โรคอะโครเมกาลี (Acromegaly) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โรคอะโครเมกาลี

โรคอะโครเมกาลี (Acromegaly) เป็นสภาวะที่เกิดจากฮอร์โมนที่พบได้ยาก ซึ่งเป็นผลมาจากโกรทฮอร์โมนในร่างกายมากเกินไป ภาวะดังกล่าวทำให้กระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกายเจริญเติบโตมากเกินไป เด็กที่มีภาวะนี้จะมีความสูงที่ผิดปกติ พวกเขาอาจมีโครงสร้างกระดูกที่ใหญ่เกินจริง โรคอะโครเมกาลี ส่วนใหญ่ส่งผลต่อแขน  ขา และใบหน้า

อาการของโรคอะโครเมกาลี

อาการของโรคอะโครเมกาลียากแก่การตรวจพบ เนื่องจากอาการจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆเมื่อเวลาผ่านไป ตัวอย่างเช่น คุณอาจสังเกตเห็นในช่วงหลายเดือนว่าคุณมีแหวนที่รู้สึกแน่นขึ้นที่นิ้วของคุณและวันนึงแหวนก็ใส่ไม่พอดีอีกต่อไป หรือคุณอาจต้องเพิ่มขนาดรองเท้าหากคุณมีภาวะนี้

อาการทั่วไปของโรคอะโครเมกาลี:

  • กระดูกใบหน้า  เท้าทั้งสองข้างและมือ ใหญ่ขึ้น

  • เส้นผมในผู้หญิงเจริญเติบโตมากเกินไป

  • กรามกรือลิ้นขยาย

  • หน้าผากเด่นชัด

  • การเจริญเติบโตที่มากเกินไป ที่พบในผู้ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติก่อนวัยเจริญพันธ์

  • น้ำหนักเกิน

  • เกิดการปวดและบวมบริเวณข้อซึ่งทำให้จำกัดการเคลื่อนไหว

  • เกิดช่องว่างระหว่างฟัน

  • นิ้วมือและนิ้วโป้งกางออก

  • เสียงแหบ  ทุ้มต่ำ

  • อ่อนเพลีย

  • ปวดศีรษะ

  • นอนไม่หลับ

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • เหงื่อออกเยอะ

  • มีกลิ่นตัว

  • ต่อมไขมันขยาย ซึ่งต่อมจะทำหน้าที่ผลิตไขมันใต้ผิวหนัง

  • ผิวหนังหนา

  • มีติ่งเนื้อ ซึ่งไม่ใช่มะเร็ง

คุณควรไปพบแพทย์หากสังเกตเห็นหนึ่งหรือหลายๆอาการข้างต้น

สาเหตุของโรคอะโครเมกาลี

โกรทฮอร์โมนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตและเสริงสร้างร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคอะโครเมกาลีจะมีโกรทฮอร์โมนปริมาณมากเกินความต้องการ ทำให้เร่งการเจริญของกระดูกและการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ เนื่องจากการกระตุ้นการเจริญเติบโตดังกล่าว กระดูและอวัยวะของผู้ที่เป็นโรคอะโครเมกาลีจะมีขนาดใหญ่กว่าคนทั่วไป

โกรทฮอร์โมนถูกสร้างภายในต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) มีรายงานจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (the National Institutes of Health :NIH) พบร้อยละ 95 ของผู้ที่เป็นโรคอะโครเมกาลีมีเนื้องอกที่ส่งผลต่อต่อมใต้สมอง เนื้องอกดังกล่าวเรียกว่า อะดีโนมา (Adenoma) เป็นเรื่องปกติที่พบได้ ส่งผลกระทบต่อผู้คนประมาณร้อยละ 17 ส่วนใหญ่เนื้องอกลักษณะนี้ไม่ก่อให้เกิดโกรทฮอร์โมนส่วนเกิน แต่เมื่อเกิดแล้วก็ส่งผลให้เกิดโรคอะโครเมกาลี

ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคอะโครเมกาลี

โรคอะโครเมกาลีเริ่มเป็นได้ทุกเวลาหลังจากเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ อย่างไรก็ตามมักเกิดบ่อยในวัยกลางคน ผู้ที่ไม่ใส่ใจภาวะดังกล่าว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆในทุกๆปี

การวินิจฉัย

หลายคนที่เป็นโรคอะโครเมกาลีไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคเนื่องจากอาการแสดงมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ อย่างไรก็ตามหากแพทย์สงสัยว่าคุณเป็รโรคอะโครเมกาลี เขาจะทำการตรวจคุณเพื่อหาโรค โรคอะโครเมกาลีมักวินิจฉัยในผู้ใหญ่วัยกลางคน แต่อาการจะปรากฏทุกช่วงอายุ

การเก็บตัวอย่างเลือดตรวจ

การเก็บตัวอย่างเลือดตรวจสามารถวัดได้หากคุณมีโกรทฮอร์โมนมากเกิน แต่ไม่ค่อยแม่นยำ เนื่องจากระดับโกรทฮอร์โมนขึ้นลงตลอดวัน แพทย์จึงส่งตรวจความทนต่อน้ำตาล (Glucose tolerance test) แทน ซึ่งการตรวจดังกล่าวจะให้คุณดื่มน้ำตาล 75-100 กรัมและทำการตรวจระดับโกรทฮอร์โมน หากร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนในระดับปกติ น้ำตาลในร่างกายที่มากเกินจะไปยังยั้งระดับโกรทฮอร์โมนลง ผู้ที่เป็นโรคอะโครเมกาลีระดับโกรทฮอร์โมนจะยังคงสูงต่อไป

การตรวจ Insulin-Like Growth Factor 1 (IGF-1)

แพทย์จะตรวจหาโปรตีนที่เรียกว่า insulin-like growth factor 1 (IGF-1) โดยระดับของ IGF-1 จะแสดงหากมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติภายในร่างกาย การตรวจหา IGF-1 สามารถใช้ในการติดตามแนวโน้มของการรักษาด้วยฮอร์โมนอื่นๆ

การศึกษาภาพ

เอกซเรย์และการสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI scan) จะถูกสั่งตรวจเพื่อตรวจการเจริญของกระดูกส่วนเกิน หากแพทย์สงสัยว่าคุณเป็นโรคอะโครเมกาลี แพทย์จะทำการเตรียมตรวจร่างกาย และสั่งตรวจโซโนแกรมเพื่อตรวจหาขนาดของอวัยวะภายใน

หลังจากที่คุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคอะโครเมกาลี แพทย์จะใช้ภาพจาก MRI และ CT สแกน ช่วยในการหาเนื้องอกในต่อมใต้สมองและประเมินขนาดของเนื้องอก หากแพทย์ไม่พบเนื้องอกใต้สมอง แพทย์จะมองหาเนื้องอกในหน้าอก, ช่องท้อง หรืออุ้งเชิงกรานที่อาจเป็นเหตุให้โกรทฮอร์โมนผลิตมากเกิน

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ประมาณการณ์ว่า 3 – 4 ของคนทุกๆ 1 ล้านคนเป็นพัฒนาไปเป็นโรคอะโครเมกาลีและกว่า 60 ต่อ 1 ล้านคน มีสภาวะดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการวินิจฉัย จำนวนของผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดอาจถูกประเมินต่ำเกินไป

การรักษาโรคอะโครเมกาลี

การรักษาสำหรับโรคอะโครเมกาลีขึ้นอยู่กับช่วงอายุและสุขภาพโดยรวม เป้าหมายของการรักษาเพื่อ:

  • ทำให้ระดับโกรทฮอร์โมนกลับมาผลิตในปริมาณปกติ
  • ลดแรงดันโดยรอบเนื้องอกของต่อมใต้สมองที่กำลังเติบโต
  • คงสภาพการทำงานที่ปกติของต่อมใต้สมอง
  • รักษาภาวะขาดฮอร์โมนและปรับปรุงอาการของโรคอะโครเมกาลีให้ดีขึ้น
Acromegaly

ชนิดที่มีความรุนแรงการรักษาเป็นสิ่งจำเป็น

การผ่าตัด

การผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้องอกที่เป็นเหตุให้โดรทฮอร์โมนหลั่งมากเกินออกเป็นแนวทางแรกที่แพทย์มักแนะนำผู้ที่เป็นโรคอะโครเมกาลี ส่วนมากการรักษาลักษณะนี้จะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการลดระดับโกรทฮอร์โมน ซึ่งช่วยปรับปรุงอาการให้ดีขึ้น หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นคือการทำลายเนื้อเยื่อของต่อมใต้สมองที่อยู่โดยรอบเนื้องอก หากเกิดขึ้นคุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิต ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบได้น้อยแต่ก็มีความสำคัญ เช่น น้ำไขสันหลังรั่ว และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

การรักษาด้วยยา

การใช้ยาในการรักษาเป็นแนวทางที่รองลงมาหากการผ่าตัดเพื่อลดระดับโกรทฮอร์โทนไม่ประสบความสำเร็จ และยาสามารถใช้เพื่อลดขนาดเนื้องอกที่ใหญ่ก่อนผ่าตัด ยาชนิดนี้ใช้ในการควบคุมหรือขัดขวางการผลิตโกรทฮอร์โมน:

  • somatostatin analogs

  • GH receptor antagonists

  • dopamine agonists

การฉายแสงบำบัด

การฉายแสงบำบัดใช้เพื่อทำลายเนื้องอกขนาดใหญ่หรือเนื้องอกส่วนที่เหลือภายหลังการผ่าตัด หรือเมื่อรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวเอาไม่อยู่ การฉายแสงบำบัดจะช่วยให้ระดับโกรทฮอร์โมนลดลงอย่างช้าๆเมื่อรักษาร่วมกับยา การลดลงอย่างมากของระดับโกรทฮอร์โมนอาจใช้เวลาหลายปี โดยการฉายแสงหลายๆครั้งในช่วง 4-6 สัปดาห์ การฉายแสงบำบัดอาจทำให้เสียภาวะเจริญพันธ์ ในบางราย ทำให้สูญเสียการมองเห็น, เกิดการบาดเจ็บที่สมอง หรือเกิดเนื้องอกระดับทุติยภูมิ

ภาวะแทรกซ้อน

หากไม่ได้รับการรักษา โรคอะโครเมกาลีจะเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสุขภาพ คุกคามชีวิต ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่:

แนวโน้มของผู้ที่เป็นโรคอะโครเมกาลี

แนวโน้มของผู้ที่เป็นโรคอะโครเมกาลีมักเป็นไปในทิศทางที่ดีหากพบสภาพในระยะแรก การผ่าตัดเอาเนื้องอกออกจากต่อมใต้สมองมักประสบความสำเร็จ การรักษาอาจช่วยป้องกันไม่ให้โรคอะโครเมกาลีมีผลกระทบในระยะยาว

การรับมือกับอาการและการรักษาโรคอะโครเมกาลีอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย หลายคนพบบว่าการเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือเป็นประโยชน์ โดยสามารถค้นหาหลุ่มช่วยเหลือในพื้นที่ใกล้ตัวคุณ

โภชนาการที่แนะนำในผู้ป่วยโรคอะโครเมกาลี

โภชนาการมีบทบาทสำคัญในการจัดการโรคอะโครเมกาลี ซึ่งเป็นความผิดปกติของฮอร์โมนที่พบได้ยาก โดยมีการผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโต (GH) มากเกินไป และปัจจัยการเจริญเติบโตคล้ายอินซูลิน-1 (IGF-1) โภชนาการที่เหมาะสมสามารถช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคอะโครเมกาลีควบคุมอาการ ลดภาวะแทรกซ้อน และปรับปรุงสุขภาพโดยรวมได้ ต่อไปนี้เป็นแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับการจัดการอะโครเมกาลี:
  • อาหารที่สมดุล : มุ่งเป้าไปที่การรับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งประกอบด้วยอาหารที่หลากหลายจากอาหารทุกกลุ่ม ซึ่งจะให้สารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพโดยรวมและช่วยรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง
  • จำกัดน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว : ระดับ GH และ IGF-1 ที่สูงสามารถนำไปสู่การดื้อต่ออินซูลินและเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จำกัดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตขัดสี และของขบเคี้ยวแปรรูปเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ตรวจสอบปริมาณโปรตีน : โปรตีนส่วนเกินสามารถกระตุ้นการหลั่ง GH ได้ แม้ว่าการใส่โปรตีนไว้ในอาหารเป็นสิ่งสำคัญ แต่ควรพิจารณาเลือกแหล่งโปรตีนไร้ไขมัน เช่น สัตว์ปีก ปลา เต้าหู้ และพืชตระกูลถั่ว
  • อาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ : รวมใยอาหารจำนวนมากในอาหารของคุณเพื่อช่วยในการย่อยอาหารและช่วยรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง ธัญพืช ผลไม้ ผัก และพืชตระกูลถั่วเป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ดีเยี่ยม
  • แคลเซียมและวิตามินดี : โรคอะโครเมกาลีอาจส่งผลต่อสุขภาพกระดูก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับแคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอเพื่อรองรับความหนาแน่นของกระดูก ผลิตภัณฑ์นม นมจากพืชเสริม ผักใบเขียว และแสงแดดเป็นแหล่งที่ดี
  • จำกัดโซเดียม : ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของภาวะอะโครเมกาลี การลดปริมาณโซเดียมสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ซุปกระป๋อง และเกลือมากเกินไปในการปรุงอาหาร
  • การควบคุมปริมาณอาหาร : ใส่ใจกับขนาดปริมาณอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงการกินมากเกินไป บางครั้ง โรคอะโครเมกาลี อาจทำให้อยากอาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้นการคำนึงถึงการควบคุมสัดส่วนอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการควบคุมน้ำหนัก
  • การให้น้ำ : ดื่มน้ำปริมาณมากเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ เนื่องจากจำเป็นต่อสุขภาพโดยรวม และสามารถช่วยในการย่อยอาหารและการเผาผลาญ
  • แอลกอฮอล์และคาเฟอีน : จำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์และคาเฟอีน สารเหล่านี้อาจรบกวนการนอนหลับและสุขภาพโดยรวมได้
  • ปรึกษานักโภชนาการ : ขอแนะนำให้ปรึกษานักโภชนาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ลงทะเบียน ซึ่งสามารถสร้างแผนโภชนาการเฉพาะบุคคลที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะและประวัติทางการแพทย์ของคุณได้
  • การใช้ยา : หากคุณได้รับยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อควบคุมระดับ GH และ IGF-1 ให้รับประทานยาตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ยาเหล่านี้อาจมีข้อพิจารณาเรื่องอาหารโดยเฉพาะ ดังนั้นควรปรึกษากับทีมดูแลสุขภาพของคุณ
  • การตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ : ติดตามสุขภาพของคุณเป็นประจำ รวมถึงระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และความหนาแน่นของกระดูก เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจได้รับผลกระทบจากอะโครเมกาลี ปรับอาหารและวิถีชีวิตของคุณตามความจำเป็นโดยปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ
โปรดจำไว้ว่าโรคอะโครเมกาลีเป็นภาวะทางการแพทย์ที่ซับซ้อน และการจัดการที่เหมาะสมควรได้รับการดูแลโดยทีมดูแลสุขภาพ รวมถึงนักต่อมไร้ท่อและนักโภชนาการ พวกเขาสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะกับสถานการณ์เฉพาะของคุณและช่วยให้คุณรักษาผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acromegaly/symptoms-causes/syc-20351222

  • https://www.nhs.uk/conditions/acromegaly/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด