาล
  • สีแทน
  • สีเทา
  • ชมพู

สีเหล่านี้จะเกิดขึ้นบนผิวเมื่อสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน และจะเกิดขึ้นกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่:

  • มือ
  • แขน
  • ใบหน้า
  • หนังศีรษะ
  • คอ

ผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสไม่ได้บอกว่า ผิวกำลังเป็นมะเร็ง แต่ผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสอาจกลายเป็น  โรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัส ได้ แม้โอกาสที่จะเกิดเป็นมะเร็งประเภทนี้จะไม่สูงก็ตาม

ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการรักษา ผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสราว  10 เปอร์เซ็นต์  จะกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสต่อไป โรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเป็นมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ในบรรดามะเร็งผิวหนัง เนื่องจากกระเหล่านี้อาจกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสได้ จึงควรให้แพทย์ตรวจดูอยู่เสมอ   .

สาเหตุของการเกิดกระแดด

โดยหลัก ๆ แล้วกระแดดเกิดจากการที่ผิวได้รับผลกระทบจากแสงแดดเป็นเวลานาน ปัจจัยดังต่อไปนี้ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดผื่นแอกทินิกเคอราโทซิส หรือกระแดด :

  • มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • ชนชาติผิวขาวและมีดวงตาสีฟ้ามักเป็นกลุ่มชนชาติที่เสี่ยงต่อการเป็นกระแดด
  • เป็นคนที่มีแนวโน้มที่จะโดนแดดเผาได้อย่างง่าย
  • มีประวัติการถูกแดดเผามาก่อน
  • ตากแดดบ่อย ๆ หรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแดดบ่อย ๆ
  • ติดเชื้อ  โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV)
Actinic Keratosis

อาการและอาการแสดงของกระแดด

ผิวที่เกิดกระแดดจะเริ่มต้นจากการเกิดเกล็ดหนาบนผิว และผิวจะเป็นแผ่นหนา ๆ  โดยแผ่นบนผิวนี้จะมีขนาดเท่ายางลบดินสอขนาดเล็ก อาจมีอาการคันหรือไหม้ในพื้นที่ที่เกิดผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสขึ้น

เมื่อเวลาผ่านไป แผลอาจหายไปเองได้ หรืออาจขยายตัวลุกลามไปทั่วได้ หรืออาจมีขนาดเท่าเดิม หรืออาจกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสก็ได้เหมือนกัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสจะไม่มีทางที่จะรู้ว่า รอยผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสใดอาจกลายเป็นมะเร็งบ้าง ทั้งนี้ ผู้ที่มีผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสควรให้แพทย์ตรวจผิวบริเวณที่เกิดผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสที่เกิดขึ้นทันที หากสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้:

  • แผ่นหนังบริเวณที่เกิกระแดดเกิดการแข็งตัว

  • เกิดการอักแสบบริเวณที่เกิดกระแดด

  • รอยแข็งขยายตัวลุกลามไปยังพื้นที่อื่น ๆ อย่างรวดเร็ว

  • มีเลือดออกบริเวณกระ

  • บริเวณกระแดดเกิดเป็นสีแดง

  • เกิดเป็นผลอักเสบ

อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงที่อาจคล้ายการเกิดมะเร็ง ผู้เป็นกระแดดไม่ควรตกใจ ทั้งนี้ โรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสมักจะเป็นกันง่าย มักตรวจพบได้ง่าย และสามารถรักษาให้หายได้ในระยะแรก ๆ

แพทย์วินิจฉัยการเกิดกระแดด

แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยการเกิดกระแดดได้ง่าย โดยการตรวจดูด้วยตาเปล่า ทั้งนี้ แพทย์อาจต้องตัดชิ้นเนื้อผิวหนังส่วนที่เป็นผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสเพื่อส่งตรวจ อย่างไรก็ตาม   การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ  อาจไม่ได้บอกได้ทั้งหมดว่าชิ้นส่วนที่ส่งตรวจจะเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสหรือไม่

การรักษากระแดด

แพทย์อาจรักษากระแดดด้วยวิธีดังต่อไปนี้:

ตัดส่วนที่เป็นกระแดดออก

ตัดหรือเล็มบางส่วนที่เกิดกระแดด ทั้งนี้ แพทย์อาจตัดเนื้อเยื่อรอบ ๆ หรือลึกใต้แผลลงไป หากผู้ป่วยกังวลว่าจะเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ทั้งนี้ แพทย์อาจไม่เย็บแผลให้ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของแผลเป็นหลัก

ใช้วิธีจี้

หากใช้วิธีการจี้เอาผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสออก แผลจะถูกเผาด้วยกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะฆ่าผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสได้

การบำบัดด้วยความเย็น

การบำบัดด้วยความเย็น หรือที่เรียกว่า ศัลยกรรมผ่าตัดด้วยความเย็น เป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่ง โดยฉีดพ่นผิวบริเวณที่เกิดผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสด้วยสารละลายที่ใช้เพื่อทำศัลยกรรมด้วยความเย็นจัด เช่น ไนโตรเจนเหลว การรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยหยุดการเติบโตและฆ่าเซลล์ผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสออกได้ ทั้งนี้ แผลจะตกสะเก็ดและร่วงหล่นภายในไม่กี่วันหลังจากการรักษา

การรักษาเฉพาะที่

การรักษาเฉพาะที่บางวิธีอาจใช้สารเคมีแตกต่างกัน เช่น การใช้ไฟว์เอฟยู (5-fluorouracil) ซึ่งอาจทําให้เกิดการอักเสบและการทําลายแผลได้ ส่วนการรักษาเฉพาะที่ด้วยเคมีตัวอื่น ๆ ได้แก่ การใช้ยาอิมิควิโมด (Imiquimod) และเจลเมบูตาเต อินเจโนล (Mebutate ingenol) เป็นต้น

การฉายรังสี

  • ในระหว่างการบำบัดด้วยวิธีฉายรังสี แพทย์จะใช้น้ำยาบางอย่างทาลงบนผิวบริเวณที่เกิดผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสและผิวหนังรอบ ๆ จากนั้น แพทย์จะใช้เลเซอร์เข้มข้นยิงไปยังบริเวณผิวหนังที่เกิดผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสเป้าหมายเพื่อฆ่าเซลล์ ทั้งนี้ น้ำยาที่ใช้ทาบริเวณผิวหนังที่เกิดผื่นแอกทินิกเคอราโทซิสและยาตามใบสั่งแพทย์บางชนิด อาจรวมถึง กรดอะมิโนเลโวลินิก และเมธิลอะมิโนลิโวลิเนตครีม

เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดกระแดดได้อย่างไร

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันผิวหนังของเราในการเกิดผื่นแอกทินิกเคอราโทซิส คือ การลดการสัมผัสกับแสงแดด ซึ่งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเป็น มะเร็งผิวหนัง ได้อีกด้วย คำแนะนำเพิ่มเติมมีดังต่อไปนี้:

  • สวมหมวกและเสื้อเชิ้ตแขนยาวเมื่ออยู่กลางแสงแดดจ้า

  • หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกตอนเที่ยงวันซึ่งเป็นช่วงที่แดดจัดที่สุด

  • หลีกเลี่ยงการนอนอาบแดด

  • ใช้ครีมกันแดดเสมอเมื่อออกนอกบ้าน วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ครีมกันแดดที่มีระดับการป้องกันแสงแดด (SPF) อย่างน้อย 30 ซึ่งครีมกันแดดประเภทนี้จะปกป้องผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลต A (UVA) และแสงอัลตราไวโอเลต B (UVB)

นอกจากนี้ หากไปตรวจสุขภาพผิวเป็นประจำก็จะยิ่งดีมาก คอยสังเกตและเฝ้าระวังว่ามีกายเจริญเติบโตหรือเปลี่ยนแปลงผิดปกติของผิวหนังในบางพื้นที่หรือไม่ เช่น:

  • บริเวณผิวตะปุ่มตะป่ำ
  • ปาน
  • ไฝ
  • กระ

ยิ่งไปกว่านั้น ให้คอยสังเกตว่ามีการเกิดผิวใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างบนผิวของอวัยวะเหล่านี้:

  • ใบหน้า
  • คอ
  • หู
  • บนแขนหรือมือ หรือฝ่ามือ หรือใต้แขน

ทั้งนี้ ให้นัดพบแพทย์ทันทีหากพบความผิดปกติบนบริเวณผิวของอวัยวะเหล่านี้แล้วทำให้รู้สึกกังวล


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/actinic-keratosis/symptoms-causes/syc-20354969

  • https://www.skincancer.org/skin-cancer-information/actinic-keratosis/

  • https://www.nhs.uk/conditions/actinic-keratoses/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ไข้หวัดหมู

ไข้หวัดหมู (Swine Flu H1N1) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.