เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) : ประเภท อาการ สาเหตุ

 
พญ.พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจเรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ

เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คืออะไร

เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คือ โรคผิวหนังอักเสบ seborrheic ที่ส่งผลให้เกิดผื่นแดงตามผิวหนัง ทำให้ผิวลอกเป็นแผ่นและตกสะเก็ดที่ดูเหมือนรังแค มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยบริเวณหนังศีรษะ และบริเวณอื่นที่ผิวมีความมัน เช่น ใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง อาจจะเกิดขึ้นได้ในเด็กทารก ซึ่งจะเป็นช่วงแรกเกิดสองอาทิตย์แรก และจะค่อย ๆ หายไปเอง

สาเหตุของเซ็บเดิร์ม

ปัจจุบันสาเหตุของการเกิดเซ็บเดิร์มยังไม่เป็นที่แน่ชัด แพทย์ตั้งข้อสันนิษฐานว่า อาจจะมีสองปัจจัยหลักที่สามารถทำให้อาการเกิดกำเริบได้ ปัจจัยแรก คือ การผลิตน้ำมันมากเกินไป ทำให้เกิดน้ำมันส่วนเกินบนผิวหนัง และส่งผลให้ผิวหนังแดงและระคายเคือง ปัจจัยที่สองคือเชื้อรา Malassezia ซึ่งเป็นประเภทของเชื้อราที่พบได้ตามธรรมชาติในน้ำมันของผิวหนัง หากเชื้อรามีการเจริญเติบโตผิดปกติจะส่งผลทำให้ผิวหลั่งน้ำมันมากเกินไปและทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้ นอกจากนี้เซ็บเดิร์มอาจจะเกิดในทารกได้เช่นกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงนั้นจะกระตุ้นต่อมน้ำมันของทารกซึ่งนำไปสู่การผลิตน้ำมันมากเกินไปซึ่งอาจทำให้ผิวระคายเคือง เซ็บเดิร์มเป็นปัญหาผิวหนังระยะยาว ที่จะต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง การดูแลผิวที่เหมาะสมและการควบคุมปัจจัยกระตุ้นสามารถ ช่วยคุณจัดการกับเซ็บเดิร์มได้ อาการโรคเซ็บเดิร์มจะกำเริบโดยปัจจัยเร้าต่าง ๆ เช่น
  • ความเครียด
  • อากาศเย็น และแห้ง
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทั้งนี้การดื่มแอลกอฮอล์อาจจะส่งผลที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบุคคล และอาการที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

บริเวณที่มักเกิดเซ็บเดิร์ม

เซ็บเดิร์ม มักเกิดขึ้นบริเวณหนังศีรษะโดยส่วนใหญ่ แต่มันสามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณอื่น ๆ ได้ เช่น:
  • จมูก
  • ใบหน้า
  • คิ้ว
  • แผ่นหลัง
  • หน้าอกส่วนบน
  • บริเวณหู

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คือ เซ็บเดิร์มมีลักษณะและอาการดังนี้:
  • ผมร่วงบริเวณหนังศีรษะที่เป็นเซ็บเดิร์ม
  • ผิวหนังในบริเวณเป็นเซ็บเดิร์มจะมีความมัน
  • มีอาการแดง คัน
  • ผิวลอก ตกสะเก็ด บางครั้งสะเก็ดที่หลุดลอกอาจจะเป็นสีเหลือง หรือขาว ที่เรียกว่ารังแค อาจจะเป็นได้บริเวณผมหรือคิ้ว 
ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเซ็บเดิร์ม ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดนักว่าใครที่มีความเสี่ยงของการเกิดเซ็บเดิร์ม แต่บางครั้งหากบุคคลในครอบครัวเป็นเซ็บเดิร์มคุณอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น: 
  • โรคอ้วน
  • ร่างกายอ่อนล้า
  • ผิวหนังมีปัญหา
  • ความเครียด
  • มลภาวะ
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์กับผิว
  • ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเช่น เอดส์ โรคพากินสัน หรือเส้นเลือดในสมอง
การวินิจฉัยโรคเซ็บเดิร์ม เซ็บเดิร์ม จะมีความคล้ายกับโรคผิวหนังบางโรค เช่น โรคโรซาเซีย (Rosacea) และpsoriasis-0047/”>โรคสะเก็ดเงิน ในการวินิจฉัยถูกต้องแพทย์จะทำการตรวจร่างกายและตรวจสอบผิวหนังบริเวณที่เป็น และสอบถามถึงอาการที่ผู้ป่วยมี  แพทย์จะทำการตรวจเศษผิวหนังก่อนทำการวินิจฉัย ในระหว่างขั้นตอนนี้แพทย์จะขูดเซลล์ผิวออกจากบริเวณที่บริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์ม เพื่อทำการวิเคราะห์ 

วิธีรักษาโรคเซ็บเดิร์ม

หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นจากการรักษาด้วยตัวเอง สามารถไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจจะทำการรักษาโดยใช้ตัวยาดังนี้:
  • แชมพูที่มีส่วนผสมของ hydrocortisone, fluocinolone หรือ desonide ตัวยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากในการรักษาโรคเซ็บเดิร์ม แต่หากใช้เป็นเวลานานอาจจะมีผลข้างเคียง
  • ยาต้านเชื้อราที่เรียกว่า binbinafine ยานี้มักจะไม่แนะนำเนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เกิดอาการแพ้และปัญหาตับ
  • Metronidazole เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถบรรเทาอากาและยับยั้งแบคทีเรีย อยุ่ในรูปแบบครีมและเจล สามารถใช้กับผิวได้วันละสองครั้งจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • แพทย์อาจจะให้ใช้ตัวยา psoralen ร่วมกันกับการรักษาด้วยแสง ตัวยา psoralen อาจจะมาในรูปแบบยาทาหรือยาเม็ดรับประทาน 

วิธีรักษาเซ็บเดิร์มเองที่บ้าน

โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถใช้แชมพูขจัดรังแค ในการรักษาเซ็บเดิร์มหนังศีรษะ  การรักษาและบรรเทาอาการเองที่บ้าน ที่อาจช่วยให้รักษาเซ็บเดิร์ม มีดังนี้:
  • ครีมลดเชื้อรา
  • ล้างแชมพู หรือสบู่ให้เกลี้ยง
  • โกนหนวดเครา
  • ใช้สบู่ และผงซักฟอกที่อ่อนโยน

เครเดิล แคป หรือไขบนหนังศีรษะทารก 

คราบไขบนหนังศีรษะทารกจะหายไปได้เองภายในหกเดือน แต่วิธีที่คุณแม่สามารถช่วยทำให้ไขบนหนังศีรษะดีขึ้นได้ คือ:
  • ใช้แชมพูเด็กที่มีความอ่อนโยนเป็นพิเศษ
  • ล้างหนังศีรษะลูกให้สะอาด
  • ใช้แปรงนุ่ม ๆ ขนอ่อนสำหรับทารกแปรงหนังศีรษะลูก

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

ผู้ป่วยโรคเซ็บเดิร์มควรเข้าพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรงและไม่สามารถรักษาได้เองที่บ้าน และหาก : 
  • ใช้แชมพูทั่วไปแล้วรังแคไม่หาย
  • ผิวหนังบริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์มมีอาการแดงมาก
  • บริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์มมีอาการเจ็บแสบ
  • มีบริเวณที่เป็นหนองมีหนองหรือน้ำไหลออกมา

    ถามที่พบบ่อย

    อะไรทำให้เกิดผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม   โรคประจำตัวบางอย่างสามารถเพิ่มความเสี่ยงของคุณต่อโรค seborrheic dermatitis เช่น HIV สะเก็ดเงิน สิว โรคโรซาเซีย โรคลมบ้าหมู โรคพาร์กินสัน  การกินผิดปกติ และโรคพิษสุราเรื้อรัง ตัวกระตุ้นของสภาวะมีตั้งแต่ ความเครียดและการ เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ไปจนถึงการใช้ผงซักฟอกหรือยาบางชนิด seborrheic dermatitis เป็นแบคทีเรียหรือเชื้อรา  Seborrheic dermatitis เป็น โรค เชื้อราที่ผิวหนังชั้นตื้น ซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณต่อมไขมันจำนวนมาก การขาดวิตามินอะไรทำให้เกิด seborrheic dermatitis เมื่อพิจารณาถึงบทบาทของน้ำตกอักเสบในการเกิดโรคของ seborrheic dermatitis และผลยับยั้ง VDR และวิตามินดีต่อระบบภูมิคุ้มกันการขาดวิตามินดีอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิด seborrheic dermatitis อะไรทำให้ผิวหนังอักเสบ seborrheic แย่ลง อากาศที่หนาวเย็น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และความเครียดมักทำให้อาการแย่ลง อาการต่างๆ ได้แก่ ผิวหนังเป็นหลุมเป็นบ่อ ตกสะเก็ด มันเยิ้ม และคัน การรักษา เช่น ยาในแชมพู ครีมอาบน้ำ และโลชั่นสามารถลดอาการได้ ผิวหนังอักเสบ seborrheic เป็นภาวะต่อเนื่อง (เรื้อรัง) จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รักษาโรคผิวหนังเซ็บเดิร์ม ในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีความรุนแรงมากขึ้น การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราแบบทุติยภูมิอาจเกิดขึ้นได้หากไม่รักษาโรคผิวหนัง seborrheic เนื่องจากผิวหนังมีแนวโน้มที่จะเปิดหรือเสียหายซึ่งเชื้อเชิญเชื้อโรคเข้ามา

ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/seborrheic-dermatitis-medref
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/symptoms-causes/syc-20352710
  • https://www.aafp.org/afp/2000/0501/p2703.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด